ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

รับเบอร์ซิตี้ เนื้อหอม นักลงทุนมาเลเซีย ไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น จองพื้นที่ 500 ไร่

นิคมอุตสาหกรรมยางพารา จ.สงขลา (Rubber City)  กำลังเนื้อหอม หลังจากมีมีนักลงทุน มาเลเซีย ไต้หวัน จีน เข้ามาจองพื้นที่กว่า 500 ไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 1,248 ไร่ เพื่อเป็นฐานอุตสาหกรรมแปรรูปยางพารา โดย กนอ.คาดว่า รับเบอร์ซิตี้จะมีการใช้ยางพาราจากเกษตรกรเป็นวัตถุดิบมูลค่า 450 ล้านบาท/ปี สร้างมูลค่าเพิ่มได้ 10 เท่า

นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ กนอ. เปิดเผยว่า ปัจจุบัน กนอ.ได้เร่งดำเนินการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยางพารา หรือรับเบอร์ชิตี้ ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคใต้ จังหวัดสงขลา บนพื้นที่รวม 1,248 ไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมคลัสเตอร์ยางพาราและอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง

ขณะนี้การพัฒนาพื้นที่ใกล้เสร็จสมบูรณ์100% แล้ว พร้อมรองรับนักลงทุนที่สนใจทั้งในและต่างประเทศเข้าใช้พื้นที่เพื่อประกอบการได้ทันที
- Advertisement -

 
นางสาวสมจิณณ์ พิลึก ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
ทั้งนี้ ภายหลังจากที่การพัฒนาพื้นที่นิคมฯยางพารามีความชัดเจน ทั้งทางด้านระบบสาธารณูปโภคและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ส่งผลให้มีกลุ่มนักลงทุนจากประเทศมาเลเซีย ไต้หวัน จีน และญี่ปุ่น ตัดสินใจจะใช้พื้นที่ดังกล่าวเพื่อการลงทุน โดยล่าสุดได้แจ้งความประสงค์จองพื้นที่เพื่อประกอบกิจการแล้ว ประมาณ 500 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ไม้และกลุ่มอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้า อุตสาหกรรมการแพทย์และอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่อง

ขณะเดียวกัน ยังมีพื้นที่ที่ผู้ประกอบการให้ความสนใจอยู่ระหว่างการตัดสินใจเข้ามาลงทุนอีก จำนวน 179 ไร่ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพระบบโลจิสติกส์แบบครบวงจร ที่สามารถเชื่อมโยงกับตลาดต่างๆ ไปยังประเทศอื่นๆ ทั่วโลก
นอกจากนี้ พื้นที่ดังกล่าวยังมีความได้เปรียบทางด้านแรงงานและวัตถุดิบยางพารา โดย กนอ.คาดว่าหากมีการใช้พื้นที่เต็มโครงการทั้งหมด จะมีความต้องการใช้ยางพาราเพิ่มขึ้น ประมาณ 9,000 ตันต่อปี ที่มีสัดส่วนเป็นน้ำยางข้นประมาณร้อยละ 60 หรือ 5,400 ตันต่อปี และยางแผ่นรมควันประมาณร้อยละ 40 หรือ 3,600 ตันต่อปี ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้แก่กลุ่มเกษตรกรชาวสวนยางประมาณ 450 ล้านบาทต่อปี และเมื่อนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางพาราแล้วจะสามารถเพิ่มมูลค่าได้ถึง 10 เท่า หรือคิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 4,500 ล้านบาท

ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์
- Advertisement -


ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม