ทำให้มีอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของราก หรือดินมีลักษณะเป็นชั้นลูกรังหรือเศษหินกรวดเกิดขึ้นเป็นชั้นหนาและแน่น พบในระดับความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ซึ่งดินที่มีลักษณะไม่เหมาะสม เหล่านี้มักพบกระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจัดเป็นดินเสื่อมโทรม
นอกจากนี้การกระจายของฝนไม่ดีมีความแห้งแล้งยาวนาน ประมาณ 5-6 เดือน ช่วงถูดูร้อนอากาศร้อนจัด น้ำในดินระเหยอย่างรวดเร็ว ทำให้ระบบรากไม่สามารถดูดน้ำไปใช้ได้ ต้นยางขาดน้ำ ระดับน้ำใต้ดินลึกกว่า 3 เมตร ซึ่งมีผลต่อการเคลื่อนที่ของน้ำขึ้นมาสู่ผิวดินตามช่องว่างของอนุภาคดิน ทำให้ตันยางขาดน้ำ โดยเฉพาะดินที่เป็นดินเหนียว ทำให้ประสบปัญหาต้นยางเจริญเติบโตช้า และเปิดกรีดได้ช้ากว่าปกติ 1-2 ปี
การปลูกยางในพื้นที่แห้งแล้ง ยังพบว่าต้นยางมีลักษณะลำต้นแคระแกร็น ใบเหลือง ต้นยางตายจากยอด และยื่นต้นตาย โดยเฉพาะในปีที่ประสบปัญหาภาวะภัยแล้ง ต้นยางทั้งในสวนยางก่อนเปิดกรีดและเปิดกรีดแล้วยืนต้นตาย ร้อยละ 10 - 60 ของพื้นที ในระหว่างเดือนกุมภาพันธุ์ ถึงเมษายน ทั้งในเขตพื้นที่ปลูกยางเดิมและปลูกยางใหม่
ดังนั้นในการตัดสินใจเลือกพื้นที่ปลูกยางควรพิจารณาเลือกสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง
การปลูกยางในสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน ถึงแม้จะเป็นพื้นที่เหมาะสมต่อการปลูกยางก็ตามแต่ ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่แตกต่างกัน โดยพื้นที่ปลูกยางเดิมสามารถปิดกรีดได้เร็วกว่าพื้นที่ปลูกยางใหม่ และจากคำแนะนำพันธุ์ยางปี 2559 ของสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประทศไทย ได้แนะนำพันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 226 สถาบันวิจัยยาง 251 และ RRIM 600 ในเขตพื้นที่ปลูกยางเดิมให้ผลผลิต 429, 439 และ 296 และพื้นที่ปลูกยางใหม่ ให้ผลผลิต 344, 339 และ 254 ซึ่งให้ผลผลิตต่างกัน 85, 100 และ 42 กิโลกรัม/ไร่/ปี ตามลำดับ
จากการทดสอบพันธุ์ยางในพื้นที่ปลูกที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 900 เมตร ของจังหวัดเชียงราย ต้นยางที่ปลูกมีการเจริญเติบโตช้ากว่าปกติในพื้นที่ราบ 1-2 ปี และสามารถเปิดกรีดได้เมื่อยางอายุ 10 ปี
ที่มา : เอกสารข้อมูลวิชาการยางพารา การยางแห่งประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น