ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

มาเลย์ แก้ปัญหา “ปาล์มดิบ” ได้อย่างไร บทเรียนที่ไทยต้องศึกษา เรื่องโดย กิตติชัย ก่ออ้อ


จากประสบการณ์การไปดูงานประเทศมาเลเซีย เรื่องการขายปาล์ม โดยไปดูงานที่โรงงานแห่งหนึ่ง เพราะปัญหาการตัดปาล์มไม่มีคุณภาพก็เป็นปัญหาหนึ่งของมาเลย์ไม่แตกต่างจากไทย แต่มาเลย์มีกฎหมายรองรับเรื่องนี้ เช่นการปรับเงินคนตัด การปรับเงินลานเทที่รับซื้อปาล์มดิบเข้าโรงงาน 

━━━━━━━━━━━━━━━━━
 “ผลปาล์มที่ไม่มีคุณภาพโรงงานจะยึด (เหมือนยึดทรัพย์) เป็นของโรงงาน โดยโรงงานจะรวบรวมไปทำลายเอง ป้องกันการนำกลับมาหมุนเวียน หรือยัดไส้ขายครั้งต่อไป
━━━━━━━━━━━━━━━━━
แต่จุดเด่นที่มาเลย์สามารถซื้อปาล์มได้คุณภาพมากกว่า 18% มานานหลายสิบปี คือ การที่โรงงานคัดทะลายดิบที่โรงงานอย่างจริงจัง ก่อนปาล์มจะมาโรงงานมีการคัดที่แปลง ที่ลานเท มาเลย์ก็มีลานเทเหมือนบ้านเราเลย หน้าที่เหมือนกัน 

การคัดทะลายดิบของโรงงานที่มาเลย์มีวิธีหนึ่งน่าสนใจ ไม่ว่าใครทำตามก็แก้ปัญหาทะลายดิบได้ชนิด 100% นั่นคือ การคัดปาล์มที่ไม่มีคุณภาพทุกประเภทออก แล้วปาล์มที่ถูกคัดเมื่อชั่งน้ำหนักรวมกับรถบรรทุกปาล์ม ผลปาล์มที่ไม่มีคุณภาพโรงงานจะยึด (เหมือนยึดทรัพย์) เป็นของโรงงาน โดยโรงงานจะรวบรวมไปทำลายเอง เช่นมี 10 ทะลายที่ดิบ เมื่อชั่งรถออก เจ้าของปาล์ม คนตัดปาล์มจะไม่ได้อะไรเลยจากปาล์มที่ถูกคัดนั้น ถ้าไม่ทำเช่นนั้นปาล์มเหล่านั้นจะถูกนำกลับมาหมุนเวียน หรือยัดไส้ขายในครั้งต่อไปอีก 
ปาล์มดิบ หรือปาล์มไม่มีคุณภาพถูกคัดและยึดไว้ที่โรงงาน รอทำลาย
แต่บ้านเราถามว่าถ้ามีกฎหมายเรื่องนี้รองรับคนจะกล้าตัดดิบอีกไหม ถ้าไม่ทำแบบนี้อีก 10 ปี เรื่องนี้ก็แก้ไขไม่ได้ ก็คงจะมาเถียงกันเรื่องเปอร์เซ็นต์ กันไม่มีวันสิ้นสุด 

การประเมินราคาซื้อขายก็ใช้เปอร์เซ็นต์ซื้อขาย เช่น วันนี้ซื้อขายปาล์มกันที่ 18% แต่พอวันรุ่งขึ้นผลวิเคราะห์ออกมาว่าโรงงานได้ 19% โรงงานก็จะให้ในราคา 19% ของคนที่ขายเมื่อวาน เช่นบวกเพิ่ม 0.30 บาท/กิโลกรัม (ทุกๆ เปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้น 1% ) โดยโรงงานโอนเงินเข้าบัญชีตามน้ำหนักปาล์มที่มาขายเมื่อวาน

การแก้ปัญหาแบบนี้สำหรับประเทศไทยถามว่าคนไทยรับได้ไหม หลายคนไปดูงานที่มาเลย์แต่ไม่ได้นำมาประยุกต์ใช้ก็น่าเสียดาย 

- Advertisement -
ลงโฆษณา โทร 08-6335-2703
แต่เมื่อมีทางออกของปัญหาก็น่าจะแก้ไขให้ถูกจุด ถ้ามาเลย์ไม่แก้ปัญหาแบบนี้ สวนปาล์ม 35 ล้านไร่ก็ควบคุมคุณภาพยาก ไทยเรามีแค่ 5 ล้านไร่ก็ควบคุมการทำปาล์มคุณภาพยากเช่นกัน สารพัดปัญหา 

การซื้อปาล์มลานเทที่มาเลย์เขาควบคุมได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมือที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ เพียงใช้สายตาในการวิเคราะห์เท่านั้น ทุกลานเทมีมาตรฐานในการตรวจสอบ หน่วยงานรัฐ (MPOB) ที่รับผิดชอบเรื่องนี้จะแจกคู่มือ เช่น MANUAL PENGGREDAN BUAH KELAPA SAWIT MPOB ( ค้นหาดูทาง google ทั่วไป  เช่น( wskj.mpob.gov.my/pnp/gredffb.htm ) จะแจกทุกลานเท เขาสุ่มตรวจลานเทบ่อยๆ และปรับกันตามที่ตกลงกัน (ตามกฎหมาย) โรงงานถ้าทำคุณภาพได้ต่ำกว่า 18% ก็มีขั้นตอนการเตือน หยุดปรับปรุง หรือปิดโรงงานไปเลย 
ถามว่าปัจจุบันบ้านเราทำแบบนี้บ้างไหม ปัจจุบันปัญหาปาล์มคุณภาพ (ดิบ,สุกเกินไป,ทะลายที่มีความสมบูรณ์เรื่องโรคแมลงและสัตว์,เรื่องของปาล์มร่วงจากทะลาย เป็นต้น) เป็นปัญหาใหญ่สุดในวงการปาล์มน้ำมัน

ถ้าทำปาล์มคุณภาพได้เปอร์เซ็นต์ดีแล้ว เรื่องราคารับซื้อคงจะแก้ปัญหาได้ (มันน่าใช้ ม. 44 จริงๆ อิอิ)

เรื่อง/ภาพ กิตติชัย ก่ออ้อ


- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม