เรามาทำความรู้จักกับชื่อชิ้นส่วนของอุปกรณ์และหน้าที่การทำงานรวมถึงสัญญาลักษณ์บนหน้าปัดกัน
รถคันนี้ยี่ห้อ Toyota รุ่น 5 เริ่มผลิตตั้งแต่ปี 1984 จนถึงปี 1992 แต่ยังคงเป็นที่นิยมแพร่หลายและได้รับความนิยมจนถึงปัจจุบัน เหตุผลหลายอย่างที่หลายคนเลือกใช้และหาไว้ครอบครองคือ ตัวรถอึดและทนอะไหล่หาง่ายมากๆ เพราะเป็นรถที่ผลิตมานานแล้วมีตัดแยกชิ้นส่วนขายกันมากมาย ไม่ว่าจะหาชิ้นส่วนไหนเมื่อยามต้องซ่อมแซมก็หาได้ไม่ยากอีกทั้งราคาก็ไม่แพงตัวรถหากเดิมๆ
สแตนดาร์ดท้องตลาดราคาก็ตกตันละแสน1.5 ตัน ราคาก็แสนห้า, 2 ตัน ก็ 2แสน, 3 ตัน ก็ 3 แสน เป็นต้นหากมีอุปกรณ์พิเศษก็อีกราคาเสา 4 เมตร ก็ต้องเพิ่มเงินเมตรละหมื่น เช่น รถขนาด 1.5 ตัน เสา 3 เมตร ราคาแสนห้า, เสา 4 เมตร ก็จะราคาคร่าวๆ แสนเก้า, เพิ่มงาเทอิ้งค์ ตัวเทก็อีก 4-45,000 บาท ราคาจะไปอยู่ที่ 235,000 บาท
บุ้งกี๋ 15,000 บาท สีและยางใหม่ ค่าขนส่ง และถ่ายของเหลว ราคาจะไปตามพวกนี้ด้วยครับ รถนอกเก่าญี่ปุ่นนะครับเก่าในก็แล้วแต่ใครจะไปเจอ สภาพไหนราคาก็ต่ำๆ รองๆ ลงมา
ส่วนข้อเสียพอมี เช่น อย่าปล่อยให้น้ำมันเกียร์หรือน้ำมันเฟืองท้ายขาดหรือต่ำกว่าระดับ อาการที่ชำรุดทั่วๆ ไปของรถรุ่นนี้ คือ เกียร์จะเด้งกลับคืนมาตำแหน่งเกียร์ว่างเอง เกียร์หลุดว่างั้นเถอะ..อย่างอื่นไม่มีปัญหาใช้ลืมจริงๆ รุ่นนี้
เนมเพลทของรถรุ่นนี้บอกอะไรเราบ้าง
5FG15 -XXXXXX
5 = ผลิตมาเป็นรุ่นที่ 5 โดยเริ่มจากรุ่น 1 เรียงมาเรื่อยๆ จนรุ่นปัจจุบันที่วางจำหน่ายเป็นรถป้ายแดงคือ รุ่น 8
F = Forklift
G = แกสโซลีนใช้น้ำมันเบนซิน
D = ดีเชล ใช้น้ำมันดีเชล
15 ยกน้ำหนักได้สูงสุดที่ 1,500 กิโลกรัม หรือ 1.5 ตัน ถ้า
20 = ยกได้ 2 ตัน หรือ 2,000
กิโลกรัม
25 = ยกได้ 2.5 ตัน หรือ 2,500
กิโลกรัม
30 = ยกได้ 3 ตัน หรือ 3,000
กิโลกรัม
XXXXXX = ลำดับหมายเลขตัวรถที่ผลิตตัวนี้มีความสำคัญตรงที่การเบิกอะไหล่หรือสั่งซื้ออะไหล่บางครั้งจำเป็นต้องแจ้งลำดับเลขตัวนี้ด้วย เพราะว่าตัวเลขที่มากขึ้นอาจมีการปรับเปลี่ยนอะไหล่หรือชิ้นส่วนที่สวยงามคงทนกว่ามาใช้หรือให้อุปกรณ์บางอย่างที่ดีกว่ารุ่นแรกๆ ที่ผลิตคล้ายกับรถยนต์เหมือนกัน เรามารู้จักอุปกรณ์ทีละตัวกันครับ
สวิตซ์กุญแจ จะเป็นอุปกรณ์ตัวแรกที่เราสัมผัสเมื่อใช้รถหรือขึ้นนั่งบนเบาะคนขับเมื่อจะใช้รถจะมีตำแหน่งการทำงาน 4 จังหวะคือ ถ้าบิดมาด้านซ้ายสุดได้เพื่อเผาหัวเครื่องยนต์ก่อนสตาร์ท (สำหรับบางคันแล้วแต่เครื่องยนต์หรือเครื่องยนต์ดีเชล)
ตำแหน่งแรก – OFF ปิดระบบไฟทุกอย่างยกเว้นแตรและไฟหน้าไฟส่องสว่าง
บิดครั้งเดียว – ON เปิดไฟฟ้าเข้าระบบจ่ายไฟไฟหน้าปัดทั้งหมดจะโชว์สีแดง
บิดครั้งที่ 2 - Start คือบิดสตาร์ทติดเครื่องยนต์
เมื่อเครื่องยนต์ติดปล่อยมือกลับมาตำแหน่งที่สอง เหมือนรถยนต์ที่เราใช้ทั่วๆ ไป
หมายเหตุ : เครื่องยนต์บางรุ่นที่ติดตั้งมาบางครั้งสวิตซ์กุญแจสามารถบิดมาทางซ้ายมือได้อีกตำแหน่งเพื่อเผาหัวเครื่องยนต์ก่อนบิดสวิทซ์กุญแจเพื่อสตาร์ทติดเครื่องยนต์ นั่นจะเป็นรุ่นที่ใช้หัวเผาแบบจุ่มไปที่ห้องเผาไหม้ แต่รุ่น 5 นี้จะเผาแบบอุ่นอากาศ เครื่องเบนชินจะไม่มีเผาหัวขณะสตาร์ท
ก้านดึงเปิดฝากระโปรง ดึงขึ้นพร้อมยกฝากระโปรงจะสามารถเปิดฝากระโปรงเบาะที่เรานั่งเพื่อดูห้องเครื่องยนต์ได้
พวงมาลัยบังคับเลี้ยวและปุ่มจับมือหมุนพวงมาลัย ทำหน้าที่หักเลี้ยว รถโฟล์คลิฟท์จะมีพวงมาลัยบังคับเลี้ยวเหมือนรถยนต์ทั่วๆไปต่างกันตรงที่จะหักเลี้ยวที่ด้านล้อหลังส่วนรถยนต์ที่เราใช้เมื่อหมุนพวงมาลัยจะหักเลี้ยวจากล้อหน้า จึงมีปุ่มนี้ไว้เพื่อให้เราใช้แค่มือซ้ายซึ่งอาจไม่ใช่มือที่ถนัดใช้งานของใครหลายๆ คนแต่ไม่ต้องห่วงพวงมาลัยมีระบบเพาเวอร์แล้วเบามากรอบทดอาจมีมากเมื่อต้องการตีวงเลี้ยวจนสุดจะรู้ว่าปุ่มนี้จำเป็นจริงๆจะคล่องตัวกว่ากันเยอะเมื่อเราใช้งานจริง
คันเข้าเกียร์เดินหน้า-ถอยหลัง ก้านที่อยู่ด้านนอกจะเป็นคันเกียร์เดินหน้า-เกียร์ถอยหลัง
ตำแหน่งจะมี 3 จังหวะ ตำแหน่งกลาง = เกียร์ว่าง ตำแหน่งบน = เราดันไปหน้ารถคือตำแหน่งเกียร์เดินหน้า ตำแหน่งล่าง = เมื่อเราดึงเข้าหาตัวเราคือตำแหน่งเกียร์ถอยหลังและส่วนใหญ่เกียร์ถอยหลังจะมีเสียงเตือนดังแป๊ดๆ เมื่อเราขับรถถอยหลัง เหตุเพราะว่าการใช้งานจริงๆ ของรถโฟล์คลิฟท์ส่วนใหญ่จะขับเคลื่อนไหวถอยหลังมากกว่าเดินหน้าเพราะเวลาตักสินค้าหรือสิ่งของๆเหล่านั้นจะสูงหรือบังเส้นทางวิ่งทำให้ไม่สะดวกและอันตราย หากสิ่งของที่เราตักบังสายตาเราขณะวิ่งเดินหน้าเพื่อไปวางให้ขับรถถอยหลังใช้งานจะสะดวกและปลอดภัยกว่า
คันเข้าเกียร์หนึ่งและเกียร์สอง
จะมี 3 ตำแหน่งเช่นกัน ตำแหน่งกลาง = เกียร์ว่าง
ตำแหน่งดันไปด้านบน = ผลักไปข้างหน้ารถเกียร์
1 จะวิ่งได้แบบช้าๆ
ใช้เมื่อเราออกตัวรถขับเคลื่อนรถในที่แคบๆ
ทางวิ่งที่จำกัดหรือเคลื่อนรถเข้าตักสินค้า บรรทุกสินค้าอยู่ในงา
ขึ้นทางลาดชันลงทางลาดชันใช้เกียร์นี้แบบเดียวกับรถยนต์ที่เราขับ
ตำแหน่งดึงมาด้านล่าง = ดึงคันเกียร์เข้าหาตัวเราคือเกียร์ 2 เกียร์นี้ใช้เมื่อความเร็วรอบเครื่องยนต์เหมาะสมกับการหมุนของล้อหน้า คือถ้าเราวิ่งรถตัวเปล่าไม่ได้บรรทุกสิ่งของเมื่อขับเคลื่อนรถไประยะหนึ่งหากเราถอนคันเร่งแล้วรู้สึกว่ารถกระตุกไม่ไปต่อ ล้อหน้ารถเราดึงรอบเครื่องยนต์นั้นแสดงว่าเราต้องเปลี่ยนเกียร์มาเป็นเกียร์สองแล้ว
สังเกตง่ายๆ รถโฟล์คลิฟท์จะมีแค่สองเกียร์หากเราใช้แค่เกียร์ 1 หรือ 2 ตลอดจะมีผลต่อการสึกหรอควรใช้เกียร์ให้ถูก เพราะรถเราจะแบกน้ำหนักตลอดเมื่อใช้งานหรือต้องหักเลี้ยวในที่แคบๆ เสมอ
วิธีสังเกตง่ายๆ ขณะใช้งาน
ถ้าเราเลี้ยวรถหรือตักสิ่งของเดินหน้าหรือถอยหลังเครื่องยนต์ดูเหมือนไม่มีแรงมีควันดำๆ
ออกมาจากท่อไอเสียมากนั้นแสดงว่าขณะนั้นเราควรใช้เกียร์ 1 เพราะส่วนใหญ่คนต้องการความเร็วขณะวิ่งใช้งานจึงไม่อยากใช้เกียร์ 1 จึงทำให้สิ้นเปลืองเชื้อเพลิงและระบบเกียร์สึกหรอเร็วเราจึงเอาข้อนี้มาเขียนเตือน
สำหรับเกียร์ออโต้ คันเกียร์จะมี 3 จังหวะ บน = เกียร์เดินหน้า กลาง = เกียร์ว่าง ต้องเลื่อนคันเกียร์มาตำแห่งกลางเท่านั้นจึงจะสามารถสตาร์ทติดเครื่องยนต์ได้ เกียร์ไม่ว่าง สตาร์ทไม่ได้ บิดกุญแจไป จะเงียบไม่เจออะไรเลย ล่าง = เกียร์ถอยหลัง
แป้นอินชิ่ง สำหรับรถเกียร์ออโต้ แป้นนี้เมื่อกดจะตัดน้ำมันโบว์น้ำมันเกียร์คืนถังเพื่อชะลอรถชะลอความเร็วหยุดรถชั่วคราวโดยที่เราไม่จะเป็นต้องใส่เกียร์มาเป็นเกียร์ว่าง กดแป้นนี้ต่อ ขากดจะกดเบรคด้วยจะมีกลไกลต่อถึงกัน กดเพื่อหยุดรถทันทีเมื่อกดแป้นอินชิ่งจนสุด
แป้นกดเพื่อเบรคหรือหยุดรถ แป้นนี้จะอยู่ตรงตำแหน่งกลางของแป้นทั้งสามทำหน้าที่ห้ามล้อหยุดรถหรือทำให้รถช้าลงตามความต้องการ เช่นกันแป้นนี้ต้องมีระยะฟรี 10-15 มิลลิเมตรเช่นกันก่อนกดแป้นแล้วเบรกทำงาน
แป้นคันเร่ง แป้นนี้ทำหน้าที่ควบคุมความเร็วรอบเครื่องยนต์กดมาเครื่องยนต์เร่งเร็วขึ้นถอนแป้นถอนเท้าออกจากแป้นความเร็วรอบเครื่องยนต์ก็จะค่อยๆ ช้าลง
คันโยกระบบไฮดรอลิก รถสแตนดาร์ดจะมีแค่ 2 คันโยก หากมีมากกว่าตัวที่เกินมาจะทำงานดังนี้
คันโยกบังคับระบบไฮดรอลิกตัวที่ 3 สำหรับควบคุมอุปกรณ์พิเศษที่ติดตั้งมาเพิ่มเติมจะอยู่ตำแหน่งที่ 3 หรือ 4 จากพวงมาลัย คันโยกงาเท คันโยกงาสไลด์ซ้าย-ขวา คันโยกงาหมุน งาหนีบ เป็นต้น
คันโยกบังคับระบบไฮดรอลิกตัวที่ 2 ก้านนี้จะควบคุมการผลักเสาเข้าเมื่อดึงเข้าหาตัวเรา ผลักเสาออกเมื่อเราดันคันโยกไปด้านหน้าเราทำงานได้ข้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเราเร่งรอบเครื่องยนต์มากหรือน้อยและจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเราเปิดวาล์วผลักมากเปิดน้ำมันมากทำงานได้เร็วผลักหรือดึงน้อยๆ วาล์ว เปิดน้อยเสาก็จะเข้าออกจะเดิมแบบช้าๆ สัญลักษณ์ที่คันโยกจะเป็นรูปงาเอียงขึ้นและปลายงาเอียงลง
คันโยกบังคับระบบไฮดรอลิกตัวที่ 1 คันโยกตัวนี้จะอยู่ใกล้มือเราที่สุดเมื่อเรานั่งในตำแหน่งคนขับทำหน้าที่บังคับงาขึ้นและลงเมื่อเราใช้งาน
ดึงเข้าหาตัวเราคือเราต้องการยกงาขึ้นช้าหรือเร็วตามรอบเครื่องยนต์ที่เราเร่งและเราเปิดวาล์วเร่งเครื่องยนต์มากดึงคันโยกเปิดวาล์วมากก็จะขึ้นอย่างรวดเร็ว
แต่จะกลับกันขณะปล่อยลงจะลงตัวยกน้ำหนักที่กดทับบนงาเอง คือ ถ้ามีน้ำหนักมากเปิดวาล์วมากการลงจะเร็วมากจะไม่มีผลต่อการเร่งรอบของเครื่องยนต์เพราะกระบอกน้ำมันที่ดันยกงาจะมีน้ำมันไปเลี้ยงทางเดียวคือด้านล่างส่วนด้านบนของกระบอกยกงานจะมีแค่สายน้ำมันไหลกลับเพื่อระบายลมและให้น้ำมันให้คืนสู่ถังหากมีการรั่วซึมเล็กน้อย รูปสัญญาลักษณ์จะเป็นรูปงายกขึ้นและรูปงาลงตามลูกศร
ฝาเติมน้ำมันเชื้อเพลิง เติมเฉพาะน้ำมันเบนชิน สามารถเติมแก๊สโซฮอล 91,95 ได้ ข้อควรระวังต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้งที่มีการเติมน้ำมันเพื่อความปลอดภัย
จุดเติมน้ำมันเครื่องยนต์ หมุนเกลียวเข้าหรืออกได้เมื่อต้องการเปิดปิดน้ำมันเครื่องยนต์ใช้เบอร์ 40 SAE จำนวนที่ใช้ 4.5 ลิตร ระยะเวลาเปลี่ยนถ่ายคือ เปลี่ยนทุกๆ 500 ชั่วโมงหรือทุกๆ 3 เดือนถ้าเราใช้งานต่อเนื่องทั้งวันๆ ละเฉลี่ย 8 ชั่วโมง
คอห่านหม้อน้ำด้านบน ภายในจะมีวาล์วน้ำปิด-เปิด น้ำหล่อเย็นเพื่อเลี้ยงระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ ตัวท่อยางต้องไม่กรอบมีรอยปริ ตัวคอห่านต้องไม่กร่อนมีน้ำซึม หากเราเผลอใช้จนเพลินน้ำในระบบรั่วหายไปได้จากอาการดังกล่าวเครื่องยนต์เราอาจเสียหายได้ถ้าน้ำแห้ง และควรเติมน้ำยากันน้ำเป็นสนิมหรือน้ำยากันความร้อนในหม้อน้ำด้วยเพื่อลดการกักร่อนชิ้นส่วนพวกอลูมีเนียมและเหล็กต่างๆ
กรองอากาศ ทำหน้าที่กรองสิ่งสกปรกที่ปนมากับอากาศเราต้องเป่าทุกเดือนหรือทุกสัปดาห์ ถ้าใช้งานแล้วมีฝุ่นละอองมากเปลี่ยนทุกๆ 1,200 ชั่วโมง วิธีสังเกตว่าหมดอายุครับ กระดาษไส้กรองต้องไม่ล้มไม่ยุ่ยหรือเปื่อย เป่าแล้วลมผ่านสะดวกถ้าไม่เป็นตามนี้ควรเปลี่ยนใหม่
ที่เติมน้ำมันไฮดรอลิก จะมีขีดบอกด้านบน H ด้านล่าง L ควรตรวจเติมให้ได้ระดับเสมอ เติมมากจะล้นออกมา เติมน้อยน้ำมันขาดจะยกไม่ขึ้นสะดุดๆเมื่อเรายกงา สามารถใช้น้ำมันในท้องตลาดได้เลยคือเบอร์ 32 SAE หรือ 68 SAE เปลี่ยนใหม่ทุกๆ 1,200 ชั่วโมง ภายในห้องน้ำมันจะมีใส่กรองน้ำมันไฮดรอลิกมี 2 ใบกรองดูดและกรองไหลกลับถัง
ปั้มน้ำมัน AC ทำหน้าที่จ่ายน้ำมันตามท่อผ่านคาร์บูเรเครื่องยนต์เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดและมีหน้าที่จ่ายน้ำมันเข้าเครื่องยนต์ยนต์และหยุดจ่ายน้ำมันเมื่อเราบิดสวิตช์กุญแจ OFF ดับเครื่องยนต์เมื่อต้องการจะดับจะทำงานจ่ายน้ำมันเมื่อมีไฟมาเลี้ยงโชลินอยล์คาร์ลผู้บางครั้งสวิตช์เปิดน้ำมันเสียก็มีสตาร์ทเครื่องยนต์ได้เครื่องยนต์หมุนติ้วแต่รถไม่ติด ให้สังเกตเบื้องต้นว่าเมื่อเราเปิด ON สวิตช์กุญแจจะมีเสียงทำงานดังติ๊กๆเมื่อเปิด-ปิดกุญแจ ถ้าไม่มีเสียงดังอาจมีสายไฟหลุดหรือหลวมก็เป็นได้หรืออาจลองต่อสายไฟตรงจากแบตเตอร์รี่ไปเลี้ยงตรงว่าทำงานดังติ๊กๆหรือไม่ติ้ก เครื่องยนต์ จะไม่ติดครับ
ไม้วัดระดับน้ำมันเครื่องยนต์ มีขีดบน มีขีดล่าง ควรตรวจเติมให้ได้ระดับดังกล่าวไม่ควรเติมเกินหรือเผื่อไว้เพราะจะเกินระดับจะเกิดฟองเล็กๆในเนื้อน้ำมันและเพิ่มแรงฝืดภายในเมื่อเพลาข้อเหวี่ยงไปตีกับน้ำมันที่มากเกินไป
ยางล้อหลัง จะเป็นล้อบังคับเลี้ยวจะบิดซ้ายบิดขวาหมุนตามพวงมาลัยตลอดจะสึกหรอเร็วกว่าล้อหน้าซึ่งเป็นล้อตะกุยขนาดยางที่ใช้คือ 500-8
กระบอกคว่ำ-หงาย อุปกรณ์ที่อยากให้เรียกชื่อให้ถูกอีกตัวเพราะเวลาแจ้งซ่อมคุยกันบางท่านเรียกชื่อไม่ได้ แกนชัก แกนชักรั่วหรือกระบอกแขนมันยืดออกไม่เท่ากัน ตัวนี้เรียก “กระบอกคว่ำ-หงายเสา” หรือ “กระบอกแขน” ที่หลายๆ ท่านชอบเรียกกัน มีหน้าที่ผลักเสา เข้า-ออก จากตัวรถเวลาเราจะเทหรือวางสิ่งของ จะมีน้ำมันเลี้ยงสองทางทำงานได้ 2 ทางช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเราเปิดวาล์วดึงมากก็เร็วเร่งเครื่องยนต์มากก็ทำงานเร็ว ในทางกลับกัน เปิดวาล์วน้อยไม่เร่งเครื่องยนต์เลยก็ทำงานช้า ด้านปลายจะมีเกลียวให้ตั้งระยะเพื่อให้กระบอกทั้งสองข้างได้ทำงานยืดออกและหดเข้าได้เท่ากัน
กระบอกยกงา กระบอกนี้อยู่กับเสายกมีหน้าที่ดันเสาให้เลื่อนขึ้นเมื่อเราดึงคันโยกเข้าหาตัวและปล่อยเสาลงพื้น เมื่อเราดันคันโยกไปด้านหน้ายกขึ้นช้าเร็วใช้แรงดันจะน้ำมันและการเปิดวาล์วเร่งเครื่องยนต์ปล่อยลงใช้น้ำหนักตัวมันเองกดให้หดลงเองช้าเร็วเร่งเครื่องยนต์ไม่มีผลขึ้นอยู่กับเราเปิดวาล์วเท่านั้น
ข้อควรปฏิบัติในการใช้รถ
-
ตรวจเช็คระดับน้ำและน้ำมันต่างๆก่อนใช้รถเสมอ
-เดินดูรอบรถก่อนก้มดูรอยหยดรอยรั่วซึมทุกครั้งก่อนน้ำรถไปใช้
-จอดรถให้เป็นที่จอดที่เดิม
รั่วซึมเราจะเห็นก่อน
-หลีกเลี่ยงการเลี้ยวรถและเบรกอย่างกะทันหันบนทางลาดชัน
เพียงเท่าท่านก็จะใช้รถโฟล์คลิฟท์ได้ปลอดภัยแล้วครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น