ปาล์มอีสานอาจจะไม่ใช่เรื่องใหม่
เพราะเกษตรกรต่างรู้ดีอยู่แล้วว่าสภาพพื้นที่และสภาพอากาศไม่เหมาะสมนัก
มีข้อจำกัดเรื่องปริมาณน้ำฝน
แต่ก่อนที่จะปลูกจำเป็นต้องศึกษาเรื่องวิธีการดูแลสวน
การบริหารจัดการ รวมถึงสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันด้วย
ปัจจุบันสวนปาล์มของอัมรินทร์อายุ 6 ปี ปลูกระยะห่าง 8×8×8 เมตร
ใช้สายพันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่า โดยเจ้าของสวนให้เหตุผลว่าเป็นสายพันธุ์ที่ทนแล้ง
ทะลายดก ผลผลิตสูง ในพื้นที่ 32 ไร่ ตัดรอบหนึ่งๆ ได้ประมาณ 6-9 ตัน หรือ 12-18
ตัน/เดือน
ส่วนการจัดการเรื่องหญ้าที่สวนไม่ใช้ยากำจัดวัชพืชเลย
แต่จะใช้วิธีการตัด ถ้าเป็นฤดูแล้งจะไม่ตัดเลยเพราะต้องการให้หญ้าช่วยรักษาความชื้นบริเวณหน้าดินด้วย
แต่สำหรับ อัมรินทร์ โยธาวงศ์ เกษตรกรยุคใหม่ แห่ง อ.กุมภวาปี
จ.อุดรธานี เขาความมุ่งมั่นที่จะทำสวนปาล์ม
เพราะมองแล้วว่าพื้นที่ของตัวเองเหมาะสม และทำสวนแบบผสมผสาน ได้หลายอย่าง โดยพื้นที่ 32 ไร่ แบ่งทำสวนปาล์ม ขุดบ่อน้ำ ปลูกผัก-ผลไม้เล็กๆ น้อยๆ ไว้ทานเอง รวมถึงเลี้ยงไก่
เป็ด และห่าน เพื่อใช้ประโยชน์จากพื้นที่ให้มากที่สุด
จริงๆ แล้วอาชีพหลักของเกษตรกร ของอัมรินทร์คือ เพาะเลี้ยงไก่ชนเพื่อจำหน่าย
ไม่ได้ปลูกปาล์มเป็นอาชีพหลัก เขาให้ความเห็นว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ดูแลง่าย
ไม่ใช้เวลามาก
เพียงแต่ต้องเข้ามาให้ปุ๋ยสม่ำเสมอและตัดทะลายปาล์มตามวันที่กำหนดเท่านั้น
ซึ่งด้วยความที่สวนปาล์มใช้เวลาบริหารจัดการน้อยจึงแบ่งเวลาไปทำงานอื่นๆ
เพื่อให้เกิดรายได้หลายทางยิ่งขึ้น
พื้นที่ชุ่มน้ำมีน้ำตลอดทั้งปี |
“ก่อนอื่นเราต้องมองพื้นที่ของตัวเองก่อน มีน้ำเพียงพอสำหรับทำสวนปาล์มไหม
เพราะว่าพืชตัวนี้อาศัยน้ำเป็นปัจจัยหลักเลย ถ้าจัดการน้ำได้ก็โอเคเลยปลูกได้เลย
ถ้าน้ำไม่มีก็อย่าไปปลูกเลย ปลูกอย่างอื่นดีกว่า
อย่างสวนผมเป็นดินแบบที่มีน้ำซึมอยู่ตลอด
ปาล์มเขาต้องการน้ำมากแต่ไม่ชอบน้ำขัง ผมก็เลยต้องยกร่องไม่ให้น้ำขัง
ในร่องน้ำก็จะมีน้ำทั้งปี ตรงนี้นับว่าเป็นความโชคดีของเรา”
ปาล์มน้ำมันพันธุ์โกลด์เด้นเทเนอร่าอายุ 6 ปี |
ส่วนรอบการตัดขึ้นอยู่กับฤดูกาล เช่น
ฤดูฝนปาล์มดกเป็นพิเศษจะตัด 10 วันครั้ง ส่วนฤดูแล้วจะตัด 15 วัน/ครั้ง
ช่วงปาล์มราคาดีจะมีรายได้ถึง 70,000-80,000 บาท/เดือนเลยทีเดียว
เทคนิคจัดการสวนปาล์มอย่างง่ายที่ใครๆ ก็ทำได้
เนื่องจากพื้นที่ของอัมรินทร์เป็นดินปนทราย พื้นที่ลาดเอียงเล็กน้อย
แต่มีน้ำซับอยู่ตลอดทั้งปี มีเพียงปัญหาและอุปสรรคเล็กน้อย เช่น พื้นที่ๆ
อยู่สูงได้รับน้ำไม่เต็มที่จะมีดอกตัวผู้ปนมาบ้าง ส่วนพื้นที่ด้านล่างบางจุดน้ำขังตลอดเวลาต้นปาล์มจึงใบเหลืองเจริญเติบโตช้าและให้ทะลายน้อยกว่าบริเวณที่ได้รับน้ำอย่างพอเหมาะ
เมื่อมีน้ำซับในดินตลอดจึงต้องทำร่องน้ำเพื่อไม่ให้น้ำขังราก
และเก็บน้ำไว้ให้ปาล์มใช้ในช่วงแล้งด้วย อัมรินทร์จึงขุดร่องน้ำแบบแถวเว้นแถว
เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับวางทางใบด้วย
พื้นที่ด้านล่างบางจุดน้ำขังตลอดเวลาต้นปาล์มจึงใบเหลืองเจริญเติบโตช้า |
เขาเน้นการใส่ปุ๋ยบนกองทางทั้งปุ๋ยเคมี มูลสัตว์ และธาตุโบรอนเสริม
โดยใส่แม่ปุ๋ยให้ได้สูตร 14-7-30 แบ่งใส่ 3 ครั้ง/ปี คือช่วงต้นฝน กลางฝน
และปลายฝน ครั้งละ 1 กก. รวมทั้งสิ้นเขาใช้ปุ๋ยเคมี 3 กก./ต้น/ปี, ใส่ขี้หมู 1 กระสอบ/ต้น/ปี และช่วงกลางปีจะใส่โบรอน
3 ขีด/ต้น/ปี และมีแนวโน้มว่าต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยในปีต่อๆ ไปตามผลผลิตที่สูงขึ้น
“ผมศึกษามาจากพี่ๆ น้องๆ ชาวสวนปาล์มน้ำมันในอินเตอร์เน็ตเรื่องการวางกองทางและใส่ปุ๋ยบนกองทาง
มันมีประโยชน์หลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บรักษาความชื้นในดิน
การปรับสภาพดินทำให้มีอินทรียวัตถุมากขึ้น เมื่อดินสมบูรณ์เราใส่ปุ๋ยเข้าไปปาล์มก็ตอบสนองต่อปุ๋ยได้มากขึ้น
มันช่วยลดต้นทุนปุ๋ยไปได้อีกทางหนึ่งเลยครับ”
เกษตรกรรายนี้ให้ข้อมูลกับทีมงานว่า
การตัดปาล์มสุกไม่ใช่เฉพาะเรื่องของรายได้ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น
แต่เป็นเรื่องของการเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย
การที่เกษตรกรตัดปาล์มสุขไปขายลานเทก็ไม่ลำบากใจ เพราะลานเทเองก็ต้องเอาไปส่งต่อให้กับโรงงาน
ถ้าปาล์มไม่สุกโรงงานก็ต้องคัดกลับมา หมายความว่าลานเทต้องมากดราคากับเกษตรกร
ซึ่งปาล์มของอัมรินทร์ต้องตัดสุก 100% มีลูกร่วง 2-3 ลูกเป็นอย่างน้อย
และนำไปจำหน่ายที่ลานอุดรปาล์ม จ.อุดรธานี
ทัศนคติการทำสวนปาล์มน้ำมันของอัมรินทร์ เกษตรกรยุคใหม่
“ผมมองในเรื่องของความคุ้มค่าเรื่องรายได้และการบริหารจัดการเวลาเป็นหลัก
ถ้าทำสวนยางต้องทำทุกวัน เข้าสวนกรีดยางตอนเช้ามืด แต่ข้อดีคือมีรายได้เข้ามาต่อเนื่อง
ทำนาข้าว ทำไร่อ้อย พวกพืชไร่ต่างๆ ต้องเก็บเกี่ยวถึงจะมีรายได้ปีละครั้ง
ในขณะที่เราต้องกินต้องใช้ทุกวัน ส่วนปาล์มน้ำมันเข้าตัดเดือนละ 2 ครั้ง
กำจัดวัชพืช ใส่ปุ๋ย ก็ทำเป็นครั้งๆ ไป เรามีรายได้ทุก 15 วัน ผมว่ามันโอเค ”
“แล้วมันตอบโจทย์ผมคือผมไม่ชอบทำงานตอนกลางคืน
แล้วผมมีเวลาไปทำอย่างอื่นได้อีกเยอะ มีเวลาทำธุรกิจอย่างอื่นได้
มีเวลาไปทำในสิ่งที่เราชอบ ผมเลี้ยงไก่ชนอยู่ด้วย คิดๆ แล้วในสวนปาล์มนี่ 1 เดือน
ทำงานอาทิตย์เดียว เดือนหนึ่งทำงาน 7 วัน ที่เหลืออีก 25
วันผมทำอะไรที่สร้างรายได้อีกตั้งเยอะ
ผมว่าทำสวนปาล์มน้ำมันตอบโจทย์ชีวิตผมที่สุด
สำหรับผมมองว่าพืชเกษตรนี่ไม่มีตัวไหนได้เท่ามันหรอกครับ แม้กระทั่งยางพารา ผมว่าทำสวนปาล์มนี่เราอยู่ได้สบายๆ
แต่ถ้าอยากให้อยู่ได้สบายมากๆ เลย คือขอให้ราคาไม่ต่ำกว่า 4 บาท จะดีมากๆ เลยครับ”
ขอขอบคุณ
ปาล์ม อัมรินทร์ โยธาวงศ์
43/9 บ้านสงเปลือย ต.เสอเพลอ
อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี 41370
โทรศัพท์ : 06-1297-8244
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น