จุนฮุย แซ่เล้า พิสูจน์ ปุ๋ยซีพีไอ พลัส ได้ผลผลิต 5 ตัน/ไร่/ปี ในสวนปาล์มน้ำมันชุมพรอุตสาหกรรมฯ (Advertorial)
Labels:
ปาล์มน้ำมัน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “ปุ๋ย” สำคัญกับการทำสวนปาล์มน้ำมัน เพราะเมื่ออ้างอิงจากวิชาการแล้ว
“น้ำมัน” หรือ “ไขมัน”
เป็นสารที่พืชต้องใช้พลังงานในการสร้างสูงกว่าสารจำพวก น้ำตาล และโปรตีน
ซึ่งธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินนั้นไม่เพียงพอสำหรับการผลิตปาล์มน้ำมันให้ได้ผลผลิตสูง
สอดคล้องกับความจริงที่ว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ผลิต “น้ำมัน” ได้ปริมาณสูงกว่าพืชนิดอื่น จึงต้องการปุ๋ยมากเป็นพิเศษนั่นเอง
สอดคล้องกับความจริงที่ว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่ผลิต “น้ำมัน” ได้ปริมาณสูงกว่าพืชนิดอื่น จึงต้องการปุ๋ยมากเป็นพิเศษนั่นเอง
เมื่อได้ผลสรุปแล้วว่าปาล์มน้ำมันต้องการปุ๋ยในปริมาณมากเพื่อใช้ในการเจริญเติบโตและออกผลผลิต
ก็ยังมีคำถามต่อไปอีกว่าเกษตรกรควรจะ ใช้ แม่ปุ๋ย หรือ ปุ๋ยสูตร ดีกว่ากัน
“สวนปาล์มของ บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมฯ
ใช้มาทั้งปุ๋ยสูตรและแม่ปุ๋ย ทั้ง 2 แบบมีข้อดีแตกต่างกันไป เช่น
แม่ปุ๋ยดีตรงที่เราสามารถเลือกใส่ได้ตามค่าการวิเคราะห์ใบ
แต่ข้อเสียคือต้องแยกใส่ทีละตัวถือว่าใช้เวลามากพอสมควร และสิ่งสำคัญคือธาตุอาหารเสริมบางตัวเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถหาซื้อได้เอง
ตรงนี้เป็นจุดเล็กๆ ที่สำคัญ
เป็นสิ่งที่เราได้ประสบพบเจอจากการที่เราได้พูดคุยกับเกษตรกร
“ส่วนการใส่ปุ๋ยสูตร
ในที่นี้เราจะพูดถึงปุ๋ย ซีพีไอ พลัส นะครับ ปุ๋ยตัวนี้จุดเด่น คือ มีการรวมเอาธาตุอาหารที่ต้นปาล์มต้องการ
9 ชนิดมารวมกัน ซึ่งไม่ง่ายเลยที่จะมีการผลิตปุ๋ยสูตรนี้ออกมา มันเกิดจากกระบวนการคิดจากปัญหาที่เกิดขึ้นกับเกษตรกรจริงๆ ผ่านการวิจัยจากความต้องการของต้นปาล์มน้ำมันจริงๆ
และทดสอบในสวนปาล์มของชุมพรอุตสาหกรรมฯ เอง
“และอย่างที่กล่าวในข้างต้นว่าธาตุอาหารบางตัวเกษตรกรรายย่อยไม่สามารถหาซื้อเองได้
ซีพีไอ พลัส จึงนำมารวมกันไว้ในถุงเดียวกัน ให้เกษตรกรใช้ได้ทันที ใช้ง่ายขึ้น
สะดวกขึ้น ใช้เวลาในการใส่ปุ๋ยน้อยลง
ลดค่าใช้จ่ายเรื่องแรงงานลงไปได้มาก...นี่คือสิ่งที่ทาง ซีพีไอ อะโกรเทค
ได้มองเห็นจริงๆ” คุณเล้าอธิบายเรื่องจุดเด่น/จุดด้อยของปุ๋ยทั้ง
2 แบบ
การดูแล-บริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันของ
บมจ.ชุมพรอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมัน โดย คุณจุนฮุย ใช้ประสบการณ์การทำสวนปาล์มในมาเลเซียมาใช้อย่างเต็มรูปแบบในระยะแรกและค่อยๆ
ปรับให้เข้ากับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของเมืองไทยขึ้นเรื่อยๆ
คุณจุนฮุย บอกว่า การนำวิชาการมาใช้ในสวนปาล์มเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็น เพราะช่วงแรกพื้นที่แถบนี้ค่อนข้างแห้งแล้ง
แทบไม่มีต้นไม้ ที่ดินทำไร่เลื่อนลอยมาก่อนส่งผลให้หน้าดินมีปัญหา
ดังนั้นการแก้ไขอันดับแรกก็คือการปรับปรุงดินด้วยการปลูก ถั่วคลุมหน้าดิน
จนเต็มพื้นที่
ถัดมาคือเรื่อง การเก็บเกี่ยวปาล์มที่ไม่สุกหรือดิบเกินไป
ปาล์มดิบยังมีแป้งในผลปริมาณมาก แต่มีน้ำมันน้อย
ทำให้หีบน้ำมันได้น้อยลงและมีผลต่อการประเมินราคาปาล์มน้ำมันแน่นอน
ที่สำคัญที่สุด คือ การใส่ปุ๋ย แรกๆ ที่นี่ใช้ปุ๋ยสูตร
แต่พอปาล์มโตขึ้นและให้ผลิตก็เริ่มหันมาใช้แม่ปุ๋ยและใช้วิธีใส่ปุ๋ยตามผลการตรวจวิเคราะห์ค่าใบ
และตามปริมาณผลผลิต ซึ่งเป็นงานวิจัยที่ บมจ.ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม วิจัยร่วมกับ
ศูนย์เทคโนโลยีชีวภาพเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ที่สำคัญต้องใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อเนื่อง แม้แต่ช่วงอายุที่ปาล์มยังเล็กยังไม่ให้ผลผลิตก็ต้องใส่ปุ๋ยตามที่เรากำหนดไว้ให้เพื่อให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตต่อเนื่องเตรียมพร้อมสำหรับการออกทะลายต่อไป
ที่สำคัญต้องใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อเนื่อง แม้แต่ช่วงอายุที่ปาล์มยังเล็กยังไม่ให้ผลผลิตก็ต้องใส่ปุ๋ยตามที่เรากำหนดไว้ให้เพื่อให้ต้นปาล์มเจริญเติบโตต่อเนื่องเตรียมพร้อมสำหรับการออกทะลายต่อไป
รวมทั้งผ่านการทดลองใช้งานจริงในสวนปาล์มน้ำมันของ บมก.ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม เป็นเวลามากกว่า 30 ปี
ด้วยการบริหารจัดการทั้งหมดนี้ทำให้ค่าเฉลี่ยผลผลิตเพิ่มขึ้นจาก 2
ตันกว่า/ไร่/ปี มาเป็น 4-5 ตัน/ไร่/ปี โดยเฉพาะปี 2551 ได้ค่าเฉลี่ย 5 ตัน/ไร่/ปี
ในกว่าหมื่นไร่ แสดงให้เห็นว่าเทคนิคที่ใช้มาถูกต้องแล้ว
“ตอนอยู่ที่มาเลเซียผมก็ทำงานด้านปาล์มน้ำมัน
ทำทั้งสวน ทั้งแปลงเพาะ กับบริษัทขนาดใหญ่ พอมาอยู่เมืองไทยผมก็มาทำปาล์มน้ำมันอีก
ถือว่าบริษัทชุมพรอุตสาหกรรมฯ เป็นรายใหญ่รายแรกๆ ที่มาทำสวนปาล์มที่นี่
ปัจจุบันปาล์มที่ปลูกรุ่นแรกของเราโค่นไปแล้ว ชุดใหม่นี้อายุประมาณ 10 ปี
“หลังจากที่บริษัทประสบความสำเร็จในการทำสวนปาล์ม
ก็สนับสนุนให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงปลูกปาล์มน้ำมันมาตลอดและถ่ายทอดความรู้แบบที่เราทำจริงๆ
ให้กับเขา ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อก่อนเกษตรกรจะปลูกแบบเลื่อนลอย แรกๆ เขาก็ไม่ยอมปลูก
แต่พอเห็นว่าผลตอบแทนดีก็หันมาปลูกปาล์มกันมากขึ้นจนตอนนี้พื้นที่ปลูกเพิ่มขึ้นตลอดเวลา” คุณจุนฮุย
เล่าประสบการณ์คร่าวๆ ในเส้นทางสายปาล์มน้ำมันของเขา
ยิ่งเป็นตอนที่ใช้แม่ปุ๋ยที่ต้องแยกกันใส่ถือว่าใช้เวลากับการใส่ปุ๋ยไปมากพอสมควร แม้ว่าจะได้ผลดีได้ปาล์มผลผลิตสูงแต่ก็มีค่าใช้จ่ายเรื่องการจ้างแรงงานเพิ่มเข้ามาอีก
แต่หลังจากที่ใช้ปุ๋ยสูตร ซีพีไอ พลัส ทำให้ใช้เวลาและแรงงานในการจัดการสวนน้อยลง เหมาะกับวิถีเกษตรปัจจุบันที่ต้องการความสะดวกรวดเร็วและแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานสวนปาล์มได้ไม่น้อยทีเดียว
- N ไนโตรเจน : สร้างใบให้เขียว กระตุ้นการเจริญเติบโต
- P ฟอสฟอรัส : ช่วยพัฒนาการรากและต้น เร่งดอก
- K โพแทสเซียม : ช่วยการเจริญเติบโต มีส่วนในกลไกการเปิด-ปิดปากใบ
- Ca แคลเซียม : ทำงานร่วมกับโบรอน ช่วยให้เซลล์แข็งแรง ช่วยการผสมเกสร
- Mg แมกนีเซียม : เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ช่วยสร้างแป้ง โปรตีน และไขมัน
- S กำมะถัน : ช่วยสร้างคลอโรฟิลล์ กรดอะมิโน และโปรตีน
- B โบรอน : ช่วยการติดผล ขยายขนาดผล
- Zn สังกะสี : ช่วยการสังเคราะห์คาร์โบไฮเดรดและโปรตีน ช่วยสร้างฮอร์โมนออกซิน ซึ่งควบคุมการเจริญเติบโต
สูตร 1 23-6-15+TE (เร่งโต)
เหมาะสำหรับต้นปาล์มที่เน้นการดูแลเป็นพิเศษตั้งแต่เริ่มปลูก
เป็นสูตรที่จำเป็นในการสร้างลำต้นและระบบลำเลียงท่อน้ำ ท่ออาหาร ให้แข็งแรง
ตรงความต้องการของต้นปาล์ม
ข้อแนะนำในการใช้
- ใส่ครั้งแรก หลังปลูก 1 เดือน จำนวน 300 กรัม/ต้น
- จากนั้นใส่ 2-3 กิโลกรัม/ต้น/ปี (แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ต้น/ปี)
เหมาะสำหรับการเพิ่มผลผลิต เพื่อให้ได้ทะลายดก ได้น้ำหนักดี
และเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง
สูตรปุ๋ยได้ออกแบบในสัดส่วนที่พอเหมาะและสอดคล้องกับความต้องการในการสร้างทะลายปาล์ม
ข้อแนะนำในการใช้ : 7-8 กิโลกรัม/ต้น/ปี
ที่ระดับผลผิต 3.5 ตัน/ไร่/ปี (แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ต้น/ปี)
สูตร 3 12-5-20+TE (บำรุงต้น)
บำรุงต้นปาล์มขั้นพื้นฐานเพื่อการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสม่ำเสมอ
ข้อแนะนำในการใช้ :
- ปาล์มเล็ก 2-3 กิโลกรัม/ต้น/ปี (แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ต้น/ปี)
- ปาล์มใหญ่ 5-8 กิโลกรัม/ต้น/ปี (แบ่งใส่ 2-3 ครั้ง/ต้น/ปี)
ในช่วงท้าย บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด ได้แนะวิธีบำรุงดูแลสวนปาล์มน้ำมันทั้งปาล์มเล็ก-ปาล์มใหญ่เป็นแนวทางคร่าวๆ
สำหรับเกษตรกร ซึ่งเป็นเทคนิคเดียวกับที่ บมจ.ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม
ใช้อยู่ในปัจจุบัน มีดังนี้
- กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นให้สะอาดอยู่เสมอ
- สำรวจโรค และแมลงศัตรูปาล์มอย่างสม่ำเสมอ
- ตรวจค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ถ้าดินเป็นกรด (ค่าต่ำกว่า 5.5) ให้ใส่ปูนโดโลไมท์ 1 กก./ต้น/ปี โดยใส่ภายในทรงพุ่มช่วงฤดูแล้ง
- หว่านปุ๋ยภายในบริเวณทรงพุ่มช่วงที่ดินมีความชื้น หลังจากการกำจัดวัชพืช
- กำจัดวัชพืชรอบโคนต้นให้สะอาดเพื่อความสะดวกในการเก็บลูกร่วง
- สำรวจโรค และแมลงศัตรูปาล์มอย่างสม่ำเสมอ
- นำทางใบที่ตัดแต่งลงมาจากต้นมากองภายในสวนให้ง่ายต่อการจัดการ
- ตรวจค่าความเป็นกรด-ด่างของดิน (pH) ถ้าดินเป็นกรด (ค่าต่ำกว่า 5.5) ให้ใส่ปูนโดโลไมท์ 2-3 กก./ต้น/ปี โดยใส่บนกองทางใบช่วงฤดูแล้ง
- หว่านปุ๋ยบริเวณบนกองทางใบที่กองไว้ภายในแปลงในขณะที่ดินมีความชื้น
ทั้งยังช่วยลดการชะล้างหน้าดิน ลดการถูกชะล้างของปุ๋ย เมื่อใส่ปุ๋ยจึงแนะนำให้ใส่ปุ๋ยในกองทางเพราะตรงนั้นมีทั้งความชื้น มีสภาพ pH เหมาะสมที่จุลินทรีย์จะย่อยสารอาหารจากปุ๋ยให้ต้นปาล์มนำไปใช้
ส่งผลให้สภาพดินดีขึ้น เมื่อดินดีขึ้นก็ได้ผลผลิตสูงขึ้น เพียงแค่วางกองทางในสวนปาล์มเกษตรกรก็ได้ประโยชน์เพิ่มอีกหลายต่อโดยแทบจะไม่ต้องใช้ต้นทุนใดๆ เพิ่มเลยนั่นเอง
ขอขอบคุณ
คุณจุนฮุย แซ่เล้า
บริษัท ซีพีไอ อะโกรเทค จำกัด
16 หมู่ 16 ต.ท่าแซะ อ.ท่าแซะ จ.ชุมพร 86140
โทรศัพท์ : 077-975-522 และ 098-016-6775
Facebook : @CPIHYBRID
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น