ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ปาล์มอีสานล้านไร่ จะกลายเป็นละครฉากเก่า เหมือน ยางพารา หรือไม่...?

ปาล์มน้ำมันไม่เหมาะสมที่จะปลูกอีสาน...!!!
เพราะ ภาคอีสานแห้งแล้งยาวนาน ความชื้นต่ำ
ห่างไกลแหล่งรับซื้อและโรงงาน
เป็นพืชตัวใหม่ เกษตรกรขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการจัดการ
ด้วยข้อจำกัดเหล่านี้ ใครปลูกปาล์ม จะได้ผลผลิตต่ำ แต่ต้นทุนสูง

ถ้าดูจากเหตุผลเหล่านี้ อีสาน ปลูกปาล์ม เจ๊ง แน่นอน...!!!

เพียงแต่ความเป็นจริงอีสานไม่ได้แห้งแล้งทุกตารางนิ้วซะหน่อย ยังมีหลายพื้นที่ที่มีความชุ่มชื้น ทั้งจากฝน และแหล่งน้ำธรรมชาติ โดยเฉพาะจังหวัดที่ติดกับแม่น้ำโขง และบริเวณที่ลุ่มแม่น้ำสายใหญ่ของภาคอีสาน เช่น เลย หนองคาย บึงกาฬ นครพนม และ อุบลราชธานี เป็นต้น  

หรือแม้แต่เกษตรกรที่พอจะมีทุนเพียงพอที่จะติดตั้งระบบน้ำเพื่อเป็น “ประตูนิรภัย” สำหรับปาล์มในหน้าแล้งก็ทำได้

ภาคอีสาน ปี 2559 พื้นที่ปลูกปาล์ม ประมาณ 112,087 ไร่ หรือประมาณ  2.48% ของพื้นที่ปลูกปาล์มทั้งประเทศ ด้วยเป็นภาคที่มีพื้นที่มากที่สุดของประเทศ จึงถูกมองว่า ปาล์มน้ำมันยังสามารถขยายพื้นที่ปลูกได้อีกมาก 
เมื่อหันมองดูพืชเศรษฐกิจของอีสาน  ข้าว มัน อ้อย และยางพารา ล้วนอยู่ในจุดตกต่ำ พอๆ กัน จึงไม่แปลกที่เกษตรกรจำนวนหนึ่งจะหันมาปลูกปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะในช่วงที่ราคาปาล์มพุ่งสูงอย่างปี 2559

ขณะเดียวกัน โรงงานหีบปาล์มขนาดใหญ่ที่ตั้งขึ้นใน อ.วานรนิวาส จ.สกลนคร กลายเป็น “ตะวัน” ของปาล์มอีสาน เพราะการที่มีโรงงานขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในพื้นที่ คือ “หลักประกัน” ว่าจะมีตลาดรับซื้อแน่นอน ซึ่งคาดว่าจะทำให้ราคาปาล์มในพื้นที่ขยับตัวสูงขึ้นกว่าในอดีตที่ต้องขายให้ลานรับซื้อ แล้วบรรทุกมาขายโรงงานใน จ.ชลบุรี

โรงหีบปาล์มตั้งอยู่จุดกึ่งกลางของพื้นที่ปลูกปาล์มอีสานตอนเหนือ เกิดขึ้นจากความร่วมมือของ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล (GGC) บริษัทย่อยในเครือ ปตท. กับ และ บริษัท อีสานพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด ก่อตั้งโรงงานหีบปาล์มเมื่อ 22 พ.ค. 2559 รองรับผลผลิต 60,000 – 80,000 ตัน/ปี

พร้อมกับวางแผนส่งเสริมเกษตรกรภาคอีสานและภาคเหนือตอนบนปลูกปาล์มให้ได้ 1 ล้านไร่ ในเวลา 10 ปี เพื่อผลิตน้ำมันป้อน บริษัท GGC  ซึ่งมีธุรกิจผลิต ผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมี เช่น เมทิลเอสเทอร์ (ไบโอดีเซลB100) , แฟตตี้แอลกอฮอล์ และกลีเซอรีน ปริมาณ 431,000 ตัน/ปี โดยใช้น้ำมันปาล์มเป็นวัตถุดิบหลัก 
 บริษัท อีสานพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์ม จำกัด ก่อตั้งโรงงานหีบปาล์มเมื่อ 22 พ.ค. 2559 รองรับผลผลิต 60,000 – 80,000 ตัน/ปี
ทำไมต้อง ภาคอีสาน ในเมื่อมีข้อจำกัดมากมาย?

จิรวัฒน์ นุริตานนท์ ผู้บริหารของ GGC บอกว่า ภาคอีสานมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อปาล์มน้ำมันมีแหล่งน้ำสมบูรณ์และมีฝนตกชุก

“เราได้มาสำรวจพื้นที่นี้เมื่อหลายปีแล้ว และศึกษาจนมั่นใจว่าเป็นพื้นที่ที่สามารถปลูกปาล์มได้ จึงเริ่มหาพันธมิตรเพื่อสร้างการรับรู้อย่างจริงจัง

 จึงทำโครงการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกปาล์มกันมากขึ้น เพื่อรองรับความต้องการของตลาด และเป็นพืชทางเลือกที่มีอนาคต โดยเกษตรกรยังทำเกษตรแบบผสมผสานร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งข้าว มันสำปะหลัง รวมถึงยางพารา
   
ทั้งนี้ได้มีการจัดตั้ง “กลุ่มกรีนอีสานปาล์ม” เมื่อปี 2552 เพื่อผลักดันและส่งเสริมเรื่องนี้อย่างเป็นรูปธรรม พร้อมกับส่งเสริมการปลูกปาล์มตามมาตรฐาน RSPO จนถึงปัจจุบันมีพื้นที่เพาะปลูกรวมหลายหมื่นไร่

ผู้บริหาร GGC มองว่า การเลือกพื้นที่ภาคอีสานปลูกปาล์ม เพราะต้องการเข้ามาบูรณาการการปลูกปาล์มที่เป็นระบบและได้มาตรฐานของยุโรป คือ RSPO (Roundtable on Suatainable Palm Oil) ซึ่งภาคอีสานเพิ่งเริ่มต้นจึงสามารถเอาระบบมาบริหารจัดการได้

ส่วนภาคใต้แม้ GGC จะมีโครงการส่งเสริมการทำเกษตรกรรมปาล์มน้ำมัน RSPO ในจังหวัดกระบี่ จำนวน 30,000 ไร่ แต่เนื่องจากภาคใต้ปลูกปาล์มมานาน การเข้าไปสร้างระบบอาจเกิดความขัดแย้งกับผลประโยชน์ของผู้อื่นได้  

ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกปาล์มที่ได้มาตรฐาน RSPO แล้ว โดยตั้งเป้าหมาย จะขยายให้ได้ 40,000 ไร่ โดยทาง GGC ให้งบสนับสนุนการเข้าสู่ระบบ RSPO สำหรับเกษตรกรรายย่อย ผ่านทางกลุ่มกรีนอีสานปาล์มจำนวน 2 ล้านบาท/ปี
เกษตรกรสามารถทำสวนปาล์มร่วมกับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ 
ข้อดีของปาล์มในมุมของเกษตรกร คือ เมื่อดูแลให้มีผลผลิตสม่ำเสมอ จะได้ผลผลิตผลิตต่อเนื่องและมีรายได้ตลอดทั้งปี ต่างจากอ้อยที่มีรายได้เพียงปีละครั้ง 

ขณะที่สวนยางมีต้นทุนหลักคือ แรงงาน สูงถึง 40-50% ของรายได้ หนำซ้ำปีหนึ่งกรีดยางได้เพียงแค่ 6-7 เดือนเท่านั้น


แต่ว่าปาล์มมีรายได้ทุกเดือน ต่อเนื่องทุกเดือน แม้ว่าช่วงนี้ราคาจะน้อยแต่ก็ได้ทุก 15 วัน

อย่างไรก็ตาม ด้วยข้อจำกัดของปาล์มน้ำมันต้องการน้ำมากจึงจะได้ผลผลิตที่ดีและคุ่มค่า จึงยังมีความกังวลว่า ถ้าส่งเสริมปลูกปาล์มกันแบบไม่มีโซนนิ่ง หรือควบคุมพื้นที่ อาจจะเกิดความเสียหายกับตัวเกษตรกรได้ในระยะยาว

ดังนั้นผู้ปลูกที่อยู่ในภาคอีสานควรศึกษาข้อมูลพื้นที่ของตนเองว่ามีเหมาะสมสำหรับปลูกปาล์มหรือไม่ ถ้าไม่มีน้ำสำหรับปาล์มหน้าแล้ง หน้าพื้นที่ไม่เหมาะสม ก็ไม่ควรเสี่ยงปลูก

คำถามต่อมาก็คือ ถ้าภาคอีสานปลูกปาล์มล้านไร่ จะกลายเป็นละครฉากเก่า เหมือน ยางพารา หรือไม่...?
ใน

อ้างอิง

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม