เกษตรกรสวนปาล์มมักเข้าใจว่า โดโลไมท์ คือ ปุ๋ยที่ให้ธาตุแมกนีเซียม ซึ่งเป็นหนึ่งในธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ถูกต้องส่วนหนึ่งเท่านั้น ยังมีอีกส่วนหนึ่งที่จำเป็นต้องรู้ก่อนจะใช้โดโลไมท์
รู้จักโดโลไมท์
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า โดโลไมท์
คือ ปูน ไม่ใช่ ปุ๋ย เป็นสารปรับปรุงดิน ช่วยเพิ่มค่า pH
ดิน เมื่อมีสภาพเป็นกรด ความพิเศษของโดโลไมท์ คือ จะมีธาตุอาหารพืช 2
ตัว เป็นผลพลอยได้มาด้วย คือ แคลเซียม 30% และแมกนีเซียม
20%
ประโยชน์ของโดโลไมท์
✔ช่วยปรับปรุงสภาพดินที่มีค่า pH เป็นกรดให้เหมาะกับการเติบโตของพืช
ทำให้พืชดูดธาตุได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะ ฟอสฟอรัส แคลเซียม และแมกนีเชียม
✔ช่วยลดความเป็นพิษของจุลธาตุ (Fe Mn Zn Cu) และอลูมินั่ม (AI)
ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่ม pH เนื่องจากในดินกรดจุลธาตุและอลูมินั่มจะละลายออกมามากจนเป็นพิษกับพืช
✔เพิ่มธาตุอาหารแคลเซียมและแมกนีเซียมในดิน
✔ช่วยเพิ่มการดูดซับธาตุอาหารของดินพืชก็สามารถดูด
ไปใช้ได้นานขึ้น (เพิ่มค่า CEC
= Catch Ion Exchange Capacity ความสามารถในการจับหรือแลกเปลี่ยนประจุบวกต่ำ)
เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน
ซึ่งเป็นผลจากการเพิ่ม pH เพราะจุลินทรีย์บางตัวทนสภาพกรดจัดไม่ได้
โทษของโดโลไมท์
✖ในพืชปาล์มน้ำมันการใส่โดโลไมท์เกษตรกรมักหวังผลจากแมกนีเซียม
และแคลเซียม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกนัก จึงใส่ปริมาณมากเกินไป จนกลายเป็นโทษ
และนี่คือโทษของการใส่โดโลไมท์มากเกินไป
✖ค่า pH ดินเป็นด่างเกินไป
ทำให้พืชดูดธาตุอาหารบางตัวไม่ได้ เช่น ฟอสฟอรัสและจุลธาตุต่างๆ (Fe Mn Zn
Cu )
✖แคลเซียมและแมกนีเซียม
ที่มีมากเกินไปจะไปขัดขวางการดูดธาตุโพแทสเซียม
✖ทำลายโครงสร้างดิน ดินแน่นแข็ง
น้ำซึมผ่านยาก
เมื่อไหร่จึงใส่โดโลไมท์
อันดับแรกก่อนจะใส่โดโลไมท์ควรวัด pH ดิน
และควรหวังผลการใส่เพื่อปรับสภาพดินที่เป็นกรด (ค่า pH ต่ำกว่า
5) ไม่ควรใส่หากดินเป็นด่าง
ปริมาณการใส่ที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน ในดินที่เป็นกรด 2 กก./ต้น/ปี
โดยใส่สลับกับคีเซอร์ไรท์
📌มีผลวิจัยว่า
ใช้โดโลไมท์ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์
สามารถปรังปรุงดินกรดได้เร็วกว่าใช้โดโลไมท์อย่างเดียว
อ้างอิง : https://www.facebook.com/KasetGradeD/posts/418037442121276
https://www.facebook.com/univanichoilpalmseeds/posts/969208223873870
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น