ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

หอการค้าไทย เสนอ 14 แนวทางรอดยางพาราไทย

หอการค้าไทย ชี้ผลผลิตยางพาราไทยเพิ่มขึ้น การบริโภคในประเทศไม่ขยายตัวส่งผลให้ราคายางพาราตกต่ำ เบื้องต้นเสนอ 14 แนวทางรอด เพื่อให้อุตสาหกรรมยางพาราไทยอยู่รอด

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยบทวิเคราะห์ “วาระแห่งชาติ ยางพาราไทย อุปสรรคและทางรอด” โดยระบุว่า ปัจจุบันไทยส่งออกยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพาราปีละกว่า 5 แสนล้านบาท โดยในปี 2550-2555 การส่งออกยางพาราสูงกว่าผลิตภัณฑ์ยาง แต่ในปี 2556-2560 ผลิตภัณฑ์ยางกลับมีมูลค่าการส่งออกสูงกว่ายางพารา

สะท้อนให้เห็นว่าตลาดโลกมีความต้องการผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางเพิ่มเป็น 346,885 ล้านบาท ในปี 2560

ในขณะที่การพัฒนาพันธุ์ยางพาราไทยยังตามหลังมาเลเซีย โดยผลผลิตยางพาราไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากเดิมตั้งเป้าผลผลิตยางพารา 3 ล้านตันต่อปี แต่ปัจจุบันเพิ่มเป็น 4.5 ล้านตันต่อปี จึงเป็นสาเหตุทำให้ราคายางพาราตกต่ำลง
ขณะที่ผลผลิตต่อไร่ต่ำกว่าที่ตั้งไว้ เดิมกำหนดเป้าหมายที่ 300 กิโลกรัมต่อไร่ แต่ปัจจุบันทำได้เพียง 224 กิโลกรัมต่อไร่ โดยราคายางล่าสุดอยู่ที่กิโลกรัมละ 46 บาท ขณะที่ในปีหน้าแนวโน้มราคายางพาราจะใกล้เคียงปัจจุบัน

ทั้งนี้ได้เสนอ 14 แนวทาง สำหรับโอกาสและทางรอดของอุตสาหกรรมยางพาราไทย เพื่อปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงในอีก 5 ปีข้างหน้า

  1. ปรับโครงสร้างหน่วยงานยางพาราของประเทศให้ทำงานเป็นเอกภาพ โดยแบ่งบทบาทหน้าที่ในแต่ละด้านชัดเจน เช่น การวิจัย การพัฒนาพันธุ์ การทำตลาด ซึ่งสอดคล้องและไปในทิศทางเดียวกันเหมือนที่ประเทศมาเลเซียทำ
  2. เกษตรกรต้องรวมตัวกันเป็นเอกภาพ ซึ่งควรมีการตั้งเป็นกลุ่มตัวแทนของเกษตรกรยางพาราของประเทศ 1 สถาบัน แล้วมีตัวแทนจากกลุ่มเกษตรกรต่างๆ เข้ามาเป็นคณะกรรมการเพื่อเสนอปัญหาของเกษตรกรยางพาราไปในทิศทางเดียวกัน
  3. พัฒนา Big Data ยางพารา เพื่อให้มีฐานข้อมูลยางพาราทั้งในประเทศและต่างประเทศทันสมัยที่สุด ทั้งนี้ควรมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรงเพื่อดูแล Big Data
  4. จัดตั้งศูนย์เตือนภัยยางแห่งชาติ (Rubber Warning Center) เพื่อมีแบบจำลองทางด้านเศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจและธุรกิจที่สามารถจะคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงของปัจจัยในตลาดโลกที่มีผลกระทบต่อยางพาราของไทย
  5. การค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ยางพารา (Rubber Cross Border E-commerce: RCBEC) เพื่อส่งเสริมและผลักดันให้มีการนำยางและผลิตภัณฑ์ยางไปขายบนเว็บไซต์ออนไลน์ โดยตั้งอยู่ 2 จุด คือ ท่าเรือสงขลาและท่าเรือแหลมฉบัง
  6. ตั้งศูนย์กลางผลิตภัณฑ์ยางของโลก เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตล้อเครื่องบิน, ผลิตภัณฑ์อิฐผสมยางพารา, ผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อการก่อสร้าง, หมอนรถไฟผสมยางพารา เป็นต้น
  7. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้และพัฒนามาตรฐานยางพาราในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เพื่อสร้างความเข้าใจและปรับทัศนคติของชาวสวนในเรื่องของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ และลดสิ่งปลอมปนในการผลิตยาง อีกทั้งพัฒนาประสิทธิภาพในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางพาราทั้งในต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
  8. ตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนเครดิตให้กับกลุ่มสหกรณ์ผลิตภัณฑ์ยางพาราเพื่อตลาดต่างประเทศ (Rubber Fund) เพื่อเป็นการปัญหาสภาพคล่องทางการเงิน
  9. ส่งเสริมให้มีการผลิตยางแผ่นรมควันคุณภาพสูง (Premium RSS) โดยผลักดันและส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตยางแผ่นรมควันชั้นที่ 1 และ 2 หรือเรียกว่า Premium RSS
  10. จัดตั้งศูนย์กลางการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ เพื่อวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตภัณฑ์ยาง ส่งเสริมใช้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ปลายน้ำมากขึ้น ส่งเสริมให้นำผลงานวิจัยต่างๆ สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์
  11. ตั้ง Outlet ผลิตภัณฑ์ยางพาราไทยแต่ละจังหวัด (One Rubber one province: OROP) เพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ยางพาราของผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มสหกรณ์และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่
  12.  ตั้งศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ และห้องทดลองในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในแต่ละภูมิภาค เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการ SMES กลุ่มสหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ มีศูนย์ทดสอบผลิตภัณฑ์ และห้องทดลองของส่วนกลางให้ใช้เพิ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ
  13. ตั้งผู้แทนการค้ายางพาราของไทย (Thailand Rubber Trade Representative: TRTR) เพื่อทำหน้าที่ช่วยเหลือทางด้านการตลาดในกับผู้ประกอบการ SMEs กลุ่มสหกรณ์ และวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่ รวมไปถึงการจัดงานแสดงสินค้าเพื่อนำสินค้าของเกษตรกร และสหกรณ์ไปแสดงและจำหน่าย
  14. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพื่อการเพิ่มรายได้เกษตรกรยางพารา เพื่อให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับการผสมผสานระหว่างยางพารากับพืชเศรษฐกิจอื่นๆ ในแต่ละท้องถิ่น ปรับแก้กฎหมายเรื่องการซื้อขายไม้ เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์ในการซื้อขายไม้เศรษฐกิจอย่างเสรี เช่น ไม้ยางนา ไม้ตะเคียนทอง อบรบวิธีการกรีดยางที่ถูกวิธีให้การชาวสวนและผู้รับจ้างกรีดยางเพื่อเพิ่มผลิตผลิตและรายได้ และสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจให้กับเกษตรกร และสหกรณ์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต และการหาช่องทางจำหน่ายสินค้า


อุตสาหกรรมยางพาราเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศไทยสร้างรายได้และการจ้างงานให้กับเกษตรกรกว่า 6 ล้านคน และแรงงานในอุตสาหกรรมกว่า 200,000 คน ไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำยางข้นอันดับ 1 และเป็นศูนย์กลางการผลิตล้อยางที่ใหญ่กว่ามาเลเซีย มาเลเซียต้องนำเข้าน้ำยางจากไทย แต่มาเลเซียให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมยางพารา ให้เป็น 1 กิจกรรมเศรษฐกิจหลักในจำนวน 12 สาขาที่รัฐบาลต้องการผลักดันให้สำเร็จในปี 2563 โดยมาเลเซียประกาศลดพื้นที่ปลูก แต่เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาพันธุ์ยางใหม่ๆ ที่ลดระยะเวลาให้กรีดยางได้เพียง 6 ปี จากเดิม 7 ปี และมีหน่วยงานดูแลยางจำนวนมากตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตยางมาเลเซียต่ำกว่าไทย แต่ขายได้ในราคาเท่าๆ กัน

นายอัทธ์ กล่าว
- Advertisement -


ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม