วีรยุทธ
บุตรมาตา ครูสอนวิชาช่าง จาก วิทยาลัยการอาชีพ อ.อ่าวลึก
จ.กระบี่ เชื่อว่า ปุ๋ยปาล์มน้ำมันไม่มี “ไซส์สำเร็จ” S M L เหมือนเสื้อผ้า แต่ถ้าจะสวมเสื้อสักตัวให้สวนปาล์มต้อง
“สั่งตัด” ให้โดยเฉพาะ
วิธีที่เขาใช้เพียงแค่นำดินไปตรวจหา “ธาตุอาหาร”
แล้ววิเคราะห์ว่ามีเพียงพอหรือมากเกินความต้องการของปาล์มน้ำมันหรือไม่
จนได้ปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมกับสวนปาล์ม แน่นอนว่าแต่ละสวนมีธาตุอาหารหรือไซส์เสื้อแตกต่างกัน เขาเรียกปุ๋ยแบบนี้ว่า
“ปุ๋ยสั่งตัด”
ประโยชน์ของการตรวจวิเคราะห์ดิน และปุ๋ยสั่งตัด
จะเป็น “ผู้ช่วย” ของเกษตรกรวิเคราะห์คุณภาพของดิน และใส่ธาตุอาหารให้ตรงกับความต้องการจริงๆ
ของปาล์มน้ำมัน
ปีนี้ผมปรับสูตรปุ๋ย เป็น 19-24-17 โดยลดธาตุโปแตสเซียมลง แล้วเพิ่มฟอสฟอรัส เพราะจากการตรวจดินครั้งล่าสุด พบว่ามีมากเกินไป ซึ่งอาจจะมาจากปุ๋ยสูตรเดิม 12-4-40 ที่เน้นตัวท้ายมากเกินไป แต่ตัวกลางมีน้อย
ด้วยความที่เป็นครูช่าง
เขาจึงรู้ว่าการทำสวนปาล์มยุคปัจจุบัน จำเป็นต้องอาศัย “ความแม่นยำ” มากขึ้น
จะทำตามความรู้สึก หรือประสบการณ์อย่างเดียวไม่ได้ เพราะปาล์มน้ำมันเป็นพืชอายุยืนมีรอบการเจริญเติบโตค่อนข้างช้า
หากเดินผิดทางแล้วจะเสียหายและแก้ไขยาก
อันที่จริงแล้ว ครูวีรยุทธ ก็ไม่ใช่เป็นเซียนปาล์มน้ำมันมาจากไหน
แต่อาศัยเรียนรู้ ลงมือทำ และอาศัย “วินัย” ในการดูแลสวนปาล์มอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อก่อนไม่มีความรู้มาก่อน พ่อตาก็แนะนำให้ทำสวนปาล์มก็เลยได้ทำสวนปาล์ม จำนวน 20 ไร่ จนมาทำจึงได้รู้ว่า สวนปาล์มกลายเป็นสิ่งที่ชอบ เพราะไม่ต้องทำทุกวัน แค่ดูแลใส่ปุ๋ยให้ต่อเนื่องเท่านั้นเอง
ให้ความสำคัญเรื่องพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
และความสมบูรณ์ของดิน
━━━━━━━━━━━━━━━━━
สายพันธุ์ปาล์มน้ำมันที่ครูวีรยุทธ เลือกปลูก คือ
“ยูนิวานิช” เพราะเป็นพันธุ์ที่พัฒนามาอย่างต่อเนื่องกว่า 45 ปี
มีการพัฒนาพันธุ์ให้เหมาะสมกับประเทศไทย มีเกษตรกรปลูกมาเป็นเวลานาน
จนกลายเป็นที่ยอมรับและได้รับความนิยมสูง รวมถึงความเป็นมาตรฐานระดับโลก
ส่งออกไปกว่า 15 ประเทศทั่วโลก
สร้างกองทางและทะลายเปล่า ช่วยคลุมดิน รักษาความชื้น และเป็นอินทรียวัตถุชั้นดี |
แม้กระบี่จะมีฝนค่อนข้างดี แต่ยามแล้งก็แล้งเอาการอยู่
ครูวีรยุทธ จึงหาวิธีเก็บความชื้นไว้ในดินมากที่สุด
โดยใช้ทะลายเปล่าปาล์มมาคลุมบริเวณโคนต้นปาล์ม นอกจากจะเป็น “ฟองน้ำ” เก็บรักษาความชื้นแล้ว
ยังย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุชั้นดีให้ดินด้วย
รวมถึงการสร้างกองทางปาล์มในสวนก็มีประโยชน์แบบเดียวกัน และยังใส่โดโลไมท์เพิ่มต้นต้นละ
2 กก. เพื่อปรับสภาพดิน (ค่า pH 4.8)
เวลาใส่ปุ๋ยเราก็จะใส่บริเวณกองทาง และกองทะลายเปล่า เพราะเป็นบริเวณนี้มีรากปาล์มจำนวนมาก มันจะกินปุ๋ยได้ดีกว่า และยังช่วยเก็บกักปุ๋ยอีกด้วย
นอกจากนั้น “หญ้า” ที่ เหมือนจะเป็น “วัชพืช”
ในสวนปาล์ม แต่ครูวีรยุทธมองว่าหญ้ามีประโยชน์มากกว่าโทษ ถ้าจัดการดีๆ
เมื่อก่อนจะตัดหญ้าให้เตียนตลอด เพราะอยากให้สวนดูสวยงาม แต่ตอนหลังเปลี่ยนมาปล่อยให้หญ้าขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อรักษาความชื้นและลดการกัดเซาะหน้าดิน จะตัดหญ้าก็เฉพาะก่อนใส่ปุ๋ยเท่านั้น
ในช่วงเริ่มต้นทำสวนปาล์ม ครูวีรยุทธจะใช้ “แม่ปุ๋ย”
เป็นหลัก เพราะคิดว่าได้ธาตุอาหารมากกว่าปุ๋ยสูตร
แต่ตอนหลังเกิดปัญหาเรื่องแรงงาน
เพราะต้องใส่ปุ๋ยหลายตัว ครั้นจะเปลี่ยนมาใส่ปุ๋ยสูตรก็กลัวว่าจะไม่ตรงกับความต้องการของปาล์ม
จึงนำตัวอย่างดินไปตรวจธาตุอาหารว่ามีมากน้อยเพียงใด ก่อนจะได้สูตรปุ๋ยที่เรียกว่า
“ปุ๋ยสั่งตัด” ผสมตามความต้องการของสวนปาล์มตัวเอง คือ สูตร 12-4-40
เน้นตัวท้ายสูง
จนเมื่อผลวิเคราะห์ดินครั้งล่าสุดพบว่าดินมีธาตุโปแตสเซียมมาสูงเกินไป
จำเป็นต้องลดตัวท้ายและเพิ่มฟอสฟอรัส เป็นปุ๋ยสูตร 19-24-17 พร้อมกับเสริมด้วยขี้ไก่ชนิดผงต้นละ
3 กก.
ผมใส่ปุ๋ยเรื่อยๆ ใส่ทีละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง ใส่ทุก 2 เดือน ครั้งละ 2 กก.
อาจเป็นเพราะพื้นที่ อ.อ่าวลึกมีฝนค่อนข้างเยอะ
เขาจึงเลือกใส่ปุ๋ยบ่อยๆ แทนการใส่ 2-3 ครั้ง/ปี เพราะมีโอกาสสูญเสียไปกับน้ำฝนสูงมาก
แล้วเสริมด้วยโบรอน 200 กรัม/ต้น รวมปริมาณปุ๋ยทั้งหมด 8 กก./ต้น/ปี
ครูวีรยุทธบอกว่าถ้ามองในแง่ของความถูกต้องแม่นยำแล้ว
ปุ๋ยสั่งตัดมีความจำเป็น เพราะเป็นปุ๋ยที่มาจากการตรวจวิเคราะห์จากดิน
แล้วปรับให้เหมาะสมกับความต้องการของปาล์ม ทำให้ใส่ปุ๋ยได้อย่างแม่นยำ
และประหยัดต้นทุนปุ๋ยได้ระดับหนึ่ง
ถ้าใส่ปุ๋ยที่เราไม่รู้ว่าตรงกับความต้องการของดินและต้นปาล์ม มันอาจจะสิ้นเปลือง หรืออาจจะน้อยเกินไปได้
ครูวีรยุทธบอก
ด้านการเก็บเกี่ยวปาล์มจะตัด 20 วัน/ครั้ง ตัดสูงสุดรอบละ 15 ตัน เวลาตัดครูวีรยุทธจะเข้ามาควบคุมทุกครั้ง โดยเลือกตัดวันเสาร์หรืออาทิตย์
หรือช่วงวันหยุดจากงานราชการ จะได้ควบคุมการตัดให้มีคุณภาพ
ตัดเฉพาะทะลายสุกมีลูกร่วง 4-5 เมล็ดเท่านั้น
ผลผลิตปีที่แล้ว 2560 ตัดผลปาล์มได้ 133.42 ตัน หรือเฉลี่ย
6.67 ตัน/ไร่/ปี
ผลผลิตสูงต่อเนื่อง ปี 2560 เฉลี่ย 6.67 ตัน/ไร่/ปี |
━━━━━━━━━━━━━━━━━
ราคาผลผลิตลดลง
เกษตรกรต้องเพิ่มผลผลิต และควบคุมต้นทุน
━━━━━━━━━━━━━━━━━
เมื่อสอบถามเรื่องราคาผลผลิต ครูวีรยุทธยอมรับว่า
ช่วงที่ผ่านมาราคาค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับปี 2559 ที่ราคา เฉลี่ย 5 บาท ตัดรอบละ
10 กว่าตัน ได้เงินไม่น้อยกว่า 50,000 บาท
แต่เมื่อปีที่แล้วราคาเฉลี่ย 4.41 บาท/กก.และช่วงปีนี้ราคาลดลงมากทำให้รายได้จากปาล์มลดลง
แต่ราคาปาล์มเขายอมรับว่าไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง
เพราะเป็นไปตามกลไกตลาด แต่จะมาคิดหาวิธีว่าจะทำอย่างไรให้มีรายได้เพิ่มขึ้นได้
ทางหนึ่งที่ทำได้จริงและเห็นผลเป็นรูปธรรมคือ ทำอย่างไรให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น ควบคุมต้นทำไม่ให้สูงมาก
เพื่อรักษารายได้ให้อย่างน้อยเท่าเดิม หรือเพิ่มขึ้น
ครูวีรยุทธ มองว่า การเพิ่มผลผลิตเป็นกฎขั้นพื้นฐานของเกษตรกร
เพราะไม่ว่าจะราคาปาล์มถูกหรือแพง ต้องทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น และได้อย่างต่อเนื่องมากที่สุด
ผลผลิตทั้งหมดคนที่ได้รับผลประโยชน์คนแรกก็คือ เกษตรกร
ความพึงพอใจพันธุ์ยูนิวานิช
มาตรฐานระดับโลก
━━━━━━━━━━━━━━━━━
เจ้าของสวนปาล์มบอกว่า พันธุ์ปาล์มน้ำมัน “ยูนิวานิช”
เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ได้ผลผลิตสูงถึง 6.67 ตัน/ไร่/ปี ทะลายค่อนข้างใหญ่
ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอ โดยต้นที่ให้ผลผลิตสูงได้ถึง 17 ทะลายพร้อมกัน
ถ้ามีที่อีกก็ปลูกอีกครับยูนิวานิช มีผลผลิตทุกต้นและดกเกือบทุกต้น มีเกษตรกรใกล้เคียงเข้ามาดูตัวอย่าง จนกลายเป็นที่ยอมรับ เพราะยูนิวานิชมีการพัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันมาอย่างต่อเนื่อง มีมาตรฐาน มีแปลงวิจัยและพัฒนาอยู่ในประเทศ จึงเหมาะสมกับพื้นที่ของประเทศไทย เป็นปาล์มที่มีคุณภาพและมาตรฐานระดับโลกขอขอบคุณ
วีรยุทธ บุตรมาตา
17/3 หมู่ 5 ต.เขาใหญ่ อ.อ่าวลึก จ.กระบี่ โทร.
099-407-6068
เผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ 8 ตุลาคม 2561
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น