ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

มาตรการโค่น 400,000 ไร่/ปี ดันไทยเป็นแหล่งผลิต เชื้อเพลิงชีวมวล จากไม้ยาง ของโลก

กยท. มั่นใจไทย พร้อมเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบไม้ยางคุณภาพดีเข้าสู่โรงงานผลิต “เชื้อเพลิงชีวมวล” ของโลก ขานรับมาตรการโค่นยาง 400,000 ไร่/ปี จะวัตถุดิบมากถึง 8 ล้านตัน ย้ำ เกษตรกรต้องเดินตาม “มาตรฐาน FSC  ส่งผลราคาไม้ยางขยับตัวสูงขึ้น สร้างรายได้มั่นคงให้ชาวสวนยาง

การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) โดย นายกฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูงของ กยท.  ต้อนรับผู้แทนจาก บริษัท สยามฟอเรสแมเนจเม้นท์ จำกัด และ บริษัท อิเดมิตสึ โคซัน จำกัด เพื่อหารือร่วมกันในเรื่องการดำเนินการจัดหาวัตถุดิบ “ไม้ยางพารา” เพื่อนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในโรงงานผลิต Wood Pellets และ Black Pellet ซึ่งจะดำเนินการในประเทศไทย โดยจะเปิดในช่วงกลางปี 2561 นี้ เพื่อผลิตพลังงานชีวมวลสำหรับใช้ในโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าของประเทศญี่ปุ่น ทดแทนโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่กำลังจะปิดตัวลงในไม่ช้านี้ 
นายกฤษดา สังข์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักผู้ว่าการ กยท.
นายกฤษดา กล่าวว่า ทั้งสองบริษัทได้ให้ความสนใจในการลงทุนสร้างโรงงานเพื่อนำวัตถุดิบไม้ยางในประเทศไทยไปผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้กับโรงงานผลิตไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่น นับเป็นเรื่องที่ดีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ตลาดการส่งออกพลังงานชีวมวล ซึ่งถือเป็นตลาดที่มีความต้องการใช้ไม้เป็นจำนวนมาก

โดยประเทศไทยถือว่ามีสวนยางมากเป็นอันดับแรกๆ ของโลก ประกอบกับมาตรการควบคุมปริมาณผลผลิต โค่นปีละ 400,000 ไร่ จะทำให้มีปริมาณเศษไม้ที่มาจากปีกไม้ และขี้เลื่อย มากถึง 8 ล้านตัน มากพอที่จะป้อนเข้าสู่โรงงานผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล เพื่อนำไปใช้ในโรงงานผลิตไฟฟ้าทั้งในประเทศไทย และส่งออกวัตถุดิบไปยังประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้

เบื้องต้น บริษัท อิเดมิตสึ โคซัน  แสดงความต้องการใช้ปีละประมาณ 1.2 ล้านตัน โดยเชื่อมั่นว่าประเทศไทยจะมีวัตถุดิบเพียงพอกับความต้องการแม้จะมีผู้สนใจอีกหลายรายที่มีความต้องการวัตถุดิบดังกล่าวเช่นเดียวกัน

สิ่งสำคัญคือไม้ยางที่จะนำไปผลิต Wood Pellets จะต้องมาจากสวนที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน หรือ FSC ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม 
Black Pellet
Wood Pellets จากไม้ยาง
ปัจจุบัน กยท. ได้ร่วมกับหน่วยงานจากเอกชน สถาบันเกษตรกร ในการเดินหน้าจัดทำโครงการนี้ โดยนำร่องที่จังหวัดที่มีพื้นที่สวนยางเข้าร่วมโครงการภาคใต้ ได้แก่ ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี พังงา ตรัง นครศรีธรรมราช พัทลุง และกระบี่ ภาคตะวันออก ได้แก่ ตราด จันทบุรี และระยอง ภาคเหนือ ได้แก่ เชียงราย จำนวนทั้งหมดประมาณ 200,000 ไร่ ขณะนี้มี จ.ระนอง ผ่านการรับรองมาตรฐานแล้ว 1,300 ไร่ และในพื้นที่อื่นๆ อยู่ระหว่างการตรวจสอบรับรองมาตรฐาน FSC ต่อไป

การเป็นผู้นำตลาดหรือแหล่งวัตถุดิบไม้จากต้นยางหรือไม้โตเร็วต่างๆ เพื่อเข้าสู่โรงงานผลิตพลังงานชีวมวลนั้น ความมีเสถียรภาพของวัตถุดิบ ทั้งเรื่องของปริมาณหรือราคาที่จะต้องไม่ปรับตัวผันผวนขึ้นหรือลงมากเกินไป เหมาะสมกับสภาวะตลาด และนี่เป็นอีกทางหนึ่งที่จะสร้างรายได้ที่ดีต่อเกษตรกรชาวสวนยางที่พร้อมเดินหน้าเข้าสู่โครงการจัดการสวนอย่างยั่งยืน  มาตรฐาน FSC

  เพิ่มเพื่อน

- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม