ช่วงหลังมานี้มักได้ยินชื่อปาล์ม สปริงแบล็ค หรือชื่อเดิม
เดลี่ ไนจีเรียแบล็ค บ่อยขึ้น ไม่ใช่เพราะว่าเป็นปาล์มพันธุ์ใหม่นะ
แต่เป็นปาล์มตัวเก่าๆ ที่ให้ผลผลิตในช่วงอายุมากกว่า 8 ปีขึ้นไป
และได้ยินเสียงตอบรับจากเกษตรกรในเชิงบวกมากพอสมควร
เว็บไซต์ยางปาล์มจึงเข้าพูดคุยกับ อรรณพ ยังวนิชเศรษฐ
เกษตรกรที่ใช้ปาล์มพันธุ์สปริงแบล็คจริง โดยได้รับการแนะนำจาก หจก. สุราษฎร์พันธ์ปาล์ม
ผู้นำเข้าเมล็ดพันธุ์และผลิตกล้าปาล์มรายใหญ่รายหนึ่งของเมืองไทย
พี่อรรณพ ให้ข้อมูลว่า ปาล์มพันธุ์สปริงแบล็ค มีข้อดีคือ โคนใหญ่
ขนาดทะลายใหญ่ ผลใหญ่ เปอร์เซ็นต์น้ำมันดี มีความสม่ำเสมอในการออกทะลาย
และมีความทนแล้งระดับหนึ่ง จึงไม่ขาดคอยามแล้ง
แต่ก็มีอยู่ข้อหนึ่งที่บางคนบอกว่าเป็นข้อดี บางคนบอกว่าเป็นข้อเสีย..เอ๊ะ ยังไง
??
ก็เพราะว่าเจ้าสปริงแบล็คเป็นปาล์มที่มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูง
ฉะนั้นลักษณะตามธรรมชาติของเขาก็คือ สุกเร็ว ร่วงเร็ว
ถ้าเกษตรกรมีคนงานตัดสม่ำเสมอก็นับว่าเป็นข้อดีที่จะได้ตัดปาล์มถี่ขึ้นได้เงินไวขึ้นนั่นเอง
แต่ถ้าหาคนตัดปาล์มไม่ได้ก็จะกลายเป็นความกังวลเล็กๆ ไปกันเลยทีเดียว แต่ถ้ามองในแง่ดีนี่ถือว่ารอบตัดไวได้เงินไวกว่าเห็นๆ
แต่ถ้าหาคนตัดปาล์มไม่ได้ก็จะกลายเป็นความกังวลเล็กๆ ไปกันเลยทีเดียว แต่ถ้ามองในแง่ดีนี่ถือว่ารอบตัดไวได้เงินไวกว่าเห็นๆ
เขาให้ข้อมูลต่อไปว่าปัจจัยที่จะทำให้เราได้กำไรมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิต
จำนวนตัน/ไร่/ปี เมื่อใส่ปุ๋ยทุกแปลงเหมือนกัน แต่ทำไมผลผลิตจากแต่ละแปลงจึงไม่เหมือนกัน
ก็เพราะปัจจัยเหล่านั้นถูกกำหนดด้วยอายุปาล์ม สายพันธุ์ที่ใช้ และสภาพพื้นที่
อายุปาล์ม กำหนดปริมาณผลผลิต
แน่นอนว่าอายุของปาล์มเป็นหนึ่งในตัวกำหนดปริมาณผลผลิต
ต้นอายุน้อยยังสมบูรณ์ไม่เต็มที่ย่อมให้ผลผลิตน้อย ส่วนต้นที่อยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ย่อมให้ผลิตสูง
คือช่วงปีที่ 8 บวก ลบ เล็กน้อย และหลังจากนั้นเมื่อปาล์มอายุมากขึ้น
หรือเข้าสู่ช่วงปาล์มแก่ผลผลิตก็จะค่อยๆ ลดลง นั่นเอง
ยกตัวอย่าง ปาล์มบางพันธุ์มีลักษณะทางสั้นก็จะได้จำนวนต้นต่อไร่มากกว่า
ผลผลิตก็มีโอกาสจะมากกว่า
หรือแม้กระทั่งคุณสมบัติในการปรับตัวหรือความทนแล้งก็มีผลต่อการให้ผลผลิต
ปาล์มที่ทนแล้งได้ประมาณหนึ่งหรือทนแล้งได้ดีก็ลดโอกาสปาล์มขาดคอช่วงแล้ง ผลก็คือจะได้ผลผลิต/ต้น/ปี
สูง ยิ่งถ้าเป็นปาล์มเนื้อเยื่อก็จะมีความสม่ำเสมอมากขึ้นก็ทำให้กำไร/ไร่สูงกว่าปกติ
ต้นทุน/กิโลจะต่ำลง แต่ บวก ลบ คูณ หาร แล้วก็ยังมีกำไร
สภาพพื้นที่สอดคล้องกับการจัดการ ชี้วัดผลผลิต
สวนปาล์มของพี่อรรณพให้ปุ๋ยเหมือนกันทุกแปลง
ดังนั้นการที่ต้นปาล์มจะตอบสนองต่อปุ๋ยได้มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่
หากดินเป็นกรดสูง รากปาล์มก็ดึงสารอาหารไปใช้ไม่ได้ ดังนั้นเขาจึงให้ความสำคัญกับเรื่องการปรับสภาพดินมากพอสมควร
เพราะถ้าดินดี ปุ๋ยถึงอย่างไรผลผลิตต้องออกมาดีแน่นอน
หลังจากนั้นก็จะสลับกับการใส่กลีเซอไรด์ เพราะตัวนี้ให้ธาตุแมกนีเซียม ใส่ปีเว้นปีสลับกับโดโลไมท์ ร่วมกับการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมักที่ทำเองจาก เค้กปาล์ม ขี้วัว ขุยมะพร้าว สารเร่ง พด.1 หมักไว้ 2-3 เดือน ใส่ต้นละกระสอบประมาณ 40 กก. ซึ่งใช้เวลาอยู่หลายปีกว่าจะปรับสภาพดินให้ความเป็นกรดลดลง
ในส่วนของการใส่ปุ๋ยที่กล่าวไปในขั้นต้นนั้น
อรรณพให้ปุ๋ยแบบเดียวกันทุกแปลง ดังนี้
1. ก่อนแล้งใส่โพแทสเซียม
(K) 0-0-60 1-2 กก.
2. เริ่มหน้าแล้งเราก็ใช้
ร็อคฟอสเฟต กับแมกนีเซียม คู่กัน ต้นละ 1-2 กก.
3. เมื่อฝนเริ่มลงใส่ไนโตรเจน
(N) 21-0-0 ต้นละ 1-1.5 กก.
4. แล้วเริ่มวนมาใส่
0-0-60 1-2 กก.
5. ใส่โบรอน
ปีละ 1 ครั้ง
6. ใส่แบบนี้วนไปเรื่อยๆ
จะเท่ากับว่าใส่ปุ๋ยถึงปีละ 8 ครั้งเลยทีเดียว
“อย่างไรก็ตามมันไม่มีสูตรสำเร็จหรอก
แต่ว่าเราก็มีแผน บางครั้งช่วงที่น้ำท่วมเราใส่ไม่ได้ทิ้งช่วงเป็นเวลานานก็ต้องแก้ไขสถานการณ์ด้วยการใส่ปุ๋ยสูตร
10-10-30 เพื่อให้ปาล์มได้กินให้ครบ ให้เขาได้กิน ไม่อย่างนั้นก็ไม่ทันเวลา”
อรรณพพูดถึงปัญหาและอุปสรรคในการใส่ปุ๋ยที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ กับชาวสวนปาล์ม
ราคากับการดูแล
ราคากับการดูแล
อรรณพแสดงความคิดเห็นว่าเขายังยึดแนวทางเรื่องการจัดการเหมือนเดิม
การบำรุงรักษา การใส่ปุ๋ยก็ไม่ได้ลดปริมาณลง
แต่ก็ใส่ตามที่สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย หากมีน้ำเพียงพอก็จะต้องใส่ปุ๋ยตามปกติ
และตอนนี้มีแผนงานซ่อมแซมระบบน้ำเพื่อให้ใส่ปุ๋ยปาล์มได้ต่อเนื่องในฤดูแล้ง
“เราคิดแบบนี้ก็เพราะว่า เรามีข้อมูลเปรียบเทียบแล้วว่าถึงราคาจะจูงใจหรือไม่จูงใจ
มันก็ต้องตัด ต้องขาย เพราะว่าไม่รู้จะเอาไปไหน
มันเป็นพืชอุตสาหกรรมยังงัยเราก็ต้องส่ง
เพราะว่าเราเองยังไม่สามารถแปรรูปใช้งานเองได้ทั้งหมด
ดังนั้นปัจจัยที่จะทำให้เรามีกำไรมากขึ้น ก็คือทำอย่างไรให้ผลผลิตสูง นี่คือหัวใจ”
“และจากการสังเกตดูช่วงตั้งแต่ปลายปีที่สุราษฎร์ฯ รณรงค์เรื่องการทำปาล์มคุณภาพ
จากตัวเลขที่ทางพาณิชย์ทำตัวเลขสรุปมาให้ดู คือ
เปอร์เซ็นต์น้ำมันเกือบทุกโรงเพิ่มขึ้นจากปีก่อนๆ
แล้วเปอร์เซ็นน้ำมันเฉลี่ยสูงกว่าจังหวัดใกล้เคียง มันก็เป็นปัจจัยให้ราคารับซื้อปาล์มในสุราษฎร์นี่สูงกว่าจังหวัดใกล้เคียงตันละ
200-400 บาท ซึ่งมันไม่มากมายหรอก แต่ถ้าหลายๆ
ตันเข้าก็ตัวเงินที่ได้มันก็เยอะขึ้น”
แต่ก็มีเกษตรกรอีกไม่น้อยที่ลดการใส่ปุ๋ยลง
สังเกตจากร้านปุ๋ยรายย่อยยอดขายลดลงจากปี 2560 ประมาณ 40% ส่วนร้านขายส่งลดลงเกือบๆ 30% นี่บ่งบอกได้เลยว่าการดูแลสวนปาล์มของเกษตรกรลดน้อยลงจริงๆ
แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่ต้องตำหนิหรือดราม่า เพราะแต่ละคนมีความจำเป็นแตกต่างกันไป
ภาระหน้าที่ไม่เหมือนกัน รายรับที่ได้ รายจ่ายที่มีก็ไม่เหมือนกัน
ในสถานการณ์แบบนี้ ราคาแบบนี้ คนที่เลือกพันธุ์ปาล์มได้เหมาะสม
เลือกพันธุ์ดี เหมาะกับสภาพพื้นที่ และมีการดูแลที่ดีจะยังได้ตัดปาล์มขาย
ยังมีรายได้ แม้จะไม่เท่าเดิมแต่ก็ไม่ขาดแน่นอน
ขอขอบคุณ
อรรณพ ยังวนิชเศรษฐ
88 หมู่ 2 ถ.พุนพิน - ท่าชนะ ต.มะลวน อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี 84130
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น