ในการปลูกปาล์มนั้น
แม้จะมีการคัดต้นกล้าที่สมบูรณ์ คุณภาพดี และมีการปลูกซ่อมต้นที่ผิดปกติในช่วงปีแรกแล้วก็ตาม
แต่เมื่อต้นปาล์มเริ่มให้ผลผลิตก็มักจะพบว่า แม้จะมีการดูแลจัดการใส่ปุ๋ยอย่างดี
ก็ยังมีต้นปาล์มบางต้นให้ ผลผลิตน้อยผิดปกติ
ซึ่งอาจเกิดจากความผิดปกติของต้นนั้นๆ
ขณะที่สวนปาล์มที่ปลูกปาล์มระยะชิด
(น้อยกว่า 9x9 เมตร) จนเกินไป ต้นปาล์มมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง
แม้ช่วงปีแรกๆ จะให้ผลผลิตดีเพราะมีจำนวนต้น/ไร่มาก แต่เมื่อต้นปาล์มเริ่มอายุมาก จะได้รับแสงแดดน้อย
ย่อมกระทบกับผลผลิตโดยรวม
คำถามคือเราจะจัดการต้นปาล์มแบบนี้อย่างไร
เพื่อให้การทำสวนปาล์มยังคงคุ้มค่ามากที่สุด
👉อย่างแรก
ต้องทำเครื่องหมายต้นที่ผิดปกติไว้ แล้วเก็บตัวเลขผลผลิตอย่างต่อเนื่อง
เพื่อประเมินว่าคุ้มค่ากับการลงทุนหรือไม่ และถ้าพบว่าไม่คุ้มค่า ต้องโค่นทิ้งทันที
ส่วนสวนปาล์มที่ปลูกระยะชิดเกินไป ช่วงแรกๆ
ควรเลือกโค่นต้นที่ผิดปกติก่อน จนเมื่อต้นปาล์มเริ่มบังร่มเงากันและกัน จนทำให้ผลผลิตต่ำ
ต้องโค่นต้นปาล์มทิ้งจำนวนหนึ่ง โดยอาจจะโค่นแบบต้นเว้นต้นก็ได้
สวนปาล์มแปลงนี้ปลูกระยะ 7.5 เมตร เมื่อต้นปาล์มโตมากขึ้นมีการแข่งขันกันสูงมาก เจ้าของสวนบอกว่ามีแผนล้มต้นปาล์มบางส่วนทิ้ง เพื่อเพิ่มแสงให้ต้นที่เหลือ (สวนอรรณพ ยังวณิชเศรษฐ) |
หลังจากปลูกปาล์มระยะชิดเกินไป 7.5x7.5 เมตร ต้นปาล์มได้รับแสงน้อย จำเป็นต้องโค่นต้นปาล์มบางส่วนทิ้ง โดยเริ่มจากต้นที่ให้ผลผลิตน้อยหรือผิดปกติ (สวน อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก) |
ทั้งนี้ การโค่นปาล์มที่ให้ผลผลิตต่ำกว่าปกติทิ้ง หรือโค่นบางส่วนทิ้งเพราะปลูกระยะชิดเกินไป จะทำให้จำนวนต้นต่อไร่ลดน้อยลง จะทำให้ได้ผลผลิตน้อยลงหรือไม่
ในความเป็นจริงถ้ามีการจัดการสวนที่ดี
นอกจากผลผลิตจะไม่ลดแล้ว ยังอาจจะเพิ่มขึ้น และลดต้นทุนได้อีกด้วย
เนื่องจากเมื่อปาล์มต้นหนึ่งถูกโค่นทิ้ง
ต้นปาล์มรอบๆ จะได้รับแสงแดดเพิ่มขึ้น ย่อมทำให้ผลผลิต/ไร่ดีขึ้น
และยังลดต้นทุนปุ๋ยต้นนั้นลงได้อีกด้วย เช่น ปกติเราใส่ปุ๋ยต้นละ 8-10 กก./ต้น/ปี
นั่นหมายถึงต้นทุนปุ๋ยที่จะลดลงอีกด้วย
อ้างอิง : คู่มือเกษตรกร
การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น