พื้นที่ดินมีลักษณะเป็นดินเปรี้ยวจัด จะปลูกปาล์มน้ำมันได้หรือไม่ และมีวิธีจัดการตลอดจนดูแลอย่างไรให้ได้ผลผลิต บทความนี้มีคำตอบ
ดินเปรี้ยวจัด หรือ ดินกรดกำมะถัน
(acid
sulfate soils) หมายถึงดินที่มีสารประกอบไพไรต์ (FeS2) เป็นองค์ประกอบ
เมื่อผ่านกระบวนการออกซิเดชั่น จะทำให้เกิดกรดกำมะถัน (H2SO4) ในชั้นดิน
และฤทธิ์ของความเป็นกรดรุนแรงมากจนส่งผลกระทบต่อการปลูกพืช
ดินชนิดนี้มักพบจาโรไซต์ [KFe3(SO4)2(OH)6] ลักษณะสีเหลืองฟางข้าวที่ชั้นใดชั้นหนึ่งในหน้าตัดดิน
เกิดในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลที่มีหรือเคยมีน้ำทะเล
หรือมีน้ำกร่อยท่วมถึงในอดีต
การเตรียมกล้าพันธุ์ปาล์มน้ำมัน
ควรเลือกต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่แข็งแรง
สมบูรณ์ มีอายุประมาณ 12-14 เดือน
ทําการขนย้ายด้วยความระมัดระวัง และนําไปปลูกในพื้นที่ที่เตรียมไว้
การปลูกปาล์มน้ำมัน
กําหนดระยะปลูกปาล์มน้ำมัน
ถ้าคันดินปลูกปาล์มกว้าง 5-6 เมตร แนะนําให้ปลูกแถวเดียวตรงกลางร่อง
มีระยะปลูก 8x8 ตารางเมตร หรือ 9x9 ตารางเมตร และถ้าคันดินปลูกปาล์มกว้าง 8 เมตร
แนะนําให้ปลูกแถวคู่สลับฟันปลา มีระยะปลูก 8X8 ตารางเมตร
หรือ 9X9 ตารางเมตร เช่นเดียวกัน
ขั้นตอนการปลูกปาล์มน้ำมัน
👉ใส่ปุ๋ยรองก้นหลุมเพื่อเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน
โดยรองก้นหลุมด้วยร็อกฟอสเฟตใน อัตรา
250-500 กรัมต่อหลุม หลังจากที่ใส่โดโลไมท์และ
ปุ๋ยหมักลงในหลุมปลูกแล้วประมาณ 2 ใน 3
👉คลุกเคล้าดินกับปุ๋ยเพื่อป้องกันการสัมผัสของ
รากโดยตรง
👉วางถุงกล้าปาล์มให้ตรงจุดที่ต้องการ
และพยายามให้ส่วนของต้นอยู่ในระดับเดียวกับที่อยู่ในถุงพลาสติก
👉ใส่ดินลงไปในหลุมโดยใส่ดินชั้นบนลงไปก่อน
และอัดดินให้แน่น เพื่อป้องกันการล้มเมื่อลมพัดแรง
-คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือใบหญ้าแฝก
หรือปลูก พืชตระกูลถั่ว คลุมบริเวณโคนต้น ช่วยรักษาความชื้น ในดิน และรดน้ำให้ชุ่ม
👉การตรวจแปลงหลังจากการปลูก
เพื่อให้แน่ใจว่าต้นกล้าอยู่ในสภาพเดิม
ต้นใดที่ยังอัดดินไม่แน่นหรือถูกลม พัดโยก ต้องทําหลักแล้วผูกให้แน่น
👉การปลูกซ่อม ควรเตรียมต้นกล้าปาล์มน้ำมัน สํารองไว้ประมาณ 5% ของต้นกล้าทั้งหมด การซ่อมควรทํา ภายในระยะเวลา 1 เดือน หลังจากปลูก
การดูแลรักษา
👉กําจัดวัชพืช
โดยใช้เครื่องตัดหญ้าและแรงงานคน
👉ควบคุมระดับน้ำในร่องให้มีสม่ำเสมอ
ให้น้ำทุกวันในช่วงแรกปลูก โดยให้น้ำระบบสปริงเกลอร์หรือให้น้ำแบบใช้เรือพ่น
👉การให้น้ำระบบสปริงเกลอร์นั้น
ต้องมีสระน้ำขนาดใหญ่เก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งโดยต่อท่อวางระบบให้น้ำแบบสปริงเกลอร์
โดยใช้หัวฉีด 1 หัวในช่วงแรกของการเจริญเติบโตปีที่ 1-2 และใช้หัวฉีด 2
หัวต่อต้นในปีที่ 3 เนื่องจากปาล์มน้ำมัน เจริญเติบโตเต็มที่ เริ่มให้ผลผลิต
มีความต้องการน้ำปริมาณมาก
👉การใช้ทะลายเปล่าปาล์มน้ำมันไปคลุมดินบริเวณโคนต้นปาล์ม เมื่อย่อยสลายจะช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน
ที่มา : กรมพัฒนาที่ดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น