ใส่ธาตุแมกนีเซียมในสวนปาล์ม ใช้คีเซอร์ไรท์ VS โดโลไมท์ แบบไหนดีกว่ากัน...?
แมกนีเซียม (Mg) เป็นองค์ประกอบของคลอโรฟิลล์ ทำหน้าที่ให้ต้นปาล์มสังเคราะห์แสงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
รวมทั้งเป็นองค์ประกอบของเอนไซม์
ในการสร้างแป้งและโปรตีน มีหน้าที่เคลื่อนย้ายธาตุอาหารไปยังทะลาย
และสร้างน้ำมันในผลปาล์ม แมกนีเซียมจึงเป็นธาตุที่ต้นปาล์มต้องการมากและสม่ำเสมอ
เช่นเดียวกับ N P K
แมกนีเซียม ได้จากอะไรบ้าง...?
ธาตุแมกนีเซียมจะมีอยู่ในปุ๋ย 2 ชนิด
คือ
- คีเซอร์ไรท์ ( MgSO4 H2O ) จะมีธาตุแมกนีเซียมอยู่ 27% และกำมะถัน 20%
- โดโลไมท์ ( MgCO3+CaCO3 ) มีแมกนีเซียมอยู่ 2-20% ขึ้นอยู่กับคุณภาพของแหล่งที่มา และแคลเซียม 30-47%
คำถามต่อมา เกษตรกรควรเลือกใส่
คีเซอร์ไรท์ หรือ โดโลไมท์...?
เมื่อมองในธรรมชาติของปาล์มน้ำมัน ซึ่งต้องการแมกนีเซียมมากพอสมควร
และต้องการสม่ำเสมอ การเลือกใช้คีเซอร์ไรท์ จะตอบโจทย์ได้ดี เพราะละลายน้ำได้ง่าย
ต้นปาล์มนำไปใช้ได้เร็ว และยังใช้ง่ายเพียงแค่หว่านไปบริเวณหน้าดิน
แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพดินภาคใต้ ซึ่งเป็นแหล่งปลูกปาล์มใหญ่ของประเทศ
ส่วนใหญ่ดินมักจะเป็นกรด เนื่องมาจากเกิดการชะล้างหน้าดินอย่างต่อเนื่อง
และปลูกพืชเชิงเดี่ยวมานาน จึงมีแมกนีเซียมอยู่น้อย
แต่สำหรับสวนปาล์มที่ดินเป็นกรด
(ค่า pH ต่ำว่า 5) ควรใส่คีเซอร์ไรท์
และโดโลไมท์ สลับกันไป เนื่องจากโดโลไมท์ จะช่วยลดความเป็นกรดของดินลง
สามารถใส่ในช่วงแล้งเพื่อรอฝนได้ อีกทั้งยังช่วยทำให้ธาตุอาหารตัวอื่นในดินที่ต้นปาล์มเอามาใช้ไม่ได้
ละลายออกมา
อาการขาดแมนีเซียม ใบย่อยด้านบนที่ได้รับแสงจะมีแถบสีเหลือง ในขณะที่ใบย่อยด่านล่างสีเขียว |
แต่ในสวนปาล์มที่แสดงอาการขาดแมกนีเซียมรุนแรง
ควรใช้คีเซอร์ไรท์ เพราะจะได้ผลเร็วกว่ากว่าโดโลไมท์ ควรใส่ช่วงต้นฝน ปริมาณ
1.5-2.0 กก./ต้น/ปี ในต้นที่แสดงอาการขาด ส่วนในดินที่เป็นกรดอาจจะใส่โดโลไมท์ 2
กก./ต้น/ปี
ข้อควรจำ : คีเซอร์ไรท์
ควรใส่ใช่ช่วงที่ใส่ปุ๋ย 0-0-60 น้อย เช่น ช่วงต้นฝน เป็นต้น ส่วนโดโลไมท์ควรใส่แยกกับปุ๋ยเคมี
เพราะโดโลไมท์ เป็นปูน ถ้ารวมกับปุ๋ยเคมีจะจับตัวกันเป็นก้อนได้
ควรใส่ช่วงหน้าแล้งก่อนฝน
.
อ้างอิง :
- คู่มือเกษตรกร การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ
- สารพันปัญหาคาใจปาล์มน้ำมัน
- บทบาทของธาตุแมกนีเซียมในการเพิ่มผลผลิตปาล์มน้ำมัน โดย ธีระพงศ์ จันทรนิยม
- Advertisement -
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น