ว่ากันว่า หากจะหาคู่ชีวิตที่ “ใช่”
หา “ทั้งชีวิต” อาจจะหาไม่เจอ เช่นเดียวกับการเสาะหา “พันธุ์ปาล์ม”
ที่ “ใช่” สำหรับ “พื้นที่” อาจจะไม่ยากเท่าหาคู่ชีวิตก็จริง
แต่จะหาพันธุ์ให้เหมาะสมกับพื้นที่ และสะดวกเวลาทำงานด้วย อาจจะยากพอๆ กัน
แต่สำหรับ ติ๋ม ช่วยเจริญ
หรือ “พี่ติ๋ม ระนอง” นับเป็นความโชคดี
เพราะสามารถเสาะหาสายพันธุ์ที่ใช่สำหรับพื้นที่ใน จ.ระนอง
และใช่สำหรับการทำงานของตัวเอง
เดลี ไนจีเรียแบล็คอายุ 5 ปี ฝีมือการจัดการของพี่ติ๋ม ระนอง |
เดลี ไนจีเรียแบล็ค ทนแล้ง ทะลายใหญ่ และดกทั้งปี |
━━━━━━━━━━━━━━━━━
เดลี ไนจีเรียแบล็ค / คอมแพ็ค กาน่า พันธุ์ปาล์มที่ใช่ ของ ติ๋ม ระนอง
━━━━━━━━━━━━━━━━━
เดลี ไนจีเรียแบล็ค / คอมแพ็ค กาน่า พันธุ์ปาล์มที่ใช่ ของ ติ๋ม ระนอง
━━━━━━━━━━━━━━━━━
จ.ระนอง พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินเขา
และได้ชื่อว่าเป็น “เมืองฝน” แต่เวลาเลือกพันธุ์ปาล์ม
พี่ติ๋มกลับเลือกพันธุ์ “ทนแล้ง” เป็นหลัก
ระนองฝนตกมากก็จริง แต่ช่วงแล้งนี่อากาศก็ร้อนมาก และที่สวนก็ไม่ได้ทำระบบน้ำเนื่องจากพื้นที่เป็นภูเขามีหินลูกรัง แม้ฝนจะตกมากแต่ดินอุ้มน้ำไม่ดีเท่าที่ควร เลยต้องเลือกเอาพันธุ์ทนแล้งไว้ก่อน
พันธุ์ปาล์มที่พี่ติ๋มพูดถึงคือ เดลี
ไนจีเรียแบล็ค ปัจจุบันปาล์มแปลงนี้มีพื้นที่ 10 ไร่ อายุ 5 ปี
กำลังให้ผลผลิตดกอย่างต่อเนื่อง อีกพันธุ์หนึ่งคือ คอมแพ็ค กาน่าพื้นที่ 10 ไร่ อายุ 5 ปี แม้ทะลายจะไม่ใหญ่มาก
แต่กลับเป็นข้อดีที่พี่ติ๋มชื่นชอบเป็นพิเศษ
ทะลายมันไม่ใหญ่มาก ขั้วทะลายเล็กเวลาตัดแทงก็ง่าย ยกขึ้นรถน้ำหนักกำลังดี เหมาะกับพี่ดีเพราะพี่ทำเองทั้งหมด
ปาล์มพันธุ์คอมแพ็ค กาน่า ทะลายเล็กแต่ดกสม่ำเสมอตลอดทั้งปี |
คอมแพ็คกาน่า ทะลายเล็ก ก้านเล็ก พี่ติ๋มบอกว่าตัดง่าย ยกง่าย |
ปรับการใช้ปุ๋ยให้เหมาะกับพื้นที่
และการทำงาน
━━━━━━━━━━━━━━━━━
ปุ๋ยและธาตุอาหาร เป็นเรื่องที่พี่ติ๋มให้ความสำคัญอันดับต้นๆ
พี่ติ๋มเคยบอกว่า ถ้าปล่อยให้ปาล์มขาดปุ๋ย 2 ปี กว่าจะฟื้นกว่าจะให้ผลผลิต จึงจำเป็นต้องใส่ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ
ถึงเวลาต้องให้ โดยไม่เกี่ยวว่าปาล์มจะราคาไหน “วินัย” ในการใส่ปุ๋ย จึงสำคัญ
วิธีใส่ปุ๋ยของพี่ติ๋มจะเลือกวิธี
ประหยัดสุด ประโยชน์สุด และเหมาะกับสภาพอากาศ โดยอย่างแรกเลยคือ เลือกใช้ “แม่ปุ๋ย”
เป็นหลัก ได้แก่ 21-0-0, 18-46-0 และ 0-0-60 แม้จะประหยัด และได้ประโยชน์ เต็มที่ แต่ปัญหาใหญ่ๆ คือ
ต้องใส่ทีละตัว ปีหนึ่งใส่ 6-7 รอบ
“ใส่แม่ปุ๋ยทีละตัวปาล์มอาจกินปุ๋ยไม่ทันก่อนฝนตก
น้ำพาปุ๋ยลงเขาไปหมด แม้จะมีวางทางและหญ้าช่วย ก็เอาไม่อยู่”
ตอนหลังพี่ติ๋มจึงต้องปรับเปลี่ยนนำแม่ปุ๋ยมาผสมกันทีเดียวแล้วใส่พร้อมกัน
โดยผสมให้ได้สูตร 14-10-33 อัตราส่วน 46-0-0 จำนวน 11 กก. 18-46-0
จำนวน 11 กก. และ 0-0-60 จำนวน
28 กก. (ผสมแล้วได้
50 กก.) วิธีใส่ๆ บริเวณกองทางใบ ทุกๆ 3 เดือน ครั้งๆ ละ 3 กก./ต้น/ปี
นอกจากนั้นยังเพิ่มปุ๋ย 0-3-0 ในช่วงหน้าแล้ง 3 กก./ต้น/ปี สลับใส่ปีเว้นปี ส่วน โบรอน ใส่ตอนช่วงต้นฝน กับกลางฝน 400 กรัม/ต้น/ปี แมกนีเซียม ใส่ปีละ 2 ครั้งๆ ละ 2 กก./ต้น/ปี
และยังเพิ่ม 21-0-0 ในช่วงกลางปี ซึ่งนอกจากได้ธาตุไนโตรเจนแล้วยังให้ธาตุกำมะถันด้วย และ 0-0-60 เติมเข้ามาตอนปลายปี แล้วสังเกตที่ใบว่าตัวไหนขาดพี่ก็มาเติมเอา
พอเปลี่ยนมาใช้เป็นผสม ทำให้ไม่ต้องใส่ปุ๋ยตลอดทำให้ประหยัดเวลาในการใส่ปุ๋ย แล้วก็ไม่ต้องกลัวปุ๋ยจะไหลทิ้งไปกับน้ำ และยังลดต้นทุนปุ๋ยได้อีกด้วย พอทำแบบนี้พี่รู้สึกว่าปาล์มมันได้กินปุ๋ยครบกว่า ลูกก็ยังดกเหมือนเดิม สังเกตจากเมื่อก่อนทางใบปาล์มจะขาวๆ แต่ตอนนี้ทางใบขาวเราไม่ค่อยเจอเลย เขียวสวยหมด แล้วก็ประหยัดต้นทุนปุ๋ยได้มากกว่า 14-10-33 ผสมเอง ต้นทุนตกกระสอบละ 626บาท ( 50 กก.) ถ้าซื้อปุ๋ยสูตรก็กระสอบละ 800 กว่าบาท
อย่างไรก็ตามพี่ติ๋มบอกว่า เทคนิคการทำสวนของแต่ละคนจะไม่เหมือนกัน
เพราะดินต่างกัน พื้นที่ต่างกัน สภาพฝนฟ้าอากาศก็ต่างกัน เจ้าของสวนต้องเรียนรู้
สังเกต ปรับแต่งให้เข้ากับการทำงานของตัวเองและสภาพภูมิประเทศ
ถ้ามีวินัยการใส่ปุ๋ยอย่างต่อเนื่อง ทะลายดกๆ อย่างนี้คือรางวัลตอบแทน |
พี่ติ๋ม บอกว่า ตัดปาล์มสุก เวลาไปขายลานจะได้ราคาบวกเพิ่ม 20-30 สตางค์ |
━━━━━━━━━━━━━━━━━
มั่นใจกับปาล์มน้ำมัน
ไม่คิดเริ่มต้นใหม่กับพืชอื่น
━━━━━━━━━━━━━━━━━
ในส่วนของการมองอนาคตสวนปาล์ม พี่ติ๋ม
ระนอง แสดงความคิดเห็นว่า
เราไม่รู้หรอกว่าอนาคตมันจะเป็นยังไง แต่ว่าเราปลูกมาแล้วเราก็ทำต่อ เราจะล้มต้นปาล์มแล้วก็มานับ 1 ใหม่หรอ พี่ไม่ล้มหรอก ถึงปาล์มราคาถูก แต่เราบำรุงดูแลมีทะลายดกๆ มีขายก็มีรายได้เพิ่มขึ้น ถ้ายิ่งปาล์มราคาถูก มองเข้าไปในสวนปาล์มก็ทะลายอีก ใจมันเสียนะ ระหว่างเดินเข้ามาแล้วลูกดกกับเดินเข้ามาแล้วไม่มีลูกพี่ว่าทำให้มันมีลูกดีกว่า
เผยแพร่ครั้งแรก 25 มิ.ย. 2019
ขอขอบคุณ : ติ๋ม ช่วยเจริญ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น