ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

วีระ ตระกูลรัมย์ เอาชนะดินกรด ปลูกปาล์มได้ผลผลิต 4 ตัน/ไร่/ปี


เชื่อหรือไม่ว่าปาล์มน้ำมันแปลงนี้แรกเริ่มปลูกในดินกรดจัด pH 3.0 …!

วีระ ตระกูลรัมย์ เจ้าของสวนปาล์มน้ำมัน ใน อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง และเจ้าของธุรกิจร้านเคมีเกษตร เล่าให้เราฟังว่า ลงทุนซื้อที่ดินใน อ.ย่านตาขาว เพื่อปลูกปาล์มน้ำมัน  2 พันธุ์ คือ โกลด์เด้นเทเนอร่า และ ยังกัมบิ ML 161 จำนวน 30 ไร่

แม้ว่าพื้นที่รอบสวนครึ่งหนึ่งถูกโอบล้อมด้วยแม่น้ำ น่าจะเป็นรากฐานที่ดีของหากทำสวนปาล์ม แต่ชีวิตมันต้องถูกทดสอบเสมอ เมื่อพบว่าแม่น้ำที่โอบล้อมสวนปาล์มเป็น “น้ำเค็ม” เมื่อถึงช่วงฤดูแล้ง และดินมีสภาพเป็นกรดจัดค่า pH 3.0

แต่เขายังยืนยันจะปลูกปาล์มน้ำมันที่นี่ เพราะมองเห็นว่าเป็นพืชที่มีความมั่นคงทางอาชีพ และเป็นพืชอายุยืน เก็บผลผลิตได้ทุก 15 วัน นานมากกว่า 25 ปี และยังใช้สวนปาล์มเป็นห้องทดสอบ ปุ๋ย และยาต่างๆ อีกด้วย 
สภาพสวนปาล์ม อายุ 4-5 ปี ของวีระ หลังจากถูกน้ำท่วมหลายเดือนเมื่อปลายปี 2560
แม่น้ำใหญ่โอบล้อมครึ่งหนึ่งของสวน แต่หน้าแล้งน้ำเค็มจากทะเลจะหนุนสูง
เขาเริ่มแก้ปัญหาดินเป็นกรดสูง ด้วย “ โดโลไมท์” โดยใส่ไปกว่า 20 ตัน และใช้ขี้ไก่เป็นตัวเพิ่มจุลินทรีย์ให้ดิน จากนั้นปล่อยทิ้งไว้ 3 เดือน จึงขุดหลุมปลูกปาล์ม พร้อมกับใส่โดโลไมท์เพิ่มลงไปในหลุมปลูกอีกหลุมละ  3 กก.

เมื่อค่า pH สูงขึ้น จึงเริ่มต้นปลูกปาล์ม โดยใช้แผ่นไฟเบอร์ คลุมดินบริเวณรอบโคนต้น แก้ปัญหาได้หลายอย่าง

วัสดุคลุมดินช่วยป้องกันวัชพืช และช่วยกักเก็บความชื้นของดินในช่วงที่ปาล์มยังเล็กได้ ใต้วัสดุนั้นเราก็ใส่ปุ๋ยรอบโคนไว้ปกติจะช่วยให้ปุ๋ยไม่ถูกชะล้างไปกับน้ำฝน และแผ่นไฟเบอร์นี้จะค่อยๆ ย่อยสลายไปเอง

หลังจากปลูกปาล์มแล้ว เขายังพึ่งพาโดโลไมท์ และขี้ไก่ ปรับปรุงสภาพดินอีก 10 ตัน จนทำให้ค่า pH ค่อยๆ สูงขึ้นเกิน 6.0 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี
ตรวจวัดค่า pH ในดินอย่างสม่ำเสมอ เพื่อวางแผนปรับสภาพดินให้เหมาะสม
ค่า pH สำคัญอย่างไร…? ค่า pH คือ ค่าความเป็นกรด-ด่าง ในดิน ค่าความเป็นกรด-ด่างที่ดีกับพืชคือ ระดับกลาง 6-7  ค่า pH ในดินที่เหมาะสมจะมีส่วนช่วยให้พืชสามารถดูดซับปุ๋ย หรือ ธาตุสารอาหารจากดินได้ดีขึ้น

เมื่อดินเริ่มดี ประกอบกับมีองค์ความรู้เรื่องปาล์มน้ำมัน เขาจึงไม่รอช้าที่จะทำให้ต้นปาล์มสมบูรณ์

ผมต้องการให้ปาล์มโคนใหญ่ ต้นสมบูรณ์ เลยเน้นการใส่ปุ๋ยให้สม่ำเสมอ ตัวหลักๆ คือ 0-0-60 และแมกนีเซียม ของ Fas-Kies (แมกนีเซียม 13%, ฟอสเฟส 15% และโบรอน 0.5%)  ถ้าใส่สูตรนี้จะไม่ต้องมาใส่แมกนีเซียมและโบรอนแยกทีละตัว แต่ช่วงที่มีปัญหาเรื่องขาดโพแทสเซียมก็เปลี่ยนมาใส่สูตร 10-15-20 และใช้ขี้ไก่ปรับสภาพดินรอบต้นปีละ 4-5 กระสอบ/ต้น/ปี

สังเกตว่าปาล์มต้นใหญ่มาก เพราะได้ปุ๋ยค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ เราพยายามอัดปุ๋ยให้ต้นใหญ่ แล้วก็ไม่เคยแต่งทางใบเลย ทำให้ต้นมีใบใช้ปรุงอาการมาก ทำให้ต้นปาล์มคอใหญ่

วีระ เล่าว่าปาล์มทั้ง 2 สายพันธุ์ ดูแลแบบเดียวกันทุกประการส่วนตัวแล้วเขารู้สึกพอใจทั้ง 2 สายพันธุ์ ทนแล้ง 3 เดือน ลูกใหญ่ ให้ทะลายตั้งแต่ยังเล็กเหมือนกัน ผลผลิตเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ประมาณ 4 ตันกว่าๆ /ไร่/ปี ก็ถือว่าน่าพอใจสำหรับปาล์มอายุ 4-5 ปี

อย่างไรก็ตาม เขายังคงต้อง “ทำสงคราม” กับปัญหาน้ำเค็มและน้ำท่วมอยู่ทุกปี โดยเฉพาะเมื่อปลายปี 2560 สวนปาล์มถูกน้ำท่วมอยู่ปลายเดือน ทำให้ทะลายเสียหายและต้นหยุดชะงักไปหลายเดือน ซึ่งมีผลต่อการให้ผลผลิตปาล์มอย่างมาก แต่เขาไม่ท้อแต่อย่างใด ยังวางแผนปรับปรุงแก้ไขหวังเอาชนะธรรมชาติให้ได้ อย่างเช่น เตรียมวางระบบน้ำ สำหรับหน้าแล้ง เป็นต้น 
ใช้ฟีโรโมน เป็นกับดักด้วงในสวนปาล์ม
ในตอนท้ายวีระได้แสดงความคิดเห็นไว้ว่าการปลูกปาล์มน้ำมันไม่ใช่เรื่องยากและไม่ใช่เรื่องง่าย เกษตรกรต้องเรียนรู้ไปตลอด อย่างสวนปาล์มของเขาในแต่ละปีจะมีปัญหาเกิดขึ้นมากมาย บางปีน้ำท่วม บางปีฝนแล้งถูกน้ำเค็มหนุนเข้ามาในสวน โดยเฉพาะปัญหาราคาปาล์มที่ยังอยู่ในเกณฑ์ใกล้เคียงกับต้นทุน

ส่วนเรื่องตัดสุกก็พยายามทำทุกทาง เพราะเขาอยู่ในกลุ่ม RSPO ต้องเน้นเรื่องการตัดสุก ราคาขายโรงงานอาจจะยังไม่ได้วัดแต่ใช้การดูด้วยสายตา บางครั้งไป 3 เที่ยวได้ราคาไม่เหมือนกันเลยก็มี แต่เมื่อตั้งใจแล้วว่าต้องการทำสวนปาล์มคุณภาพก็พยายามทำให้ดีที่สุด

เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 16 สิงหาคม 2561 

ขอขอบคุณ
วีระ ตระกูลรัมย์
โทรศัพท์ : 081-536-7828

- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม