อธิราษฎร์ ดำดี วิเคราะห์ มาตรการ Zero Plam Oil ของกลุ่มประเทศยุโรป และผลกระทบต่อไทย
ข่าวมาตรการ Zero Plam Oil ของกลุ่มประเทศยุโรป
กำลังกลายเป็น “ย ยักษ์” เขี้ยวใหญ่
ที่ทำให้ของอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันโลกหวาดกลัว แล้วแรงหวาดกลัวยังส่งสะท้อนมายังประเทศไทย
ทั้งๆ ที่เราไม่ใช่ผู้ส่งออกรายใหญ่ แม้จะอยู่ใน TOP 3 แต่ห่างจากอันดับ
2 หลายโยชน์
มาตรการ Zero plam oil
จะทำให้อินโดนีเซีย และมาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มลดลงมากน้อยแค่ไหน..?
ทำไมราคาน้ำมันปาล์มดิบโลกราคาลดลง...?
แต่คำถามก็คือ ราคาปาล์มในประเทศที่หล่นลงมาต่ำกว่า
3 บาท เป็นผลพวงของนโยบาย Zero Plam Oil
หรือไม่ และถ้าเป็นอย่างนั้นจริง อนาคตของอาชีพปลูกปาล์มของไทยจะไปทิศทางไหน
เว็บไซต์ยางปาล์ม สัมภาษณ์พิเศษ อธิราฎร์
ดำดี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย
ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มคนหนึ่งของไทย เนื้อหาทั้งหมด
โปรดอ่านบรรทัดถัดไป
กลุ่มประเทศยุโรปออกนโยบาย
Zero plam oil เนื่องจากอะไร...?
ประเด็นการต่อต้านน้ำมันปาล์มเกิดขึ้นเมื่อ
5 ปีที่แล้ว เรื่องมาจากการตัดไม้ทำลายป่า
เรื่องของการบุกรุกพื้นที่อาศัยของสัตว์ป่า เช่น ลิงอุรังอุตัง เสือ และช้าง ในประเทศอินโดนีเซีย
อาหารบางตัวที่มีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มที่ยุโรปผลิตเอง หรือผลิตไปจากโซนเอเซียก็ถูกต่อต้านไม่ให้ขาย
มีการเปรียบเทียบการกินช็อกโกแลตแท่ง คือการกัดกินแขนลิงอุรังอุตัง เป็นการกินเสือ
กินช้าง น้ำช็อกโกแลตไหลเป็นเลือดออกมาจากปากเลย
เขาทำภาพออกมาอย่างนั้นแล้วโปรโมทเป็นเรื่องใหญ่ เป็นการจงใจต่อต้านน้ำมันปาล์ม
สำหรับมาเลเซียเขาชี้แจงประเด็นเหล่านี้ได้หมด
ว่าเขาอนุรักษ์พื้นที่ป่าและเขามีพื้นที่ป่าค่อนข้างเยอะ
แต่ด้านอินโดนีเซียเมื่อเห็นว่ายุโรปเริ่มมีมาตรการกีดกันเขาก็เลยพยายามแก้ไข
หลังจากที่ผ่านมาอาจจะมีปัญหา
ทุกวันนี้เขามีหน่วยดับไฟป่าที่จะเคลื่อนที่ออกไปภายในเวลาไม่กี่นาที มีดาวเทียมจับได้ว่าจุดไหนมีไฟป่าเกิดขึ้น
จะมีคณะทำงานระดับหมู่บ้านออกไปดับไฟป่าทันที เพราะฉะนั้นจาก 4-5
ปีที่แล้วที่มีไฟป่าเกิดขึ้นประมาณ 20,000 กว่าจุด อินโดนีเซียบอกว่าลดลงเหลือ 50
กว่าจุดเท่านั้นเอง จะเห็นว่าอินโดนีเซียได้ขานรับข้อท้วงติงต่างๆ ของโลกเต็มที่
ล่าสุดเลยอินโดนีเซียมีการงดออกใบอนุญาตในการปลูกปาล์มน้ำมันเพิ่ม
พื้นที่ใหม่ๆ เขาสั่งงดเลย เพื่อที่จะตัดตอนเรื่องการตัดไม้ทำลายป่าให้หมดไป
แล้วเขาก็ชี้แจงทุกข้อกล่าวหาจากกลุ่มต่อต้าน ทั้งปัญหาโลกร้อน
ปัญหาการตัดไม้ทำลายป่า การลดลงของพื้นที่ป่าพรุ และยังมีมาตรการในการอนุรักษ์สัตว์อย่างเข้มงวด
เขาก็พยายามเปรียบเทียบว่าที่เขามีพื้นที่ปลูกปาล์มเยอะขนาดนี้
ไม่ใช่ว่าทำในช่วงปีสองปี
แต่ใช้เวลาในการปลูกมานานมากแล้ว ปาล์มน้ำมัน สำหรับอินโดนีเซีย
คือเศรษฐกิจประเทศ ช่วยสร้างรายได้ให้คนในประเทศ และเป็นผลพวงสู่การศึกษาและสร้างโอกาสในสังคม
อินโดนีเซียพยายามชี้แจงข้อกล่าวหาต่างๆ
แล้วก็พยายามปฏิบัติตามข้อเรียกร้องต่างๆ ให้ แต่ก็ยังถูกต่อต้าน
ว่ายังไม่ตอบโจทย์ความยั่งยืนที่แท้จริง ยังมีมาตรการต่อต้านต่างๆ ออกมา
เราดูตัวเลขของความเป็นจริง
ในยุโรปมีอยู่หลายประเทศในกลุ่มประเทศที่ต่อต้านมีอยู่ประมาณ 14 ประเทศ
ต่อต้านมากน้อยแตกต่างกันไป แต่ในประเทศกลุ่มประเทศยุโรปทั้งหมดที่ใช้น้ำมันปาล์ม
มีอยู่ 33 ประเทศ ผมดูตัวเลขของประเทศมาเลเซียในกลุ่มประเทศยุโรป
ปรากฏว่ายอดส่งออกน้ำมันปาล์มของปีนี้ เปรียบเทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน
ช่วง 8-9 เดือนที่ผ่านมายอดส่งลดลงแค่ 2% รวม 1,344,486 ตัน แล้วน้ำมันที่ส่งออกมาจากน้ำมัน RSPO
(Roundtable on Sustainable Palm Oil มาตรฐานในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนไม่ส่งผลกระทบต่อชุมชนสังคมและสิ่งแวดล้อม) มากขึ้น
ผมมองว่าการใช้น้ำมันปาล์มในยุโรปไม่ได้ลดลง แค่ 2% ผมถือว่าลดลงน้อยมาก อาจจะมีบางประเทศเล็กๆ ที่ลดลง
แต่จะเพิ่มในอีกประเทศหนึ่งแทน
ทีนี้น้ำมันปาล์มที่เข้าไปในยุโรปทั้งหมดประมาณ
40 กว่าๆ เกือบ 50%
เป็นน้ำมันที่ใช้เรื่อง “พลังงาน” เพราะฉะนั้นเขาจะมีปัญหาเรื่องนโยบาย “ไบโอดีเซล”
และ “ไบโอฟูเอล” ของเขาทันที ถ้าหากว่าเขาต่อต้านน้ำมันปาล์ม ขณะเดียวกันสินค้าบริโภคของเขาประมาณครึ่งหนึ่งมีส่วนผสมของน้ำมันปาล์มจะส่งผลกระทบ
เพราะเขาสั่งน้ำมันปาล์มเข้าไปทุกประเภทเลย ทั้งน้ำมันปาล์มดิบ น้ำมันปาล์มรีไฟน์แล้วชนิดต่างๆ
Zero Plam Oil จะขยายวงกว้างไปสู่ภูมิภาคอื่นๆ
นอกจากยุโรปหรือไม่...?
มีตัวเลขว่า 3,000
ล้านคนทั่วโลกบริโภคน้ำมันปาล์ม แต่น้ำมันปาล์มใช้พื้นที่ปลูกแค่ไม่เกิน 7% แต่สามารถผลิตน้ำมันได้ 35%
ของน้ำมันทั่วโลก
มันเป็นพืชที่มีศักยภาพสูงที่สุดในบรรดาพืชน้ำมันเศรษฐกิจที่มีอยู่ 17 ชนิด
ปาล์มน้ำมันให้ผลผลิตดี ประสิทธิภาพต่อพื้นที่การผลิตสูง
และเป็นการปลูกพืชในระยะยาว จะมีพืชอะไรที่ปลูกแล้วโต 10-20 เมตรบ้าง
ซึ่งมันเป็นการปลูกป่าเหมือนกันแม้ว่ามันจะเป็นพืชเชิงเดี่ยวก็ตาม
เพราะฉะนั้นถ้าเปรียบเทียบกับพืชน้ำมันชนิดอื่น
ปัญหาในเรื่องทำให้เกิดโลกร้อน ปัญหาเรื่องการบุกรุกทำลายป่าใหม่มันน่าจะน้อยกว่า
เพราะปลูกครั้งเดียวแล้วเก็บเกี่ยวยาวนาน มันทำให้ปาล์มน้ำมันมีต้นทุนต่ำ
ถึงแม้ว่าจะถูกกดราคาลงมาขนาดไหนก็ยังแข่งขันสู้อยู่ในตลาดโลกได้
แล้วเกมการแข่งขันทำให้ราคาน้ำมันปาล์มต่ำลง
และทำให้ราคา “น้ำมันถั่วเหลือง” และ “น้ำมันเรพซีด” สูงขึ้น
สิ่งที่ทำให้เกิดมาตรการ Zero plam oil ก็คือว่า มันเกิดขึ้นจากกระบวนการทางการเมืองในรัฐสภายุโรปที่มีนักการเมืองจำนวนมากกว่า
60% ของสภาช่วยกันโหวตเพื่อต่อต้านน้ำมันปาล์ม
แล้วก็มีงานวิชาการต่างๆ ของภาคเอกชนออกมาช่วยกระหน่ำ ช่วยสนับสนุน
มีการออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับ “สารประกอบคลอไรด์”
ในน้ำมันปาล์ม เขาบอกว่าในน้ำมันปาล์มมีสารประกอบคลอไรด์สูงกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น
ประมาณ 4-5 เท่าตัว เช่น ถ้าน้ำมันถั่วเหลืองมีอยู่ 2% น้ำมันปาล์มมีถึง 10
กว่าเปอร์เซ็นต์ มีตัวเลขงานวิจัยพวกนี้ออกมา พอน้ำมันปาล์มผ่านการรีไฟน์สารประกอบคลอไรด์จะเพิ่มสูงขึ้น
เพราะว่ากระบวนการรีไฟน์น้ำมันมันเจอความร้อนสูง จุดอ่อนตรงนี้ถูกนำมาเป็นประเด็น
พอมีสารประกอบคลอไรด์อยู่ในอาหารจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรค
คนที่จับข้อความเพียงแค่คำสองคำก็ออกมาโจมตีน้ำมันปาล์ม
โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนในประเทศไทยเอง ถึงขนาดว่ามีหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งพาดหัวเลยว่า
“น้ำมันปาล์มมีสารพิษก่อมะเร็ง”
ซึ่งเหตุผลเรื่องสุขภาพมันเป็นเรื่องที่อ่อนไหว กลายเป็นกระแสค่อนข้างแรง
ขนาดที่ว่าจะ Zero Plam Oil
ไม่ให้มีในอาหารทุกชนิด
แต่เมื่อไปดูสถิติยอดการส่งออกน้ำมันปาล์มในของมาเลเซียก็ยังไม่ลดลง
ปี 2018 ตั้งแต่เดือนมกราคม-กันยายน
รวม 9 เดือน มาเลเซียส่งออกน้ำมันปาล์มไปทั่วโลก 12,147,358
ตัน
ลดลง 0.74% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันในปี 2017
ลดลง 0.74% เมื่อเทียบช่วงเวลาเดียวกันในปี 2017
ประเด็นก็คือว่าเมื่อโลกผลิตน้ำมันปาล์มได้มากขึ้น
แม้ว่าประเทศไทยยังมีปัญหาเรื่องผลผลิตน้อย เปอร์เซ็นต์ไม่ดีมากนัก แต่ว่ามาเลเซีย
อินโดนีเซียเขาผลผลิตเยอะขึ้น ปริมาณน้ำมันสูงขึ้น สต็อกน้ำมันก็เริ่มมากขึ้น
ซึ่งปกติสต็อกน้ำมันของอินโดนีเซียจะอยู่ที่ 4 กว่าล้านตัน ของมาเลเซียอยู่ที่ 1.5
ล้านตัน นี่พูดถึงเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบอย่างเดียว ยังไม่พูดถึงน้ำมันแปรรูปแล้ว
สต็อกที่เขามีก็เลยไปกดดันเรื่องราคาที่จะขายออกไป
แล้วผมมองว่ามันเป็นวิกฤติทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศด้วย
คือเรื่องของค่าเงินในแต่ละประเทศที่อ่อนหรือแข็งตัว ซึ่งมาเลเซียค่าเงินประมาณ 1
ริงกิต เคยเท่ากับ 10-11บาท ตอนนี้ค่าเงินเขาเหลือ 7-8 บาท/ 1 ริงกิต แต่ราคาน้ำมันดิบของเขาก็ยังอยู่ที่
2,100 ริงกิต/ตัน ถ้าค่าเงินเขาแข็งมันก็คือ 21 บาท/กก.ของไทย
แต่พอค่าเงินเขาอ่อนกลายเป็นว่าราคาเหลือแค่ 16-17 บาท/กก. จะเห็นว่าที่ราคามันลดลงมัน
ซึ่งเป็นผลกระทบจากค่าเงิน
ผลกระทบกับประเทศไทยมีอย่างไรบ้าง...?
ผมมองว่าถ้าเราบริหารจัดการในประเทศได้
มันไม่กระทบ เพราะว่ามันกระทบในตลาดโลก กระทบกับมาเลเซีย และอินโดนีเซีย มูลค่าน้ำมันปาล์มลดลง
รายได้เข้าประเทศก็ลดลง เพราะเขามีปริมาณมากและต้องส่งออกเป็นส่วนใหญ่
แต่ของไทยส่งออกเป็นแค่ 5-10% ส่วนอีก 90-95% เป็นการใช้ในประเทศ ถ้าเราพยายามจะส่งออกก็ต้องไปอิงตลาดโลก
กลายเป็นว่าของที่จะส่งออกแค่ 5-10% มาดึงราคาของทั้งหมด
แต่ถ้าตามนโยบายเดิมตั้งแต่สมัยเราส่งเสริมปลูกปาล์มน้ำมัน
เรื่องของโครงการ SPV (บริษัทส่งเสริมธุรกิจเกษตรไทย
จำกัด จัดตั้งเพื่อรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร) สนับสนุนเรื่องการผลิตน้ำมันไบโอดีเซล
เมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ปาล์มน้ำมันเราราคาตกลงทุกปี ตั้งแต่ 4 บาท ลงมาอยู่ที่ 3
บาทต้นๆ จนกระทั่งมาแตะ 2 บาทกว่าไม่ถึง 3 บาท แต่การปลูกปาล์มน้ำมันลดลง
ช่วงหนึ่งเรามีนโยบายเพิ่มการใช้น้ำมันไบโอดีเซล
2-5% (B2-B5) จนกระทั่งมาอยู่ที่ 5-7% ในปัจจุบัน สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือ
พอราคาปาล์มเริ่มสูงกว่า 4 บาท คนเริ่มปลูกปาล์มเพิ่มขึ้น
ช่วงราคาปาล์มลดลงคนปลูกเพิ่มแค่ 5% ช่วงที่ราคาปาล์มแพงคนปลูกปาล์มเพิ่มขึ้นเป็นปีละ
10% มันก็เลยเพิ่มพื้นที่ปลูกขึ้นอย่างรวดเร็ว
แล้วถ้าตามโรดแม็บเดิม
เราต้องเพิ่มไบโอดีเซลเป็น B10
แล้ว แต่เราโดนระดับนานาประเทศท้วงติงเรื่องของการใช้ไบโอดีเซลในเปอร์เซ็นต์ที่สูง
มีปัญหาเรื่องของคุณภาพน้ำมัน ปัญหาเรื่อง ออกซิเดชัน (oxidation) ตั้งแต่เมื่อ 5 ปีที่ก่อนแล้ว เขาบอกว่าต้องใส่สาร
แอนตี้ออกซิแดนท์เพิ่มขึ้นเพื่อให้น้ำมันเก็บรักษาได้นาน จะได้ไม่มีผลกระทบกับรถรุ่นที่มีถังน้ำมันเป็นเหล็ก
แต่ว่ารถรุ่นใหม่เริ่มใช้ถังน้ำมันที่เป็นถังพลาสติกแทบทั้งหมดแล้ว ก็อาจจะมีรถใหญ่ที่ถังยังเป็นเหล็ก
ถามว่าวันนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ทำอะไรบ้างที่จะรองรับกับนโยบายไบโอดีเซล
เราจะเห็นว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ไม่ได้ทำอะไรที่จะรองรับกับนโยบายไบโอดีเซลของประเทศเลย
และกลายเป็นว่านโยบายประเทศไม่ได้กำหนดทิศทางให้กับอุตสาหกรรมรถยนต์เกิดการปรับตัว
ทำไมเวลามีประกาศยูโร 3 ยูโร 4 แม้กระทั่งยูโร 5 เพื่อปรับปรุงเครื่องยนต์
เรื่องของการลดมลพิษ การติด แคทตาไลติกคอนเวอร์เตอร์ (Catalytic Converter) ทำไมเรื่องไบโอดีเซลพอจะประกาศเรื่อง
B3 B5 B10 ทำไมไม่มีการปรับตัวในอุตสาหกรรมรถยนต์เพื่อรองรับตรงนี้
รุ่นไหนใช้ได้ รุ่นไหนใช้ไม่ได้บอกมา อย่าบอกครอบคลุมว่าไม่ได้
เรื่องของนโยบายกับการขานรับของอุตสาหกรรมรถยนต์เราจะเห็นว่าไม่มีความต่อเนื่อง
มีแต่ออกมาค้าน แล้วดึงไว้ที่ไม่เกิน B7 แล้วน้ำมันปาล์มที่มันเพิ่มมากขึ้นๆ มันก็ไม่มีที่ไป
พอไม่มีที่ไปมันก็ต้องออกไปสู่ตลาดโลก มันก็มาดึงราคาในประเทศ
ปัญหาเรื่องคุณภาพมีส่วนสำคัญให้ราคาผลปาล์มของเราต่ำกว่ามาเลเซีย...?
ถ้าราคาปาล์มน้ำมัน (ผลสด) ที่มาเลเซียประมาณ
400 กว่าริงกิต/ตัน ก็อยู่ที่ 4 บาทกว่า/กก. แต่พอค่าเงินเขาตกต่ำ คิดเป็นเงินไทย
3.50 บาท/กก. แต่พอปาล์มในประเทศไทยมีปัญหาเรื่องคุณภาพ
แย่งกันซื้อผลผลิตคุณภาพต่ำกัน จนไม่มีผลผลิตคุณภาพดีเข้าโรงงาน
โรงงานก็สกัดได้เปอร์เซ็นต์น้ำมันต่ำก็เลยซื้อกันที่ 3 บาท/กก. อันนี้แหละผมเรียกว่า
“งูกินหาง” ก็คือไม่มีระบบคุณภาพ แล้วมันก็ทำลายตัวเอง 2 เด้งเลย
พอราคาต่ำขนาดนี้สิ่งที่เกิดขึ้นคือ
เกษตรกรไม่มีเงินใส่ปุ๋ยมาตั้งแต่ปีที่แล้ว
ถามร้านขายปุ๋ยได้เลยว่าขายปุ๋ยเป็นอย่างไรบ้าง ปีนี้ผลผลิตปาล์มจะลดลง
ที่เคยพยากรณ์ว่าปลายปีนี้จะมีปาล์มเพิ่มขึ้นผมคิดว่าไม่จริง มันเพิ่มขึ้นแต่ไม่ได้เพิ่มขึ้นเยอะ
แล้วปีหน้าผมเชื่อว่าปาล์มจะหายไปจากระบบเยอะมาก
จะมีเฉพาะสวนรายใหญ่ที่มีทุนในการดูแลสวนเท่านั้นที่มีปุ๋ยใส่
สิ่งที่เกิดขึ้นก็คือชาวสวนรายย่อยก็ไม่มีรายได้
โรงงานไม่มีทะลายปาล์มเข้าไปในกระบวนการผลิต ก็จะส่งผลไปที่โรงงานรีไฟน์ มีผลไปที่การบริโภค
และเรื่องของไบโอดีเซลทั้งประเทศ
ผมมองว่านี่คือระบบที่ “เสียสมดุล”
ที่ไม่มีการเกื้อกูลซึ่งกันและกัน การไม่ทำ “ระบบคุณภาพ” ทำให้ปาล์มราคาตกต่ำ
จนกระทั่งทำให้เกษตรกรดูแลผลผลิตไม่สม่ำเสมอ
เมื่อเกษตรกรทำผลผลิตไม่สม่ำเสมอ คนที่จะมีปัญหาหนักก็คือคนที่ลงทุนหนัก
ก็คือกลุ่มอุตสาหกรรม ตอนนี้ทุกคนลดทอนราคาวัตถุดิบของตัวเองลง อย่างเช่น โรงรีไฟน์ก็ลดราคา
CPO (น้ำมันปาล์มดิบ)
ซื้อให้ถูกลง เพื่ออยากจะส่งออกได้ อยากจะค้าขายกับต่างประเทศได้ โรงสกัดเมื่อขาย CPO
ได้ราคาลดลง ก็มาลดราคาซื้อปาล์มจากเกษตรกร แล้วเกษตรกรล่ะ...!!! จะไปลดราคาต้นทุนการทำสวนกับใคร...???
ติดตามแนวทางแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันของไทย
ในทัศนะของ อธิราษฎร์ ดำดี : https://www.yangpalm.com/2018/10/ll_31.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น