ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

วิธีกำจัด หนอนปลอก ในสวนปาล์ม

หนอนปลอกศัตรูตัวเล็ก แต่ถ้าปล่อยให้ระบาด มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมัน ช่วงนี้มีข่าวระบาดหนักในหลายจังหวัดของภาคใต้ หนอนชนิดนี้คือ อะไร อันตรายอย่างไร และมีวิธีกำจัดอย่างไร ดูจากบทความนี้ พร้อมวิธีกำจัดจาก คุณกิตติชัย ก่ออ้อ ผู้เชี่ยวชาญเรื่องปาล์มน้ำมัน จ.กระบี่

หนอนปลอก
ชื่อสามัญ                 
The Case Caterpillar
ชื่อวิทยาศาสตร์          Cremastopsyche pendula Joannis 
ชื่อวงศ์                    Psychidge
ชื่ออันดับ                  Lepidoptera

👉ลักษณะการทำลาย 
หนอนปลอกเล็กจะแทะผิว ทำให้ใบแห้งเป็นสีน้ำตาล และกัดทะลุใบเป็นรูและขาดแหว่ง ถ้ารุนแรงจะเห็นทางใบทั้งต้นเป็นสีน้ำตาลแห้ง ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลง

👉รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ
 ไข่ สีครีม รูปทรงกลมอยู่เป็นกลุ่ม วางไข่ในซากดักแด้ของตัวเมียเอง และอยู่ภายในปลอกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ขนาดของไข่ 0.45 x 0.65 มม. อายุไข่นับตั้งแต่ ตัวเต็มวัยถูกผสมและวางไข่ อยู่ภายในรังดักแด้
👉หนอน หนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ ๆ มีลำตัวสีน้ำตาลไหม้ หัวสีดำ ขนาดความยาวประมาณ 0.8-1 มม. เวลาหนอนเคลื่อนไหวจะยกส่วนท้องขึ้นและแทะผิวใบผสมกับใยที่ออกมาจากปาก สร้างปลอกห่อหุ้มตัวเอง โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงปลอกมีสีน้ำตาล ผิวเรียบ ขนาดปลอกมีความยาวตั้งแต่ 1.1-1.2 มม.

👉ลักษณะปลอก มีรูเปิด 2 ทางเช่นเดียวกับหนอนปลอกใหญ่ส่วนหัวของตัวหนอนจะโผล่ออกมาทางช่องเปิดส่วนฐานปลอก ปลายปลอกเรียวแหลมมีรูเปิดไว้เพื่อให้หนอนขับถ่ายมูลออกมา หนอนวัยที่ 3 ส่วนหัวและลำตัวมีสีน้ำตาล หนอนจะสร้างปลอกหุ้มใหญ่ขึ้น และเริ่มนำเศษชิ้นส่วนของใบพืชแห้งชิ้นเล็กๆ ปะติดกับปลอกหุ้มด้วย ทำให้ผิวปลอกเริ่มขรุขระ 

หนอนวัย
1 - 4 กินอาหารแบบแทะผิวใบ หนอนวัยที่ 5 - 6 จะกัดกินทั้งใบ เมื่อหนอนเจริญเติบโตเต็มที่จะสร้างปลอกหุ้มตัวเองมีขนาดยาวตั้งแต่ 6.8 - 10.0 มม. ช่องเปิดฐานปลอกมักพบคราบกะโหลกขนาดต่าง ๆ ติดอยู่

👉การแพร่กระจายและฤดูการระบาด  การแพร่กระจายของหนอนปลอกอาศัยแรงลมพัดพาหนอนปลอกขนาดเล็กซึ่งชอบสาวใยปล่อยตัว ห้อยลงมาแกว่งไกวไปตามลม จากต้นหนึ่งไปสู่มะพร้าวต้นอื่นๆ หนอนปลอกจะระบาดในปีที่มีฤดูร้อนยาวนาน
👉การป้องกันกําจัด หากพบมีการระบาดให้ตัดใบปาล์มน้ำมันที่หนอนกินมาทําลายโดยการเผาทําลาย หรือใช้ไฟสุมเพื่อรมควัน หากพบมีการระบาดให้ตัดใบปาล์มาทําลายโดยการเผาทําลาย หรือใช้ไฟสุมเพื่อรมควันทําลายตัวหนอน หรือใช้กับดักแสงไฟล่อเพศผู้มาทําลายตัวหนอน หรือพ่นด้วยเชื้อแบคทีเรีย B.t  หรือสารเคมีไซเพอร์เมทิน (CypermethinCypermethin) หรือคาร์บาริล (carbarylcarbaryl) เพื่อฉีดพน อัตราส่วนตามคําแนะนําในฉลากเพื่อควบคุมหนอน ปลอกเล็กไม่ ให้ระบาดต่อไป
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
วิธีกำจัดหนอนปลอก โดย กิตติชัย ก่ออ้อ
 ━━━━━━━━━━━━━━━━━━
👉กำจัดหนอนปลอกด้วยวิธี วิธีฉีดพ่น 
หลายท่านที่สวนมีปัญหาเรื่องหนอนปลอกเล็กระบาดในสวนปาล์มน้ำมัน ผมจะนำประสบการณ์การใช้ยาฉีดพ่นในส่วนของปาล์มที่มีความสูงที่สามารถจะฉีดพ่นได้ ซึ่งหนอนปลอกจะทำรังอยู่ข้างในที่มีวัสดุห่อหุ้ม ถ้าจะให้มีประสิทธิภาพการใช้สารเคมีที่เป็นสารผสมสำเร็จรูปจะดีกว่า เช่น 

  • 1.ไทอะมีทอกแซม+แลมบ์ดาไซฮาโลทริน 14.1+10.6%ZC อัตรา 15 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • 2.คลอร์แรนทรานิลิโพรล+ไทอะมีทอกแซม 20+20%WG หรือ อัตรา 5 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • 3.ฟลูเบนไดเอไมด์+ไทอะโคลพริด 24+24%SC อัตรา 5 ccต่อน้ำ 20 ลิตร
  • 4.คลอร์ไพริฟอส+ไซเพอร์เมทริน 50+5%EC อัตรา 30 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร
  • 5.โพรฟีโนฟอส+ไซเพอร์เมทริน 40+4%EC อัตรา 30 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร

ทั้ง
5 ข้อนี้ จะเลือกใช้ตัวใดตัวหนึ่งก็ได้ ผมเลือกข้อ 1 และได้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มียี่ห้อทางการค้าว่า เอฟโฟเรีย (มีชื่อสามัญว่าไทอะมีทอกแซม+แลมบ์ดาไซฮาโลทริน 14.1+10.6%ZC) ใช้อัตรา 20 cc ต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมยาจับใบไปด้วยในอัตรา 10 cc ต่อน้ำ 20 ลิตรครับ
สาเหตุที่เลือกตัวนี้เพราะยานี้ออกฤทธิ์ทั้งสัมผัสกับดูดซึม และเนื่องจากเป็นยา 2 ตัวบวกกัน จึงเพิ่มประสิทธิภาพการกำจัดแมลงได้ดีขึ้นครับ เมื่อเราพ่นถูกตัวแมลงจะตายหลังพ่นไม่เกิน 24 ชั่วโมง ส่วนที่มากินภายหลังจะตายภายใน 3 วัน 

การพ่นสารต้องหา hot spot คือจุดระบาด แล้วพ่นออกเป็นแนววงกว้างออกไปเป็นรัศมีโดยรอบ ให้เกินจากต้นสุดท้ายที่ระบาดไปอีกประมาณ 10-20 เมตร จากการปฏิบัติเมื่อพ่นไปแล้ว 1 วัน ปรากฏว่าหนอนตายดีมากครับ

หลักการเลือกซื้อยาเมื่อชื่อสามัญเหมือนกัน คือ เทียบราคาว่าเจ้าไหนถูกกว่ากัน สำคัญคือตัวสารเคมีครับ
ที่สำคัญคือผู้ปฏิบัติงานต้องสวมชุดป้องกันสารเคมีอย่างมิดชิดเพื่อความปลอดภัย
 

👉กำจัดหนอนปลอกด้วยวิธีเจาะเข้าต้น สำหรับปาล์มที่ฉีดพ่นไม่ถึง
สำหรับสวนปาล์มน้ำมันที่ฉีดพ่นไม่ถึงจะใช้วิธีการเจาะอัดยาเข้าโคนต้นปาล์ม โดยการเจาะต้นแล้วใส่ยาที่มีชื่อสามัญว่า อีมาเมกตินเบนโซเอต 1.92%EC อัตรา 30-50 ccต่อต้น และ อัตรายาที่ใช้ก็ขึ้นกับขนาดความสูงของต้น ยานี้สามารถอยู่ได้นานมากกว่า 3 เดือน แต่ก็ยอมรับความเสี่ยงปาล์มเกิดแผล แต่จากที่เคยใช้วิธีนี้เมื่อหลายปีก่อน พบว่า ไม่กระทบอะไรต่อต้นปาล์มเลย ระยะเวลาหลังเจาะใส่ยาแล้วไม่เกิน 10 วัน หนอนจะตายหมด ในการปฏิบัติครั้งนี้ผมใช้ยายี่ห้อโคลเลอร์ อัตรา 50 cc ต่อต้นโดยใช้วิธีการดังนี้

  • 1.ทำการเจาะต้นปาล์มสูงจากพื้นดินประมาณ 1 เมตร ความลึกและขนาดรูเจาะขึ้นกับอุปกรณ์ที่ใช้ โดยครั้งนี้เจาะต้นละ 1 รู เพื่อใส่ยาให้ได้ 50 cc ต่อต้น
  • 2.ดูดยาใส่ให้ได้ 50 cc ต่อต้น แล้วอุดรูด้วยดินเหนียวเพื่อไม่ให้ยาไหลย้อนกลับออกมาได้
การเจาะอัดยาใส่โคนต้นนั้น หลักการเลือกต้นที่จะเจาะ คือ ต้องหา hot spot คือจุดระบาด แล้วเจาะต้นออกเป็นแนววงกว้างออกไปเป็นรัศมีโดยรอบ ให้เกินจากต้นสุดท้ายที่ระบาดไปอีกประมาณ 10-20 เมตรเป็นอย่างน้อย

หลักการเลือกซื้อยาเมื่อชื่อสามัญเหมือนกัน คือ เทียบราคาว่าเจ้าไหนราคาถูก สำคัญคือตัวสารเคมี
━━━━━━━━━━━━
ข้อมูล
ข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก กิตติชัย ก่ออ้อ
>>>https://web.facebook.com/groups/167383329952673/permalink/2170474239643562/
>>>https://web.facebook.com/groups/167383329952673/permalink/2170467729644213/


ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม