เกษตรกรจำนวนมากนิยมตัดหญ้าในสวนให้สั้นเป็นประจำ
เพราะเข้าใจว่าหญ้าจะชิงปุ๋ยของพืช แต่ผลวิเคราะห์จากห้องแล็บหญ้าจะกินเฉพาะธาตุไนโตรเจนเท่านั้น
แสดงว่าธาตุอาหารตัวอื่นหญ้าไม่ได้กิน มีเฉพาะ “ขี้ไส้เดือน” ก็เป็นอาหารอย่างเพียงพอของหญ้าแล้ว
แต่ประโยชน์ที่ได้จากการปลูกหญ้ามีประโยชน์มากกว่า
โทษ โดยเฉพาะ “หญ้าข่มคา”
ประโยชน์ของหญ้าข่มคา มีดังนี้
1. เพิ่มปริมาณไส้เดือน
(Earthworm) ให้มากขึ้นเรื่อยๆ
ยิ่งทีไส้เดือนมากช่องว่างในดินมีมาก อากาศถ่ายเทได้สะดวก รากพืชหายใจได้ดีและแตกขยายได้เร็ว
ขี้ไส้เดือนเป็นอาหารที่ดีของหญ้าและพืชที่เราปลูก
2. ช่วยรักษาความชื้น
(Moisture) ในดินได้มากกว่าหญ้าชนิดอื่นเพราะแสงแดดส่องไม่ถึงพื้นดิน
หญ้าแห้งบริเวณพื้นดินก็เป็นอินทรียวัตถุชั้นดี
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก ในช่วงหน้าฝนที่ฝนแล้งเป็นเวลานาน
และในช่วงหน้าแล้งดินก็ยังเก็บความชื้นไว้ได้มาก ทำให้ทะลายปาล์มมีน้ำหนักมากเป็นพิเศษ
3. ป้องกันการชะล้างหน้าดิน
(Soil erosion) สวนที่ฉีดยาฆ่าหญ้าและตัดหญ้าให้สั้นเป็นประจำไส้เดือนจะค่อยๆ
หนีไปเรื่อยๆ เพราะดินร้อนอยู่ไม่ได้ เวลาฝนตกหนัก
น้ำฝนจะชะล้างหน้าดินพร้อมกับธาตุอาหารไปสู่แม่น้ำลำคลองโดยไม่รู้ตัว แต่หญ้าชนิดนี้นอกจากป้องกันการชะล้างแล้วยังเก็บดินตะกอนที่มากับน้ำท่วมได้เป็นอย่างดีด้วย
4. เป็นการเพิ่มจุลินทรีย์
(Micro organisms) ที่มีประโยชน์กับดิน พืช และระบบนิเวศ
การใส่ปุ๋ยเคมี หรือชีวภาพ
พืชจะกินปุ๋ยไม่ได้ถ้าไม่มีจุลินทรีย์ย่อยสลายปุ๋ยตามกระบวนการของธรรมชาติ
เกษตรกรจำนวนมากนิยมตัดหญ้าในสวนให้สั้นเป็นประจำ
เพราะเข้าใจว่าหญ้าจะชิงปุ๋ยของพืช มีข้อถกเถียงกันมากในหมู่เกษตรกรที่คิดแบบนี้
ผู้เขียนได้ทราบข้อมูลอย่างชัดเจนจากหัวหน้าห้องแล็บของ
บริษัทวิจิตรภัณฑ์ปาล์มออยล์ ว่า
หญ้าจะกินอาหารเฉพาะ “ธาตุไนโตรเจน” เท่านั้น หลังจากได้นำใบหญ้าที่สมบูรณ์ดีมาอบให้แห้งและบดละเอียดแล้วมาทำการวิเคราะห์เพื่อหาธาตุอาหารที่สะสมอยู่ในใบหญ้า
ผลวิเคราะห์ปรากฏว่ามีเฉพาะธาตุไนโตรเจนเท่านั้น
แสดงว่าธาตุอาหารตัวอื่นหญ้าไม่ได้กิน เฉพาะ “ขี้ไส้เดือน” ก็เป็นอาหารอย่างเพียงพอของหญ้าแล้ว
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2558
คณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ ได้นำนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์ปีที่ 4 จำนวน 5 คน
มาทำการวิจัยเรื่องคุณสมบัติและประโยชน์ของ “หญ้าข่มคา” ในสวนของผู้เขียน
ทั้ง 2 แปลง และในเดือนมีนาคม 2559
ได้นำนักศึกษาเหล่านั้นพร้อมผู้นำ อบต. และ อบจ. ของจังหวัดนราธิวาส จำนวน 45 คน มาดูการบริหารจัดการสวน และฟังบรรยายจากผู้เขียน พร้อมมอบผลการวิจัยให้
1 ชุด
ผลการวิจัยพบว่า
รากหญ้าข่มคาสามารถหยั่งลึกลงไปในดินถึง 1 เมตรในดินร่วน ส่วนหญ้าคาลึกลงไปแค่ 40 เซนติเมตร ขังให้น้ำท่วมครึ่งต้นทั้ง 2 อย่าง เป็นเวลา
1 เดือน หญ้าคาตายสนิท
ส่วนหญ้าข่มคาไม่ตายพอเปิดน้ำให้แห้งค่อยๆ เจริญเติบโตเป็นปกติ
ผลของการวิจัยช่างตรงกับที่ผู้เขียนคิดไว้ทั้ง 4 ข้อ
โดยผู้เขียนไม่มีความรู้เรื่องงานวิจัย แต่รู้จากประสบการณ์ทั้งสิ้น
ปลูกหญ้าข่มคาทั่วทั้งสวน ตัดเฉพาะรอบโคนต้นปาล์มเ่ท่านั้น |
ทางใบปาล์ม ย่อยกลายเป็นอินทรียวัตถุ |
ปลูกหญ้าข่มคน เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ส่งเสริมให้สวนปาล์มของลุงจรูญมีผลผลิตสูง 4-5 ตัน/ไร่/ปี |
อีกกรณีหนึ่งสำหรับเรื่องไส้เดือน
เมื่อ 50 ปีที่แล้วมีผู้ทำการวิจัยเพื่อหาปริมาณของขี้ไส้เดือนในพื้นที่นาร้าง
1 ไร่ เก็บขี้ไส้เดือนทุก 15 วัน
ในพื้นที่ 1 ตารางวา (พื้นที่นาร้างส่วนใหญ่เป็นดินเหนียวไม่ค่อยมีอินทรียวัตถุและธาตุอาหาร)
เป็นเวลา 1 ปี
คำนวณปริมาณขี้ไส้เดือนโดยเฉลี่ยแล้วพื้นที่นาร้าง 1 ไร่
ในเวลา 1 ปี จะมีขี้ไส้เดือนประมาณ 2.5
ตัน
แต่ถ้าเป็นพื้นที่ดินในสวนจะมีอินทรียวัตถุจากปุ๋ยคอก
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ และทางใบปาล์มในปริมาณมาก
ถ้าเราไว้หญ้าให้ยาวน่าจะมีปริมาณขี้ไส้เดือนมากกว่าถึง 2 เท่า คือ ปริมาณ 5 ตัน/ไร่ โดยไม่ต้องลงทุนซื้อ
แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนไม่สามารถหาข้อมูลมายืนยันได้เพราะระยะเวลานานเกินไป
สรุปว่าการไว้หญ้าในสวนจะมีประโยชน์ต่อพืชมากมายหลายประการ
การตัดหญ้าให้สั้นเป็นประจำ
จะเป็นการสมควรหรือไม่ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของเกษตรกรเอง
ข้อมูลจาก : การบริหารจัดการสวนปาล์ม
ที่ใช้ต้นทุนต่ำ ผลผลิตสูง จรูญ ประดับการ
ขอขอบคุณ
จรูญ ประดับการ
โทร. 086-986-2340
ขอขอบคุณ
จรูญ ประดับการ
โทร. 086-986-2340
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น