นายกฤษฎา
บุญราช รัฐมนตรีเกษตรและสหกรณ์ นำคณะทูต-ผู้ค้ายางจากประเทศผู้นำเข้ายางรายใหม่
50 บริษัท จาก 20 ประเทศ ร่วมงาน โครงการสร้างเสริมศักยภาพเพื่อขยายตลาดคู่ค้ายางพาราไทย
ที่ จ.กระบี่ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งมาตรการสำคัญในการส่งเสริมการตลาดยางพาราโดยเฉพาะประเทศคู่ค้ายางรายใหม่ๆ
ผ่านการชี้แจงนโยบายและเปลี่ยนข้อคิดเห็น การศึกษาดูงานการผลิต
การแปรรูปผลิตภัณฑ์ยาง เพื่อแสดงศักยภาพความเป็นผู้นำของไทยในฐานะผู้ผลิตยางคุณภาพและการส่งออกยางพารารายใหญ่ของโลก
ขณะเดียวกัน
ยังเป็นการแสวงหาพันธมิตรคู่ค้าใหม่ในตลาดยางพารา
ให้เชื่อมั่นต่อคุณภาพมาตรฐานและความหลากหลายของการใช้ยางพาราในอุตสาหกรรมต่างๆ
ของไทย
โดยการจัดการครั้งนี้มีผู้ประกอบการรายใหม่กว่า
50 บริษัทจาก 10
ประเทศที่มีการนำเข้ายางเพื่อใช้ในประเทศในบริเวณมาก เช่น ญี่ปุ่น
จีน อินเดีย เม็กซิโก อิหร่าน เป็นต้น
รวมถึงกระทรวงเกษตรฯ ยังได้เชิญคณะทูตานุทูตที่ประจำอยู่ที่ประเทศไทยกว่า
20 คนจาก 15 ประเทศซึ่งประเทศเป้าหมายส่วนใหญ่ยังไม่เคยมีการนำเข้ายางพาราจากไทยหรือยังมีปริมาณที่ไม่มากนัก
เช่น รัสเซีย ตุรกี ฟินแลนด์ เม็กซิโก และบราซิล เป็นต้น
นายกฤษฎา บุญราช รมว.กระทรวงเกษตรกและสหกรณ์ |
หากคณะทูตานุทูตประเทศต่างๆ
ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในเรื่องการผลิตอย่างของไทยก็จะสามารถให้ข้อมูลกับผู้เข้าผู้นำเข้าหรือผู้ประกอบการอย่างได้อีกทางหนึ่งด้วย
ตลอดจนขับเคลื่อนศักยภาพการพัฒนาการผลิตยางพาราและอุตสาหกรรมยางพาราในประเทศจนทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตยางพาราธรรมชาติที่มีคุณภาพและมาตรฐานและมีความหลากหลายด้วยสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล
โดยเป็นผลผลิตจากพื้นที่ปลูกยางพาราที่อยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ
ในพื้นที่รวม 25 ล้านไร่ จากเกษตรกรชาวสวนยางพารา จำนวน 1.65 ล้านคน มีกำลังการผลิตยางธรรมชาติได้มากถึง
4.5 ล้านตันต่อปี นับเป็น 1 ใน 3
ของผลผลิตยางรวมกันทั้งโลก
และก้าวขึ้นมาเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกอันดับ 1 ของโลก ทั้งน้ำยางข้น ยางแท่ง และยางแผ่นรมควัน
รวมถึงผลิตภัณฑ์จากยางพาราชนิด ต่างๆ อาทิ ถุงมือยาง ยางพาหนะและชิ้นส่วนยานยนต์ที่ทำมาจากยางพารา
สามารถสร้างรายได้จากการส่งออกสูงเป็นอันดับ 3 ของการส่งออกสินค้าทั้งหมดของประเทศด้วยมูลค่าที่มากกว่า
5 แสนล้านบาท
นอกจากนั้น
ไทยยังมีการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมยางพารา หรือ Rubber City ขึ้น ที่
จ.สงขลา พื้นที่ 1,218 ไร่ ซึ่งมีศักยภาพพร้อมรับการลงทุนทั้งอุตสาหกรรมนวัตกรรมยางพารา
อุตสาหกรรมจากน้ำยางข้น อุตสาหกรรมยางคอมปาวด์ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
“ประเทศไทยพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางในการรับผลิตยางพาราตามความต้องการของผู้ประกอบการยางพาราและผู้นำเข้ายางจากทั่วโลก ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะส่งผลต่อเสถียรภาพราคายางพาราได้”
นายกฤษฎา กล่าว
ส่วนสถานการณ์ยางพาราในประเทศ
ขณะนี้ รมว.เกษตรฯ กล่าวว่า
จะต้องคุมปริมาณผลผลิตไม่ให้ล้นตลาด โดยไม่ให้ปลูกยางเพิ่ม ประกอบกับมาตรการใช้ยางในประเทศ
ในภาคของหน่วยงานของรัฐ ได้สั่งซื้อยางกว่า 70,000 ตัน จากยอดใช้ยาง 140,000 ตัน
คาดว่าราคาจะขยับตัวสูงขึ้น เมื่อดูดซับออกจากตลาด
แต่ขณะนี้ยังไม่หยุดกรีดยาง
จะดูช่วงที่เหมาะสม เพราะมีทั้งคนเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
จึงเปลี่ยนมาตั้งศูนย์กลางการผลิตยาง โดยโรงงานแปรรูปยางเพื่อส่งออก
ทำให้ราคาขยับขึ้น และจะไม่ต่ำไปกว่า 40 บาท/กก.
อ้างอิง
- http://thainews.prd.go.th/website_th/news/news_detail/TNECO6106280010022
- https://www.dailynews.co.th/politics/651913
- https://www.ryt9.com/s/prg/2848977
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น