ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

อดีตวิศวกร ปลูกปาล์ม คอมแพ็ค กาน่า บนที่ลุ่มน้ำปากพนัง ตั้งเป้าผลผลิต 5 ตัน/ไร่/ปี

ไม่ว่าจะทำ “งาน” อะไรก็แล้วแต่ จำเป็นต้อง “วางแผน”
การปลูกปาล์มน้ำมัน ก็ไม่มีข้อยกเว้น โดยเฉพาะคนที่เคยทำงานด้านวิศวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในอาชีพ “จอมวางแผน” เมื่อหันมาปลูกปาล์มจะวางแผนอย่างไร

เกียรติศักดิ์ บุญฤทธิ์ เรียนจบและทำงานด้านวิศวกรรมมากว่า 23 ปีในต่างประเทศ เมื่อเขากลับมาเมืองไทย ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจตัวหนึ่งที่เขาเลือกปลูก ในพื้นที่ “ลุ่มน้ำปากพนัง” อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งเป็นพื้นที่น้ำท่วมขัง พื้นที่ “โหด” และ “หิน” อย่างนี้ปราบเซียนมามากแล้ว

อยากรู้มั้ยว่าเมื่อวิศวกรปลูกปาล์ม เขามีวิธีวางแผนอย่างไร...อยากรู้ต้องอ่าน... 
เกียรติศักดิ์ บุญฤทธิ์ อดีตวิศวกร ปัจจุบันหันมาทำสวนปาล์ม 1,800 ไร่ 
━━━━━━━━━━━━━━
ปาล์มน้ำมันเป็นพืชอายุยืน เก็บเกี่ยวผลผลิตได้นาน
━━━━━━━━━━━━━━
จะว่ากันตามจริงแล้วพื้นที่ภาคใต้ปลูกพืชเศรษฐกิจได้ไม่กี่ตัว โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่มรับน้ำขนาดใหญ่ของภาคใต้ มีน้ำท่วมขังทุกปี พืชที่นิยมปลูกคือ “ข้าว” แต่อย่างที่ทราบว่าทำนาไม่ “จน” ก็ “เจ๊ง”  

หากแต่เมื่อคำนวณพืชตัวอื่น “ปาล์มน้ำมัน” เหมาะที่สุด เพราะลงทุนปลูกครั้งเดียวเก็บผลประโยชน์ได้ภายใน 3 ปี และมีอายุเก็บเกี่ยวนาน 20-30 ปี แต่ปัญหาคือ คือ ทำอย่างไรจะจัดการกับพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขัง และสร้างถนนในสวนเพื่อให้ขนย้ายผลผลิตสะดวก เพราะปาล์มมีน้ำหนักมาก คนอื่นอาจจะมองว่าไม่สำคัญ แต่สำหรับเขาถนนคือ โครงสร้างพื้นฐานของสวนปาล์ม

ก่อนที่เราจะมาทำปาล์มเราก็มองว่า ถ้าลงทุนไปจะคืนทุนในระยะกี่ปี และเมื่อเปรียบเทียบกับพืชตัวอื่น ปาล์มน้ำมันเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด


อดีตวิศวกรเล่าว่า อย่างแรกที่เขาทำคือ ใช้หลัก Output นำ คือผลประโยชน์ที่จะได้รับเป็นตัวตั้ง ซึ่งก็คือ “รายได้”

เมื่อเลือกปาล์มน้ำมันก็ต้องดูว่า ต้องการผลผลิตเท่าไหร่ ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยตั้งเป้าอยู่บนพื้นฐานของความเป็นไปได้ เขาวางเป้าหมายผลผลิตที่ต้องการระดับกลางๆ คือ 5 ตัน/ไร่/ปี ส่วนรายได้หรือราคา ยอมรับว่าเป็นเรื่องเหนือการควบคุม จึงต้องให้ได้ผลผลิตตามเป้าหรือเกินเป้ามากที่สุด 
ปาล์มน้ำมันพันธุ์คอมแพ็คกาน่า
━━━━━━━━━━━━
สายพันธุ์สำคัญ...! ต้องมาจากแปลงเพาะที่มาตรฐาน
━━━━━━━━━━━━
 เรื่องที่ทำควบคู่กับการสำรวจสภาพพื้นที่คือ เลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ ซึ่งมีตัวเลือกค่อนข้างหลากหลาย เขาจึงเลือกปลูก 6-7 สายพันธุ์

แต่เมื่อถามว่าเขาชอบพันธุ์ไหนมากที่สุด เขาตอบจากประสบการณ์ปลูกว่า “คอมแพ็ค กาน่า”

ทรงต้นสวย ทะลายดก ผมชอบพันธุ์นี้ ถ้าเปรียบเป็นนางงาม คอมแพ็ค กาน่า เป็นนางงามได้

แต่เอาเข้าจริงเรื่องที่เขาให้ความสำคัญพอๆ กับสายพันธุ์ปาล์มคือ แปลงเพาะกล้าปาล์มน้ำมัน เขาย้ำว่าต้องได้มาตรฐาน เพราะจากการสำรวจพื้นที่ปลูกปาล์มของเกษตรกรในโซนนี้ ส่วนใหญ่จะมีปาล์มที่ให้ผลผลิตทุกต้นไม่มาก อย่างมากก็ 50-60% ที่เหลือ    เป็นต้นปาล์มไม่ให้ผลผลิต หรือให้ผลผลิตแต่ไม่สม่ำเสมอ เขามองว่าเรื่องนี้แปลงเพาะมีส่วนสำคัญ แปลงเพาะที่ดีต้องมีการคัดเลือกต้นปาล์มผิดปกติ หรือไม่สมบูรณ์ก่อนจำหน่ายแก่เกษตรกร
แปลงเพาะกล้า บริษัท อาร์ดี เกษตร อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช แปลงเพาะกล้าปาล์มมาตรฐานสูง
แปลงเพาะที่เขาเลือกคือ บริษัท อาร์ดีเกษตรพัฒนา สาขา บ่อล้อ อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช เป็นแปลงที่มีกระบวนการผลิตได้มาตรฐานกรมวิชาการเกษตร มีกระบวนการคัดต้นกล้าผิดปกติทิ้ง 20-25% และเขายังมีส่วนร่วมในการคัดกล้าปาล์ม โดยไม่ได้ดูเรื่องราคาเป็นหลัก

แพงไม่ว่าขอให้มีมาตรฐาน จะเห็นได้ว่าสวนปาล์มของผมมีต้นที่ผิดปกติน้อยมาก จนแทบไม่มีเลย หรือหลุดรอดมาจะขุดทิ้งปลูกใหม่ทันที เพราะผมมองว่าการจะได้ผลผลิตตามเป้าปาล์มต้องให้ผลผลิตทุกต้น สม่ำเสมอทุกต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่เกษตรกรยังมองข้าม จะเลือกพันธุ์ปาล์มที่ราคาถูกเป็นหลัก ของผมไม่ต่อสักบาท แต่ขอเข้าไปมีส่วนร่วมในการคัดกล้าตอนนำมาปลูกด้วย

━━━━━━━━━━━━
Process หรือการจัดการ เป็นตัวกำหนด รายได้
━━━━━━━━━━━━
 เมื่อได้เป้าหมายที่ต้องการ การจัดการจะเป็นตัวกำหนดผลผลิตหรือรายได้  การจัดการหลักๆ ของการปลูกปาล์ม นอกเหนือจากสภาพพื้นที่เหมาะสมแล้ว คือ การจัดการเรื่องธาตุอาหาร

ที่ผ่านมาเขาทดลองวิธีใส่ปุ๋ยมาหลายวิธี จนเหลือ 2 ทางสุดท้ายที่นำมาลงมือทำ คือ ใส่ปุ๋ยตามผลผลิต โดยดูจากผลผลิตที่ได้และตัดออกจากสวนจำนวนเท่าไหร่ แล้วคำนวณเป็นปริมาณปุ๋ยที่จะใส่ต่อปี

วิธีนี้แม้จะมีประโยชน์ คือปาล์มได้รับธาตุอาหารดี แต่ “จุดบอด” คือ ต้นทุนปุ๋ยค่อนข้างสูง และไม่รู้เลยว่าเพียงพอ หรือมากเกินความต้องการของปาล์ม

วิธีที่เขาได้รับคำแนะนำจากหลายๆ แหล่ง คือ ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยนำตัวอย่างดินไปตรวจหาธาตุอาหาร และวิเคราะห์ออกมาเป็นปริมาณปุ๋ยที่ปาล์มต้องการ ควบคู่กับการใส่ปุ๋ยตามผลผลิต ปรากฏว่าต้นทุนปุ๋ยลดลง
เรากลัวว่าผลผลิตจะไม่ได้ตามเป้าหมายที่ต้องการ เลยมาทดลอง 2 สองแปลงในพื้นที่ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน  พอสุดท้ายมาเปลี่ยนเทียบการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ต้นทุนลดลงเยอะมาก ผมคิดว่าถ้าต้นทุนต่ำ แต่ผลผลิตต่ำ มันก็ไม่คุ้ม ต้นทุนสูง แต่ผลผลิตต่ำ ก็ไม่คุ้มอีก เราจึงต้องดูว่ารูปแบบไหนต้นทุนกับผลผลิตไปด้วยกันได้ เพราะบางทีเราลงทุนเยอะได้ผลผลิตเยอะ มันก็คุ้ม 

ปริมาณธาตุอาหารที่ใส่สำหรับเป้าหมายปาล์ม 5 ตัน/ไร่/ปี มีดังนี้ ไนโตรเจน 46-0-0 ประมาณ 3.5 กก. ฟอสฟอรัส 1.5 กก. โปแตสเซียม 4.5 กก. แมกนีเซียม 2.5 กก. โบรอน 200 ก. รวมธาตุอาหารทั้งหมด 12.2 กก. โดยจะเลือกใส่ปีละครั้ง 
พื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังเป็นพื้นที่รับน้ำใหญ่ของภาคใต้ สวนปาล์มในบริเวณนี้จะถูกน้ำท่วมอย่างน้อย 2-3 เดือน
พื้นที่สวนปาล์มต้องทำร่องน้ำ ป้องกันน้ำท่วม
ทำไมต้องใส่ปุ๋ยปีละครั้ง...?
เกียรติศักดิ์ ไขข้อข้องใจว่า เหตุที่เลือกใส่ปุ๋ยครั้งเดียวมาจาก “จุดอ่อน” ของสภาพพื้นที่เป็นที่ลุ่มน้ำท่วมขัง โดยน้ำจะท่วมทุกปีอย่างน้อย 2 เดือน ช่วงเดือนธันวาคม – มกราคม ถ้าใส่ปุ๋ยไม่สัมพันธ์กับสภาพอากาศมีโอกาสที่จะสูญเสียปุ๋ยไปกับน้ำสูง

เขาเลยเลือกใส่ปุ๋ยช่วงต้นฝนเพียงครั้งเดียวในช่วงเดือนมิถุนายน ซึ่งเขาบอกว่าเหมาะสมที่สุด

แต่ความยากคือใส่อย่างไรให้ธาตุสูญเสียไปกับน้ำน้อยที่สุด โดยเฉพาะไนโตรเจนและโบรอน ส่วนฟอสฟอรัส โปรแตสเซียม และแมกนีเซียม สามารถสะสมในดินได้

ผมต้องดูพยากรณ์อากาศว่าฝนจะตกช่วงวัน แล้วเลือกใส่ปุ๋ยให้ตรงกับช่วงฝนตก จึงใส่ครั้งเดียวเลย ต้นปาล์มจะได้ธาตุอาหารเต็มที่ ส่วนเกินที่ปาล์มกินไม่ได้ ก็จะสะสมอยู่ในดิน นอกจากนั้นจะมีการใส่ไนโตรเจนและโบรอนช่วงปลายฝนเพิ่มอีกทาง

ถามว่าเมื่อในสวนมีร่องน้ำเป็นประโยชน์ต่อการใส่ปุ๋ยหรือไม่ เขาบอกตามตรงว่า พื้นที่ร่องน้ำใช้ประโยชน์ได้แค่แก้ไขปัญหาน้ำท่วมสวนเท่านั้น  หากใช้น้ำจากร่องสวนรดน้ำต้นปาล์มเวลาใส่ปุ๋ย ต้นทุนสูงมาก เพราะพื้นที่แปลงใหญ่ขนาด 1,800 ไร่ ต้นทุนบานแน่นอน

ที่ต้องทำแบบนี้เพราะช่วงปลายฝนเป็นต้นไปน้ำจะท่วมพื้นที่ส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มรับน้ำ การใส่ปุ๋ยทีเดียวในช่วงต้นฝน อย่างน้อยต้นปาล์มได้ธาตุอาหารครบ และส่วนหนึ่งจะยังสะสมอยู่ในดินได้
━━━━━━━━━━━━━━
ควบคุมราคาไม่ได้ แต่ควบคุมผลผลิตได้
━━━━━━━━━━━━━━
อดีตวิศวกร บอกว่า กลไกเรื่องราคาเกษตรกรควบคุมไม่ได้ เพราะฉะนั้นทำอย่างไรให้ผลผลิตออกมามากที่สุดเป็นตัวหลักก่อน แต่ถ้าไม่มีการวางแผนด้านการผลิตที่ดี ถ้าราคาสูงขึ้น แต่ไม่มีผลผลิตจะเอาปาล์มที่ไหนไปขาย จึงต้องเน้นทำให้ผลผลิตสูงต่อเนื่องทั้งปีก่อน

เราทำในส่วนที่เราควบคุมได้ ไม่รอในสิ่งที่เราควบคุมไม่ได้ ก็คือ เราต้องทำผลผลิตให้สูงที่สุดไว้ก่อน ต้นทุนต่ำที่สุด แต่ต่ำในสิ่งที่เป็นไปได้

ขอขอบคุณ
>>>เกียรติศักดิ์ บุญฤทธิ์
อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช


ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม