เรียนรู้กลยุทธ์ทำธุรกิจยาง ให้กำไรและคุ้มค่า จาก ไทยเจริญรับเบอร์
ไทยเจริญรับเบอร์
จ.ยโสธร ไม่ใช่เซียนมากประสบการณ์ในธุรกิจยาง เพราะเริ่มซื้อขายยางได้เพียงไม่กี่ปีเท่านั้น
ยางก้อนถ้วยที่ไทยเจริญรับเบอร์ซื้อเคยได้สูงสุดถึง
71-72% เพราะมียางคุณภาพแบบนี้
จึงสร้างระบบซื้อขายที่เป็นของตัวเอง ไม่ต้องขนยางไปให้โรงงานกดราคา เหมือนผีถึงป่าช้า
แต่จะใช้วิธีให้โรงงานเปิดราคา ถ้าอยากได้ยางต้องส่งพนักงานมาดูคุณภาพที่ลาน หรือไม่ก็มีตัวเลือกขายยางได้หลายทาง
หลายโรงงาน
นอกจากนั้นยังต้องเช็กความสูญเสียน้ำหนักระหว่างขนส่งยางจากลานไปโรงงานอีกด้วย
ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องแม่นยำ จึงจะรู้ว่าทำยางเครปคุ้มหรือไม่คุ้ม
คำว่า
คุ้มค่า สำหรับไทยเจริญรับเบอร์ไม่ได้มองที่ราคาซื้อ-ขายยางเท่านั้น เขามองไปถึง
ต้นทุนการผลิตยางเครปด้วย
นอกจากนั้นกระบวนการผลิตยังต้องช่วยลดการสึกหรอของเครื่องจักรด้วย
จึงจำเป็นต้องล้างยางก้อนก่อนรีด จะช่วยลดต้นทุนการซ่อมบำรุงได้ เนื่องจากทรายที่ปะปนมากับก้อนยางจะทำให้ลูกรีดค่อยๆ
สึก
“แม้ว่ายางเรามีคุณภาพสำหรับทำยางเครป
ทำแล้วมีกำไรคุ้มค่า แต่เราจะแบ่งขายยางก้อนด้วย เพื่อสร้างสัมพันธ์กับหลายๆ โรงงาน ซึ่งมันสำคัญมาก เมื่อปีปัญหา โรงงานไหนคิวเยอะ ราคาไม่ดี เราก็มีตัวเลือกอื่นที่ให้ราคาสูงกว่า
แล้วส่งได้เลย เมื่อยามเราเดือดร้อนสายสัมพันธ์จะมีค่ามากๆ”
แต่การเติบโตในช่วง
2 ปีที่ผ่านมาของไทยเจริญรับเบอร์ คนในวงการยกความเก่งให้อยู่ระดับ “พ่อมด”
หลังจากสร้างระบบขายยางโดยไม่ต้องบรรทุกไปให้โรงงาน
“กดราคา”
แต่โรงงานยางระดับมหาชนต้องเปิดราคาและส่งพนักงานมาตีเปอร์เซ็นต์ถึงลาน เพราะความเก่งในแง่ของการสรรหายางก้อนถ้วยที่มีปริมาณ
คุณภาพ และสม่ำเสมอ
ไทยเจริญรับเบอร์
ยังลงทุนโรงงานยางเครป เพื่อเสริมกลยุทธ์ทางธุรกิจ โดยเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพมาผลิตในช่วงเวลาที่เหมาะสม
ทำให้มีอาวุธที่ยาวขึ้น สามารถซื้อยางได้สูงกว่าคู่แข่ง แต่ทำกำไรได้มากกว่า
ยางปาล์มออนไลน์
มีโอกาสพูดคุยกับ นราวุฒิ รัตนพิทย์ เจ้าของไทยเจริญรับเบอร์ เกี่ยวกับธุรกิจยาง
ที่ถูกมองว่าทำกำไรมากและเร็วเหมือน “โกยทอง” แต่บางครั้งก็ไม่ต่างกับเอาเงินไปเผาทิ้ง
เสี่ยงพอๆ กับเล่นพนัน
“พ่อมด” ของวงการยางมีวิธีทำธุรกิจนี้อย่างไร
และยางเครปเสริมเขี้ยวเล็บอย่างไร น่าสนใจยิ่งนัก
นราวุฒิ
เล่าให้ฟังว่าเขาเริ่มต้นอาชีพพ่อค้ายางเล็กๆ มีรถปิ๊กอัพหนึ่งคันไว้ขนยาง
ในพื้นที่ จ.บุรีรัมย์ เมื่อ 5 ปีก่อน แต่ระหว่างนั้นเขาค่อยๆ
บ่มเพาะประสบการณ์จนสุกงอม พร้อมที่จะขยายธุรกิจอย่างเต็มตัว
ก่อนจะย้ายมาสร้างเครือข่ายรับซื้อใน จ.ยโสธร
ซึ่งวิเคราะห์แล้วว่าเป็นพื้นที่ปลูกยางที่มียางคุณภาพมากกว่า
“ยางบุรีรัมย์นี่เขาเรียกยางปราบเซียน”
เขาบอกอย่างนั้น
การเกิดขึ้นของ
ไทยเจริญรับเบอร์ ซึ่งตั้งชื่อตามอำเภอที่ตั้งลานใหญ่ พร้อมขยายลานเครือข่ายรับซื้ออีก
7 แห่ง กลายเป็นผู้ซื้อยางรายใหญ่ของจังหวัด มียางอยู่ในมือกว่า 3,000 ตัน/เดือน
ซึ่งไม่ได้ใหญ่ในแง่ของ “ปริมาณ” เท่านั้น แต่มี “คุณภาพ” และ “ความสม่ำเสมอ”
ถ้าทำสามอย่างนี้ได้อำนาจทางธุรกิจจะอยู่ในมือ
เรื่องนี้ไม่ใช่ “พรสวรรค์” แต่มาจากฝึกฝนจนชำนาญ
“ต้องรู้จักยางของเราให้ลึกซึ้งก่อน
ต้องประเมินน้ำในก้อนยางได้แม่นยำ” เขาบอก
ยางจากตลาดประมูล
นอกจากดูคุณภาพยางแล้วยังต้องแข่งขันกับพ่อค้าหลายราย ต้องใช้กลยุทธ์หลายทาง
|
ทั้งนี้วิธีซื้อยางของไทยเจริญรับเบอร์มาจาก
2 ทาง คือ รับซื้อตรงจากเกษตรกร และประมูลจากตลาดยางท้องถิ่น
ยางจากเกษตรกรค่อนข้างจะควบคุมคุณภาพได้ไม่ยาก
เพียงแค่ทำให้เกษตรกรเห็นว่าทำยางคุณภาพได้ราคาสูงกว่าอย่างไร
“เราต้องทำให้เกิดความแตกต่าง
มีส่วนต่างเรื่องราคา พอเกษตรกรทำยาง 8 มีดแล้วได้ราคาสูงกว่ายาง 5 มีด
ต่อไปเขาจะทำแต่ยางคุณภาพ”
ส่วนยางจากตลาดประมูล
นอกจากดูคุณภาพยางแล้วยังต้องแข่งขันกับพ่อค้าหลายราย ซึ่งต้องใช้กลยุทธ์หลายทาง
นราวุฒิ บอกสั้นๆ ว่า ใช้ “เซ้นต์”
เป็นหลัก ซึ่งก็คือ ใช้ความรู้ ประสบการณ์ คิด วิเคราะห์ และกลยุทธ์ ยำรวมกันนั่นเอง
เขาพูดจากประสบการณ์ว่า
อย่างแรก ผู้ซื้อยางต้องคำนวณอัตราสูญเสียน้ำในก้อนยางให้แม่นยำ และรู้ศักยภาพของตัวเอง
ไม่ซื้อยางเพราะอยากได้ยางอย่างเดียว
หรือซื้อเพราะต้องการเป็นผู้ชนะ ต้องดูตลาดปลายทางหรือราคาโรงงานเป็นหลัก เพราะบางทีผู้ชนะในตลาดประมูล อาจจะกลายเป็นผู้แพ้เมื่อขายให้โรงงาน
รวมถึงบางครั้งต้องดูแนวโน้มราคายางในตลาดโลกประกอบด้วย
“ถ้าไม่มีพื้นฐานเหล่านี้สุดท้ายก็จะเหลือแต่
ตราชั่งเข็มหัก กับ เข่งหูขาด” เขาเปรียบเทียบ
ยางคุณภาพในความหมายของไทยเจริญรับเบอร์ คือยางที่กรีด 8 มีดขึ้นไป |
“ผมจะบอกก่อนเลยว่ายางผมแพง
เข้ามาต้องมีราคามาก่อนนะ แต่จะทำอย่างนี้ได้เราต้องมีดีพอตัว ยางมีคุณภาพ
มีปริมาณ และมีความเสถียร”
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ยางเครป
เสริมอาวุธ ทางธุรกิจให้ยาวกว่าคู่แข่ง
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ปัญหาสามัญของธุรกิจยางคือ
ต้องสู้รบเรื่อง เปอร์เซ็นต์ยาง และต่อรองราคา กับโรงงาน ซึ่งมักถูกโรงงานกดเปอร์เซ็นต์ให้ต่ำ
จนกลายเป็น “จุดอ่อน” ของคนทำธุรกิจนี้
เพียงแต่ “พ่อมด”
ของวงการยางมองว่าเป็นความเสี่ยง “ไฟต์บังคับ”
ที่ผู้ประกอบการต้องหาทางออก
ทางออกก็คือ
การนำยางก้อนถ้วยมารีดเป็นยางเครป ซึ่งเขาตัดสินใจลงทุนตั้งโรงงานยางเครปพร้อมๆ
กับการขยายธุรกิจยางเมื่อเกือบ 2 ปีที่แล้ว
ข้อดีของยางเครปในมุมมองของไทยเจริญรับเบอร์
คือ หนึ่งโรงงานจะบวกราคาเพิ่มให้ 1.5
บาท/กก. จากราคายางก้อนถ้วยหน้าโรงงาน สองช่วยลดกระบวนการสูญเสียน้ำหนักระหว่างขนส่งจากลานไปโรงงาน
สามช่วย “ปิดช่องว่าง” ไม่ให้โรงงานกดเปอร์เซ็นต์ยางได้
หรือกดเปอร์เซ็นต์ได้นิดหน่อยเท่านั้น ซึ่งมักจะอยู่ที่ความหนา - บางของแผ่นยาง
แต่ถ้าขายยางก้อนถ้วยมีโอกาสถูกกดเปอร์เซ็นต์ลง 5-6% ถ้ายางไม่มีคุณภาพจริงๆ
นอกจากนั้นยังทำให้ซื้อยางก้อนถ้วยในตลาดได้สูงกว่าคู่แข่ง
“ถ้ายางดีรายอื่นซื้อ 20 บาท แต่เราจะซื้อได้ 21 บาท เพราะเรามีอาวุธยาวกว่า
กระบวนการรีดดียางมีคุณภาพ มีตลาดปลายทางที่ดีกว่า”
การลงทุนโรงงานยางเครป จึงเหมือนกับ
“ติดอาวุธ” ให้กับตัวเอง นักธุรกิจที่ชาญฉลาดต้องมีอาวุธหลากหลาย
และต้องเลือกใช้ให้เป็น
“นกอยู่ใกล้ก็ใช้ปืนสั้น
นกอยู่ไกลก็ใช้ปืนยาว ไม่ใช่ยิงสะเปะสะปะ ทำยางเครปก็เหมือนกัน ซื้อยางมาไม่จำเป็นต้องรีดเครปทั้งหมด
แบ่งขายเป็นยางก้อนบ้าง แต่ต้องเลือกทำแล้วคุ้มค่ามากกว่า”
เขาพูดอย่างนี้ก็เพราะหลักในการตัดสินใจทำยางเครป
ขึ้นอยู่กับคุณภาพวัตถุดิบ ฤดูกาล ตลาด และความคุ้มค่า
ซึ่งในปีหนึ่งจะรีดยางเครปแค่ 2 ช่วง หรือ 5-6 เดือนเท่านั้น
“เลือกช่วงเวลาที่ยางมีน้ำปนน้อยที่สุด
คือช่วงพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม ไม่เกินสิงหาคม และกลับมาเดินเครื่องอีกครั้งในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ หยุดพักรีดช่วงกันยายน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม มีนาคม เมษายน เพราะช่วงนี้ปริมาณน้ำในยางสูงมากรีดแล้วโอกาสขาดทุนสูง”
ข้อมูลนี้เขาไม่ได้
“มโน” ขึ้นมาเอง แต่เกิดจากเก็บตัวอย่างมาทดสอบอย่างแม่นยำทุกเดือน
โดยจะสุ่มตัวอย่างยางก้อนถ้วยมา 20 กก. แล้วรีดเพื่อหาน้ำหนักที่หายไป
ถ้าน้ำหนักหายไปมากกว่า 30% ไม่เหมาะรีดยางเครป
ยางเครปที่ผลิตจากโรงงานไทยเจริญรับเบอร์จึงมีคุณภาพ
เปอร์เซ็นต์สูง อยู่ระหว่าง 72-75%
และผ่านการกรองสถานการณ์แล้วว่า มีกำไรแน่นอน ซึ่งเขาเคยทำกำไรได้ถึง 5 บาท/กก.ในช่วงต้นปี
“ถ้าทำแล้วเหลือบาทหนึ่งเราก็ไม่ทำแล้ว
ทำไปก็ไม่คุ้ม ขายก้อนโรงงานดีกว่า”
แต่ปัญหาของผู้ผลิตยางเครปก็คือ
ความผันผวนของราคายาง โดยเฉพาะช่วงจังหวะที่ยางเครปในตลาดมีมาก โรงงานมักจะสร้างเงื่อนไข
เพื่อกดราคา ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ไม่รับซื้อยางเครปสด ติดคิวหน้าโรงงาน หลายวัน
ทำให้น้ำหนักลดลง เมื่อรวมกับถูกกดเปอร์เซ็นต์ยาง ทำให้สุดท้ายขายไม่คุ้มค่า
แต่ช่วงที่ยางเครปในตลาดมีน้อย
โรงงานแข่งขันกันซื้อยาง กฎเกณฑ์จะน้อยลง ซื้อยางหมดทุกประเภท
ดังนั้นนอกจากคุณภาพยางเครปแล้ว
จังหวะและเวลาก็มีความสำคัญ ต้องรู้ว่าช่วงไหนยางมากยางน้อย แต่ละโรงงานซื้อสูงสุดได้เท่าไหร่
แล้วคำนวณความคุ้มค่า ตั้งแต่ก่อนตัดสินใจรีด
“บางช่วงยางก้อนเรามีคุณภาพสูง
ไม่ต้องรีดก็ได้ 71-72%
ยางแบบนี้เราก็ไม่ต้องรีด
ขายเข้าโรงงานเลย”
“ลองคิดดูนะ เงิน 1 ล้านซื้อยางได้
50,000 กก. รีดเป็นยางเครปเก็บยาง 1
เดือน มีกำไรโลละ 5 บาท = กำไร 250,000 บาท แต่ยังไม่รู้ว่าจะได้หรือไม่
กับอีกเคสหนึ่งซื้อ-ขายทุกวันมีกำไร 50 สต./ครั้งละ
250,00 บาท เดือนละ 20 ครั้ง
= 500,000 บาท โดยไม่มีความเสี่ยง คิดว่าควรทำการค้าแบบไหน”
เขายอมรับว่าเรื่องแบบนี้ไม่มี
“ตำรา” สอน ต้องเรียนรู้ แต่เหนือสิ่งอื่นใดต้องรู้จักยางในพื้นที่ของตัวเองให้ดีที่สุด
มากกว่ารู้จักยางในตลาดโลกด้วยซ้ำ รู้ว่ายางแบบไหนรีดแล้วขาดทุน
ยางแบบไหนรีดแล้วกำไร ควรตั้งราคาซื้อเท่าไหร่จึงจะมีกำไร ในขณะที่ราคายางผันผวน
เท่านั้นยังไม่พอเกษตรกรต้องมีกำไรด้วย ธุรกิจจึงจะยั่งยืน
ทั้งนี้ไทยเจริญรับเบอร์วางใจใช้เครื่องจักรรีดยางเครป ยี่ห้อ TSP ขนาด ลูกรีด 16 นิ้ว จำนวน 4 เครื่อง ทำเป็นไลน์ผลิตกึ่งอัตโนมัติ กำลังการผลิต 5 ตัน/ ชม.
“เราเน้นศักยภาพเครื่องรีดยางเครปเป็นสำคัญ ต้องทนทาน กำลังแรงสูง บดรีดยางก้อนถ้วยได้ดี ไม่เร็วหรือช้าเกินไป ถ้าช้าเกินไปก็จะรีดยางได้ปริมาณน้อย แต่ถ้าเครื่องเร็วเกินไปยางจะไม่สะอาด เนื้อหยาบ รีดน้ำออกได้ไม่ดี”
ล้างยางก้อนก่อนรีด ช่วยลดต้นทุนการซ่อมบำรุงได้ เนื่องจากทรายที่ปะปนมากับก้อนยางจะทำให้ลูกรีดค่อยๆ สึก |
ยางเครปที่ผลิตจากโรงงานไทยเจริญรับเบอร์เปอร์เซ็นต์สูง อยู่ระหว่าง 72-75% ทำกำไรได้ถึง 5 บาท/กก.ในช่วงต้นปี
|
“ต่อไปเราจะเพิ่มเครื่องสับยาง
บ่อล้าง แล้วมีกระพ้อตักยางลงเครื่อง เป็นไลน์ผลิตอัตโนมัติสมบูรณ์แบบ สำหรับรองรับแผนขยายเครือข่ายของเรา”
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
ทำไมขายยางภาคใต้ กำไรกว่าขายอีสาน
━━━━━━━━━━━━━━━━━━
น่าสงสัยว่าทำไมรับไทยเจริญรับเบอร์ซื้อยางภาคอีสานแต่กลับบรรทุกยางไปขายภาคใต้
(เซาท์แลนด์รับเบอร์ และวงศ์บัณฑิต ) ระยะทางเป็นพันกิโล แต่ได้กำไรและคุ้มค่ากว่าขายโรงงานในอีสาน
“เราส่งโรงงานทางใต้
ไม่ใช่เพราะราคาสูงกว่า ราคาอาจจะเท่ากัน แต่การตีเปอร์เซ็นต์ทางใต้มีความนิ่งเสถียรกว่าอีสาน”
เขาคลายข้อสงสัย
เรื่องหนึ่งที่ไม่มีใครบอกก็คือ
คนทำธุรกิจยางจำเป็นต้องรู้จัก “นิสัย” ของแต่ละโรงงาน บางโรงงานซื้อยางราคาสูงตั้งแต่ต้นปี
เพื่อเรียกยางเข้าโรงงาน บางโรงงานรอจังหวะจนยางเต็มตลาด รอให้ราคาถูกแล้วค่อยซื้อ
เป็นต้น จึงต้องเลือกขายยางให้กับหลายๆ โรงงาน เพื่อประกับความเสี่ยง
เจ้าของไทยเจริญรับเบอร์บอกว่า
“เกษตรกรอยู่ได้ พ่อค้ายางอยู่ได้ โรงงานยางอยู่ได้ ธุรกิจในภาพรวมจึงจะยั่งยืน”
ขอขอบคุณ
บริษัท ไทยเจริญ รับเบอร์ จำกัด
106 ม.5 ต.คำไผ่ อ.ไทยเจริญ จ.ยโสธร
35120
โทรศัพท์ : 08-8370-4011
โทรศัพท์ : 08-8370-4011
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น