เว็บยางปาล์ม มีโอกาสได้พูดคุยกับพี่น้องเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันมาก็มาก
ครั้งนี้เราจะมาพูดคุยกับเจ้าของโรงงานที่ปลูกปาล์มเองบ้างว่าพวกเขามีความคิดเห็นเรื่องการปลูกปาล์มอย่างไรบ้าง
ธวัชชัย
ช้างเผือก กรรมการผู้จัดการ บริษัท
บางสวรรค์น้ำมันปาล์ม จำกัด ใน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
เล่าว่ากิจการของครอบครัวก่อตั้งขึ้นในยุคของคุณพ่อมีทั้งโรงงานและสวนปาล์ม
แต่ปัจจุบันสวนปาล์มรุ่นก่อนๆ ถูกโค่นไปหมดแล้ว
เมื่อเริ่มปลูกใหม่ทางบริษัทก็โฟกัสไปที่พันธุ์ปาล์มที่ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง
และถูกพัฒนาสายพันธุ์ให้ปรับตัวเข้ากับเมืองไทยเป็นหลัก
“ผมมีปาล์มอยู่ 3 แปลง
การที่มีโรงงานเองมันทำให้เข้าใจเรื่องความสำคัญของเปอร์เซ็นต์น้ำมัน
แล้วเราก็เน้นปาล์มคุณภาพ
พันธุ์ปาล์มที่จะเอามาปลูกต้องเป็นพันธุ์ที่ให้เปอร์เซ็นต์น้ำมันที่สูงที่สุด
แล้วเราก็มองไปที่พันธุ์ปาล์มของยูนิวานิช
“เนื่องจากตอนนั้นเราได้ทราบว่าทางยูนิวานิชมีการพัฒนาพันธุ์ปาล์ม
มีการคัดเลือกต้นพ่อ-แม่พันธุ์ แล้วมาทำการผสมเกสร มีการทดลองที่ได้มาตรฐาน
เราก็เลยซื้อเมล็ดมาเพาะและปลูกทั้งหมด 3 แปลง
“ผมรู้สึกประทับใจเพราะว่ามันให้ทะลายรอบคอ
ให้น้ำหนัก 20-30 กก./ทะลาย ที่สังเกตจากรุ่นที่ตัดไปแล้วได้เปอร์เซ็นต์น้ำมัน
20-21% คุ้มค่าจริงๆ
เรามองในมุมมองของเจ้าของโรงงานที่ต้องการเน้นเรื่องเปอร์เซ็นต์น้ำมันอยู่แล้ว
เราปลูกพันธุ์นี้ถือว่าไม่ผิดหวังครับ” ธวัชชัย
พูดถึงปาล์มยูนิวานิชจากประสบการณ์ของตัวเอง
เจ้าของสวนท่านนี้ให้ข้อมูลว่าช่วงที่ปลูกปาล์มระยะแรกจะนำทะลายเปล่าจากโรงงานมากองตรงกลางระหว่างแถวปาล์ม
เมื่อเวลาผ่านไป 6
เดือนแล้วจึงเกลี่ยทะลายปาล์มเปล่าที่ย่อยสลายแล้วให้ทั่วรอบโคนต้น
เป็นทั้งอินทรียวัตถุและยังช่วยปกคลุมวัชพืชอีกด้วย และจะทำแบบนี้ซ้ำๆ ทุก 6
เดือนดินในสวนของเขาจึงอุดมไปด้วยอินทรียวัตถุ
ธวัชชัยสังเกตว่าช่วงที่เอาทะลายเปล่ามากองไว้จะเห็นรากปาล์มสีขาวๆ
ขึ้นมาตามพื้นดินจำนวนมาก จึงมั่นใจว่าการที่นำทะลายเปล่าของปาล์มมาเป็นอินทรียวัตถุนั้นช่วยปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี
นอกจากนั้นที่สวนยังใส่ปุ๋ยบริเวณกองทะลายปาล์มรากจึงได้สารอาหารอย่างเต็มที่
และทะลายปาล์มนี้ยังช่วยป้องกันการชะล้างของปุ๋ยในช่วงฝนตกอีกด้วย
“ส่วนเรื่องปุ๋ยจริงๆ
แล้วผมมองว่าต้นปาล์มมันขาดธาตุอะไร จึงใส่เข้าไปให้เขา ถ้าใบเหลืองๆ
หน่อยก็คิดว่าน่าจะขาดไนโตรเจน ที่ใบเป็นจุดๆ แบบนี้ก็แสดงว่าเริ่มขาดโปแตสเซียม
ต้นไหนที่ใบหงิกใบงอเราก็เติมโบรอนให้มัน เราต้องศึกษาว่าอาการแสดงการขาดธาตุอาหารแต่ละตัวเป็นอย่างไร
แล้วก็มาดูว่าปาล์มเราต้นไหนอาการเป็นอย่างไร แล้วก็เติมธาตุอาหารให้เขา”
ผลผลิตที่ผ่านมาของทุกสวนของเขาค่าเฉลี่ยอยู่ที่
3-5 ตัน/ไร่/ปี ธวัชชัยพอใจมากๆ เพราะตอนนี้ปาล์มอายุประมาณ 4 ปี
ยังไม่เป็นปาล์มหนุ่มเต็มที่ จนกว่าจะปาล์มอายุ 6-7 ปี
เขาให้ข้อมูลต่อไปว่าปาล์ม 6-8 ปี จะดกแทบทุกพันธุ์และให้ผลผลิตสูงที่สุด
แต่หลังจากนั้นบางสายพันธุ์จะเริ่มให้ผลผลิตลดลง ฉะนั้นการเลือกสายพันธุ์ปาล์มจึงเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะการปลูกปาล์มนั้นการลงทุนครั้งแรกค่อนข้างสูง และปาล์มเป็นพืชอายุยืน
หากได้ปาล์มพันธุ์ดีเขาก็จะให้ผลผลิตดีกับเราไปนานๆ แต่ถ้าผลผลิตไม่ดีต้องโค่นทิ้ง
การลงทุนของเกษตรกรมันก็จะเสียไป เสียเงิน เสียเวลา ตรงนี้เป็นเรื่องที่น่าเสียดายมากๆ
ในตอนท้ายธวัชชัยได้พูดถึง
บมจ.ยูนิวานิช ว่า “ผมเลือกพันธุ์ปาล์มที่เปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงเพราะเรามีโรงงาน
ซึ่งตรงนี้พันธ์ยูนิวานิชตอบโจทย์ข้อนี้ได้ดี นอกจากนั้นทางยูนิวานิชยังมีนักวิชาการคอยให้คำปรึกษาให้ความรู้
มีการแวะเวียนเข้ามาดูสวน ดูว่าปลูกไปแล้วมีปัญหาอะไรหรือไม่
ให้คำปรึกษาเรื่องการใช้ปุ๋ยต่างๆ
การทำสวนปาล์มจึงไม่ใช่เรื่องยากสำหรับมือใหม่อีกต่อไป
“การเลือกพันธุ์ปาล์ม
นอกจากเลือกปาล์มพันธุ์ดีแล้วเกษตรกรควรเลือกซื้อจากบริษัทที่ได้มาตรฐาน
มีการคัดต้นผิดปกติทิ้ง มีบริการหลังการขาย ซึ่งทั้งหมดนี้มีประโยชน์กับเกษตรกรในระยะยาวด้วย”
ธวัชชัยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเลือกพันธุ์ปาล์มน้ำมันในแบบของเขา
ขอขอบคุณ
คุณธวัชชัย ช้างเผือก
บริษัท บางสวรรค์น้ำมันปาล์ม จำกัด
111 ม.5 ต.บางสวรรค์ อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
84210
โทรศัพท์ : 086-280-8736
เผยแพร่ครั้งแรก 12 ธันวาคม 2561
- Advertisement -
-
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น