พิสูจน์ความจริง ผู้บริหาร กยท. นั่งที่ปรึกษาบริษัทน้ำยางข้น เอื้อส่งออกเข้ามาเลย์
ส่วนการส่งออกน้ำยางข้นนั้น เนื่องจากประเทศไทยเป็นเพียงประเทศเดียวในประเทศสมาชิกที่มีการส่งออกน้ำยางข้น
ดังนั้น เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจำกัดการส่งออก จึงไม่มีการนำน้ำยางข้นเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการจำกัดการส่งออก
ซึ่งทั้ง 3 ประเทศมีมติเห็นชอบในเรื่องดังกล่าว
Hightlights :
✔ ทศพล ขวัญรอด
ประธานภาคเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและ ปาล์มน้ำมันประเทศไทย จุดประเด็น มีผู้บริหารระดับสูงของ
กยท. ไปนั่งเป็นที่ปรึกษาของโรงงานน้ำยางข้น เอื้อธุรกิจส่งออกน้ำยางข้น
✔ กฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่อง ผู้บริหารการ
กยท. นั่งเป็นที่ปรึกษาของบริษัทที่ลักลอบส่งออกน้ำยางที่สงขลา
จริงหรือไม่
✔ สุนันท์
นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการ กยท. แจงไม่มีพนักงานไปนั่งเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทส่งออกน้ำยางข้น
คาดว่าน่าจะเป็นความเข้าใจไปเองและเป็นการให้ร้ายกับ กยท. ส่วนข่าวการส่งออกน้ำยางข้น
มากกว่าปกติ ไม่เป็นความจริง เป็นเพียงการให้ข้อมูลที่บิดเบือน
━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━━
หลังจาก นายทศพล ขวัญรอด
ประธานภาคเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางและ ปาล์มน้ำมันประเทศไทย ขึ้นมาจุดประเด็นร้อน
ผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทยระดับสูงเข้าไปนั่งเป็นที่ปรึกษาบริษัทผู้ผลิตและส่งออกน้ำยางข้นแห่งหนึ่งใน
จ.สงขลา ซึ่งเชื่อมโยงกับนโยบายการลดส่งออกยางของ สภาไตรภาคียางพารา
(ITRC) 3 ประเทศที่ลดการส่งออกยาง 3 ประเภท คือ ยางแท่ง
ยางแผ่นรมควัน และยางคอมปาวด์ นายทศพลตั้งข้อสังเกตว่า
ทำไมไม่มีน้ำยางข้น รวมอยู่ด้วย
จึงอยากให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าไปตรวจสอบว่า
มีผู้บริหาร กยท.ไปมีส่วนได้ส่วนเสียกับบริษัทผลิตน้ำยางข้นแห่งหนึ่ง และต้องการให้ตรวจสอบว่าทำไมจึงจำกัดการส่งออกยางเหลือแค่
50% เพียง 3 ชนิด คือ ยางแผ่นรมควัน ยางคอมปาวด์
และยางแท่ง STR20 แต่ไม่จำกัดการส่งออกน้ำยางข้นและยางก้อนถ้วย
มีผู้บริหารระดับสูงของ กยท. ไปนั่งเป็นที่ปรึกษาของโรงงานน้ำยางข้น แล้วทำไมจำกัดการส่งออกยางแผ่นรมควัน ยางคอมปาวด์และยางแท่ง แต่ไม่จำกัดการส่งออกน้ำยางข้นและยางก้อนถ้วย เหมือนเปิดช่องให้การส่งออกน้ำยางข้นและยางก้อนถ้วยซึ่งเป็นวัตถุดิบไปให้ต่างประเทศแปรรูปเพิ่มมูลค่าแล้วทำเป็นผลิตภัณฑ์ส่งกลับมาขายเราราคาแพงๆ แทนที่จะแปรรูปเพิ่มมูลค่าในประเทศ ก่อนส่งออกนายทศพลกล่าว
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ |
ก่อนจะมีข่าว ว่า นายกฤษฎา บุญราช
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องที่มาในการกล่าวหาตามข่าวลือว่ามีผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทย
(กยท.)
ไปนั่งเป็นที่ปรึกษาของบริษัทที่ลักลอบส่งออกน้ำยางที่สงขลาไปต่างประเทศจริงหรือไม่
หากผู้ให้ข่าวหรือบุคคลใดก็ตามมีข้อเท็จจริงหรือหลักฐานต่างๆว่าเจ้าหน้าที่นั้น
หรือ/และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายใด
ไปทำการทุจริตประพฤติมิชอบหรือคอรัปชั่นก็ให้ส่งหลักฐานมาที่รัฐมนตรีได้โดยตรง
จะรับไปตรวจสอบแล้วแจ้งผลให้ทราบ
หรือหากเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมหรือไม่เชื่อถือการตรวจสอบของกระทรวง ก็ให้แจ้งองค์กรอิสระที่มีหน้าที่ตรวจสอบหรือพนักงานสอบสวนฝ่ายตำรวจหรือดีเอสไอก็ได้
ทางกระทรวงยินดีให้ความร่วมมือ
ล่าสุด ผู้บริหารการยางแห่งประเทศไทยได้ออกมาปฏิเสธกระแสข่าวดังกล่าว
ว่าไปเป็นความจริง และมีการบิดเบือนเพื่อใส่ร้ายองค์กรให้เกิดความเสื่อมเสีย
โดย นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล รองผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทยด้านบริหารได้ออกมายืนยันว่าข่าวดังกล่าวไม่เป็นความจริง
พร้อมกับชี้แจงว่า กยท.เป็นสมาชิกของสมาคมที่สำคัญต่างๆ
ในวงการยางพาราไทย ทั้งสมาคมยางพาราไทย และสมาคมน้ำยางข้นไทย ซึ่งสถานะของสมาคมไม่ได้แสวงกำไร
แต่มุ่งเน้นให้เกิดการร่วมกันและพัฒนาธุรกิจยางพารา
แต่ในส่วนของ สมาคมน้ำยางข้นไทย ได้เชิญให้ผู้แทนจากการยางแห่งประเทศไทยเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาสมาคม
ถือว่าเป็นประโยชน์มาก เนื่องจากทุกครั้งที่ราคาน้ำยางสดจะปรับตัวในทิศทางขาลง
กยท.ในฐานะที่ปรึกษาสามารถขอให้สมาคมช่วยซื้อในราคาที่สูงขึ้น ซึ่งประโยชน์ก็ส่งถึงเกษตรกรโดยตรงเท่านั้น
นอกจากนี้ ประเด็นการควบคุมการปริมาณการส่งออกยางของ 3 ประเทศ เป็นไปตามกรอบความร่วมมือมีมติเห็นชอบในการประกาศมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพารา โดยมีระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มกราคมจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2561 ซึ่งได้กำหนดการลดโควตาการส่งออกยางพาราร่วมกัน 3 ประเทศ จำนวน 350,000 ตัน ประกอบด้วยยาง 3 ประเภท ได้แก่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง STR20 และยางคอมปาวด์
การกล่าวหาว่ามีพนักงานไปนั่งเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทส่งออกน้ำยางข้นใน จ. สงขลา ไม่มีแน่นอน คาดว่าน่าจะเป็นความเข้าใจไปเองและเป็นการให้ร้ายกับ กยท.
นอกจากนี้ ประเด็นการควบคุมการปริมาณการส่งออกยางของ 3 ประเทศ เป็นไปตามกรอบความร่วมมือมีมติเห็นชอบในการประกาศมาตรการควบคุมปริมาณการส่งออกยางพารา โดยมีระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่มกราคมจนถึงสิ้นเดือนมีนาคม 2561 ซึ่งได้กำหนดการลดโควตาการส่งออกยางพาราร่วมกัน 3 ประเทศ จำนวน 350,000 ตัน ประกอบด้วยยาง 3 ประเภท ได้แก่ ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ยางแท่ง STR20 และยางคอมปาวด์
จากการให้ข่าวที่มีการส่งออกน้ำยางข้นมากกว่าปกตินั้นจึงไม่เป็นความจริง เป็นเพียงการให้ข้อมูลที่บิดเบือน เพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งอาจส่งผลต่อภาพลักษณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ อีกทั้ง ส่งผลเสียต่อทุกฝ่าย ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อยากขอให้ผู้ที่ให้ข่าวตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนให้ข้อมูลกับสื่อออกไป กยท. พร้อมรับฟังนายสุนันท์กล่าว
เรื่องนี้จำเป็นต้องได้รับการพิสูจน์ความจริง
เพราะกำลังได้รับการจับตาจากคนในวงการ
แหล่งข้อมูล : http://www.ryt9.com/s/iq03/2766028
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น