คุยกับ ดร.พลัฏฐ์ ฐิติณัฐชนน เปิดเส้นทาง 50 ปี งานวิจัยพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ยูนิวานิช
เมื่อพูดถึงปาล์มน้ำมัน
คนในวงการรู้จักพันธุ์ปาล์มน้ำมัน “ยูนิวานิช” เป็นอย่างดี เพราะยูนิวานิชดำเนินการวิจัยพันธุ์ปาล์มน้ำมันต่อเนื่องมาอย่างยาวนานตามมาตรฐานสากลโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศมากว่า
50 ปี ได้รับความนิยมสูงสุดจากเกษตรกรในประเทศและส่งออกไปมากกว่า
15 ประเทศทั่วโลก
เว็บไซต์ยางปาล์ม
มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ดร.พลัฏฐ์ ฐิติณัฐชนน ผู้อำนวยการฝ่ายสวนและหัวหน้าศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน
บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) เรื่องการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
พร้อมทั้งเข้าชมการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันทุกขั้นตอนก่อนส่งถึงลูกค้า และเข้าสู่แปลงเพาะต้นกล้าระบบมาตรฐานของยูนิวานิช
ดร.พลัฏฐ์ ฐิติณัฐชนน |
30 ปี ของ ดร.พลัฏฐ์ กับ ยูนิวานิช
━━━━━━━━━━━━
ดร.พลัฏฐ์
เล่าถึงประวัติตัวเองว่า อดีตเคยทำงานอยู่กรมวิชาการเกษตร เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน
ก่อนจะลาออกมาทำงานกับ บริษัทยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) เมื่อ 30
ปีที่แล้ว งานหลักก็คือการพัฒนาและวิจัยพันธุ์ปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นงานที่ท้าทาย
เพราะเป็นยุคบุกเบิกของการพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันของไทย
ยุคนั้นเรื่องพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
เป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย ต้องนำเข้าพันธุ์ปาล์มจากต่างประเทศเท่านั้น
ประเทศที่ก้าวหน้าที่สุดในยุคนั้น คือ มาเลเซีย ซึ่ง ดร.พลัฏฐ์ได้มีโอกาสไปทำงานที่นั่น
2 ปี เต็ม
ยูนิวานิชเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันในประเทศ เพื่อให้ได้พันธุ์ปาล์มลูกผสมที่ดีเหมาะสมกับภูมิอากาศเมืองไทย ให้ผลผลิตสูงและต้องทนทานต่อความแห้งแล้งได้นาน โดยยึดวิธีการวิจัยตามมาตรฐานสากล จนเป็นบริษัทที่ได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ
ยูนิวานิช มีพื้นที่ทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมันกว่า 4,000 ไร่ |
เชื้อ
พ่อ-แม่ พันธุ์ปาล์มน้ำมันดีที่สุดในโลกรวมอยู่ที่ยูนิวานิช
━━━━━━━━━━━━
ดร.พลัฏฐ์
เล่าว่า หัวใจของการพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน คือ “เชื้อพันธุ์ปาล์ม” ต้องมีเชื้อพันธุ์ตั้งต้นที่ดีก่อนจึงจะเดินต่อไปข้างหน้าได้ นับเป็นความโชคดีที่ทางยูนิวานิชเคยร่วมทุนกับ
ยูนิลิเวอร์ ประเทศอังกฤษ (ระหว่างปี 2526-2541) ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญทางด้านการปลูกปาล์มน้ำมันในหลายประเทศทั้งในเอเชีย แอฟริกาและอเมริกาใต้ เช่น ในมาเลเซีย, กาน่า, สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก, ไนจีเรีย, แคเมอรูน, โคลัมเบีย และ เวเนซุเอลา เป็นต้น
นอกจากนั้น
ยูนิลิเวอร์ยังมีเชื้อพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่หลากหลาย ก่อนที่จะนำเชื้อพันธุ์ต่างๆ จากต่างประเทศเข้ามาพัฒนาในเมืองไทย
โดยตั้ง “ศูนย์วิจัยและพัฒนาปาล์มน้ำมัน” ขึ้นที่สวนปาล์มน้ำมันยูนิวานิช
ตั้งอยู่ที่ ต.ปลายพระยา อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ตั้งแต่ปี 2526
เชื้อพันธุ์ต้นแม่แดลี่ ดูร่า (Deli Dura) เราได้มาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ปาปัวนิวกินี และมาเลเซีย ส่วนเชื้อพันธุ์ต้นพ่อพิซิเฟอร่า (Pisifera) เช่น แอฟรอส (AVROS) ได้มาจากปาปัวนิวกินี, อีโคน่า (EKONA) จากแคเมอรูน และ ยันกัมบิ (Yangambi) มาจากบิงกา สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ทำให้ยูนิวานิชมีเชื้อพันธุ์ที่สมบูรณ์แบบและหลากหลายจากทั่วโลกเชื้อพันธุ์เหล่านี้ได้ถูกพัฒนามาก่อนหน้านี้แล้วในต่างประเทศไม่น้อยกว่า 20 ปี
เมื่อได้เชื้อพันธุ์เหล่านี้มายูนิวานิชได้ปลูกทดสอบเพื่อศึกษาว่าสายพันธุ์ไหนเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของไทย
และได้มีการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ต่อเนื่องจากต่างประเทศจนถึงปัจจุบันเป็นเวลานานกว่า
50 ปี
ปัจจุบันยูนิวานิชมีพื้นที่ปลูกทดสอบพันธุ์มากกว่า
4,000 ไร่ มีการทดสอบลูกผสม(DxP)ต่างๆ
มากกว่า 1,000 ชนิด ดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ
ผู้วิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันของเราเป็นผู้เชี่ยวชาญระดับโลก เช่น ดร. เฮร์เวิร์ด คอร์ลีย์ อดีตหัวหน้าฝ่ายวิจัย บริษัทยูนิลิเวอร์ และเป็นผู้ที่เขียนตำราเกี่ยวกับปาล์มน้ำมันที่จำหน่ายทั่วโลก, และ ดร. เว็นเกตต้า ราว ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันโดยเฉพาะจากมาเลเซีย ทั้ง 2 คนทำงานร่วมกับเรามานานมากกว่า 30 ปี
ดร.เว็นเกตต้า ราว ผู้เชี่ยวชาญด้านการปรับปรุงพันธุ์ปาล์มน้ำมันชาวมาเลเซีย หนึ่งในที่ปรึกษาของ ยูนิวานิช |
จึงไม่แปลกใจเลยว่าทำไม
ยูนิวานิชจึงได้รับความไว้วางใจและเชื่อถือจากทั่วโลก...นั่นเป็นเพราะการวิจัยพัฒนาและการผลิตที่มีมาตรฐานสูงนั่นเอง
ปาล์มน้ำมันลูกผสม ในแปลงทดลองของยูนิวานิช ใช้เวลาทดสอบพันธุ์อย่างน้อย 8 ปี |
พัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
ให้เหมาะสมกับประเทศไทย
━━━━━━━━━━━━
วัตถุประสงค์หลักของการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ของยูนิวานิช
นอกจากต้องการปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตสูง เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงแล้ว สิ่งที่พวกเขาต้องการคือสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ทนแล้งได้ดีเป็นพิเศษ
โชคดีของยูนิวานิชที่ได้รับต้นพ่อพันธุ์ทนแล้งจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งพัฒนาโดยยูนิลิเวอร์ ค้นพบโดย ดร. เกล สมิท จากประเทศอังกฤษโดยพิจารณาจากการปิดเปิดของปากใบก่อนจะนำมาปลูกทดสอบในแปลงทดสอบของยูนิวานิชทั้งที่มีการให้และไม่ให้น้ำ เพื่อคัดเลือกต้นที่ทนทานสภาพภูมิอากาศของไทยมากที่สุด พันธุ์ปาล์มลูกผสมของยูนิวานิชจึงทนแล้งได้ดี
โชคดีของยูนิวานิชที่ได้รับต้นพ่อพันธุ์ทนแล้งจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก ซึ่งพัฒนาโดยยูนิลิเวอร์ ค้นพบโดย ดร. เกล สมิท จากประเทศอังกฤษโดยพิจารณาจากการปิดเปิดของปากใบก่อนจะนำมาปลูกทดสอบในแปลงทดสอบของยูนิวานิชทั้งที่มีการให้และไม่ให้น้ำ เพื่อคัดเลือกต้นที่ทนทานสภาพภูมิอากาศของไทยมากที่สุด พันธุ์ปาล์มลูกผสมของยูนิวานิชจึงทนแล้งได้ดี
ยูนิวานิชให้ความสำคัญกับพันธุ์ปาล์มทนแล้ง เพื่อให้เหมาะสมกับภูมิอากาศของไทย |
มีการจดบันทึกหรือวัดการเจริญเติบโต, ความสูงลำต้น, ความยาวทางใบ, ความหนาทางใบ, การให้ดอกและการออกทะลาย, ลักษณะทะลาย, น้ำหนักทะลาย, ลักษณะช่อดอกตัวผู้และ
สิ่งสำคัญก็คือมาตรฐาน ทุกต้นที่เป็นพ่อพันธุ์หรือแม่พันธุ์ที่เราคัดเลือกต้องเป็นไปตามมาตรฐาน SIRIM Standard เป็นมาตรฐานเดียวกันกับที่มาเลเซียใช้ ในการผลิตพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
ปาล์มน้ำมันยูนิวานิช |
กว่าจะเป็น
พันธุ์ปาล์มน้ำมัน ยูนิวานิช
━━━━━━━━━━━━
อันดับที่
1 เปอร์เซ็นต์น้ำมันในทะลายเมื่อตัดสุกเต็มที่ต้องมีอย่างน้อย
27-28% ขึ้นไป บางครั้งมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันถึง 29-30%
อันดับที่
2 ผลผลิตต้องสูงเทียบเท่าหรือดีกว่าเกณฑ์มาตรฐานของพันธุ์ที่เป็นพันธุ์การค้าทั่วไป
โดยปกติจะใช้พันธุ์ต่างประเทศมาทดสอบเป็น Standard ฉะนั้นพันธุ์ปาล์มยูนิวานิชจึงให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงกว่า
อันดับที่
3 ลำต้นมีความสูงพอสมควร แต่ความสูงจะน้อยกว่าสายพันธุ์
AVROS เพราะสายพันธุ์นี้ต้นจะสูงมาก โตเร็ว แม้ผลผลิตจะดี เปอร์เซ็นต์น้ำมันดีก็ตาม
มีสายพันธุ์กลุ่ม Yangambi ที่ลำต้นสูงช้าและให้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์น้ำมันดีมากเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นพันธุ์ปาล์มยูนิวานิชต้นจะไม่เตี้ยหรือสูงเกินไป เพราะต้นเตี้ยเกินไปไม่ดีนัก ก้านทะลายจะสั้นเก็บเกี่ยวลำบาก
เพราะฉะนั้นพันธุ์ปาล์มยูนิวานิชต้นจะไม่เตี้ยหรือสูงเกินไป เพราะต้นเตี้ยเกินไปไม่ดีนัก ก้านทะลายจะสั้นเก็บเกี่ยวลำบาก
ห้องปฏิบัติการเนื้อเยื่อของยูนิวานิช เป็นแห่งแรกของประเทศไทย |
ปาล์มน้ำมัน
เพาะเนื้อเยื่อ ความสำเร็จของยูนิวานิช
━━━━━━━━━━━━
ปี
2549 บริษัท ยูนิวานิช ได้จัดตั้งห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมันขึ้นเป็นแห่งแรกของไทย
เพื่อทำการขยายต้นพ่อและแม่พันธุ์ และลูกผสมที่ดีเด่นคัดเลือกจากแปลงทดสอบลูกผสมสายพันธุ์ที่มีข้อมูลอย่างน้อย
8 ปีเต็มในเนื้อที่ปลูกมากกว่า 4,000 ไร่
ต้นพ่อ-แม่พันธุ์ต้นไหนที่มีลักษณะเด่น
ให้ลูกผสมคุณภาพตรงตามมาตรฐานของยูนิวานิช จะนำต้นพ่อ-แม่พันธุ์เหล่านั้นมาเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
(Tissue Culture) เพื่อให้ได้ต้นใหม่จำนวนมากที่มีลักษณะเหมือนเดิมทุกประการ
ก่อนจะนำมาผลิตเป็นเมล็ดพันธุ์ลูกผสมเนื้อเยื่อเป็นสายพันธุ์ชุดใหม่ต่อไป
ต้นเนื้อเยื่อปาล์มน้ำมัน |
ต้นกล้าปาล์มน้ำมันจากเมล็ด ต้นพ่อแม่พันธุ์เนื้อเยื่อ ยูนิวานิชเริ่มจำหน่ายปี 2561 |
ดร.พลัฏฐ์
กล่าวว่า ต้นปาล์มน้ำมันลูกผสม ( DxP) ที่เป็น Tissue
Culture ยูนิวานิชก็ทำสำเร็จแล้ว แต่อยู่ในขั้นตอนการปลูกทดสอบ
และเก็บข้อมูลการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิต ซึ่งต้องใช้เวลาประมาณ 8 ปี
นอกจากนั้นต้นปาล์มลูกผสมผลิตจากเนื้อเยื่อ ยังมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ตามปกติ อย่างไรก็ตาม เรายังไม่ได้ผลิตออกจำหน่าย ยังต้องรอผลการทดสอบก่อน
นอกจากนั้นต้นปาล์มลูกผสมผลิตจากเนื้อเยื่อ ยังมีต้นทุนการผลิตค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ตามปกติ อย่างไรก็ตาม เรายังไม่ได้ผลิตออกจำหน่าย ยังต้องรอผลการทดสอบก่อน
แปลงทดสอบพันธุ์ปาล์มเนื้อเยื่อลูกผสม (DxP) อยู่ระหว่างการทดสอบ |
ยูนิวานิชมีการพัฒนาพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ดำเนินการตามมาตรฐานสากล มีการทดสอบลูกผสมก่อนจำหน่ายเพราะฉะนั้นเราเชื่อแน่ว่าพันธุ์ของเราไม่น่าจะแพ้ใคร เราไม่ได้แข่งขันกับคนอื่นแต่เราแข่งขันกับตัวเอง เพื่อหาพันธุ์ที่ดีที่สุดที่เหมาะสมกับบ้านเรา เราเชื่อมั่นว่าสายพันธุ์รุ่นใหม่ของเราซึ่งจะออกมาทุก ๆ 3-4 ปี จะต้องดีกว่าสายพันธุ์เดิมหรือที่จำหน่ายในปัจจุบันและจะดีขึ้นเรื่อย ๆเราต้องพัฒนาต่อเนื่องไม่หยุดยั้ง
ปลูกปาล์มอย่างไร
ให้ได้ตามศักยภาพของสายพันธุ์ปาล์ม
━━━━━━━━━━━━
แน่นอนว่าหากต้องการให้ต้นปาล์มน้ำมันมีผลผลิตดีต้องดูแลรักษาเป็นอย่างดีเช่นกัน
มีการใส่ปุ๋ยที่ถูกต้อง มีการกำจัดวัชพืชเมื่อจำเป็น หากสภาพอากาศแห้งแล้งเกษตรกรที่มีศักยภาพควรให้น้ำเพื่อให้การพัฒนาดอกและทะลายสมบูรณ์ขึ้น
จะปลูกปาล์มให้ได้ผลผลิตสูง ต้องดูแล ใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ |
เพราะการใส่ปุ๋ยไม่ถูกต้องหรือถูกวิธีอาจทำให้ปุ๋ยสูญเสียจากการชะล้างหรือละลายไปกับน้ำ พืชเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ หากใส่ปุ๋ยมากเกินไปบางครั้งก็ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร ไม่ทำให้ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตสูงขึ้น แต่ถ้าใส่น้อยเกินไปก็ทำให้ผลผลิตต่ำ ผลผลิตที่ได้ต้องตอบสนองกับต้นทุนด้วย..นี่คือสิ่งที่เกษตรกรต้องคำนึงถึง
ในส่วนของเรื่องการตัดทะลายปาล์ม
ดร.พลัฏฐ์ แสดงความคิดเห็นว่าเมืองไทยส่วนใหญ่ยังตัดปาล์มดิบมีคุณภาพต่ำ เพราะต่างคนต่างตัดเพื่อให้ได้น้ำหนักแทนคุณภาพ
หากหันมาตัดปาล์มคุณภาพเมื่อทะลายมีความสุกเต็มที่มีลูกร่วงจะได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันเต็มที่มีผลทำให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันในภาพรวมของประเทศดีขึ้น
เพราะปาล์มดิบจะมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันน้อยทำให้ต้นทุนในการผลิตน้ำมันสูงขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยทั้งระบบตั้งแต่ผู้ปลูกจนถึงผู้ผลิตและผู้จำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป
เพราะปาล์มดิบจะมีเปอร์เซ็นต์น้ำมันน้อยทำให้ต้นทุนในการผลิตน้ำมันสูงขึ้น ไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่าย มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยทั้งระบบตั้งแต่ผู้ปลูกจนถึงผู้ผลิตและผู้จำหน่ายน้ำมันสำเร็จรูป
ขอขอบคุณ
ดร.พลัฏฐ์
ฐิติณัฐชนน (ผู้อำนวยการฝ่ายสวนและหัวหน้าศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมัน)
บริษัท
ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน)
258
ถ.อ่าวลึก-แหลมสัก ต.อ่าวลึกใต้ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ 81110 โทรศัพท์ 075 681 116
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น