ปุ๋ยทั้ง 2 ตัว ให้ค่าธาตุ P ต่างกัน ปุ๋ย 0-3-0 หรือ หินฟอสเฟต ซึ่งก็คือ หินชนิดหนึ่งที่มีแร่ธาตุฟอสฟอรัสอยู่
แต่มีอยู่ 20% (1 กก.มีเนื้อปุ๋ย P อยู่ 200 กรัม) และด้วยความที่เป็นหิน จึงมีละลายตัวช้า และค่อยๆ
ปลดปล่อย 3% จนกว่าจะหมด ที่สำคัญปุ๋ยตัวนี้ใช้ได้ดีกับสภาพดินที่เป็นกรด
รศ.ดร.สุมิตร ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารพืช เคยให้ข้อมูลเรื่องนี้ว่า ปุ๋ยสูตร 0-3-0 คือปุ๋ยหินฟอสเฟส ซึ่งเป็นปุ๋ยที่ราคาถูกที่สุด เพราะมีส่วนของฟอสเฟสที่ละลายน้ำได้แค่ 3% ตามสูตรปุ๋ย 0-3-0 มีแค่ 3% ปุ๋ยหินฟอสเฟสเป็นการไปขุดเอาปุ๋ยหินฟอสเฟสมาบดแล้วก็มาใส่ให้พืช ซึ่งทั้งหมดของฟอสเฟสที่มีอยู่ในหินฟอสเฟสไม่ได้มีแค่ 3% แต่มีตั้งแต่ 20% ขึ้นไปจนถึง 35% ในประเทศไทยส่วนใหญ่จะมี 20 กว่า% ถ้าเราใส่ลงไปในดินกรด ใช้ได้เฉพาะดินกรดอย่างเดียวเท่านั้น ดินด่างใช้ไม่ได้ ดินที่ pH สูงใช้ไม่ได้ เพราะเราต้องการกรดไปละลายหินฟอสเฟสให้ออกมาเป็นฟอสเฟสที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เพราะฉะนั้นการใส่ปุ๋ยหินฟอสเฟสจึงมีราคาถูก
ขณะที่ 18-46-0 มีเนื้อปุ๋ย P 46% (1 กก. มี P 460 กรัม) ลักษณะของเนื้อปุ๋ยชนิดนี้จะละลายและปลดปล่อยธาตุได้ดี ซึ่งตรงนี้เป็นทั้งข้อดีและข้อเสีย คือ ต้นปาล์มสามารถดูดซึมธาตุอาหารไปใช้ได้เร็ว แต่ก็มีโอกาสสูญเสียไปกับน้ำฝนได้ง่าย ในกรณีที่มีฝนตกหนักๆ ในช่วงที่ใส่ปุ๋ย นอกจากนั้น ยังมีปุ๋ยไนโตรเจน (N) อยู่ 18%
👉0-3-0
VS 18-46-0
เลือกแบบไหนดี
เป็นที่รู้กันดีว่าพื้นที่ปลูกปาล์มในภาคใต้ส่วนใหญ่มีสภาพเป็นกรด ปุ๋ย 0-3-0 จึงเป็นตัวเลือกที่ดี ด้วยคุณสมบัติละลายช้าจึงมีโอกาสสูญเสียน้อย และสามารถใส่รอฝน
อย่างไรก็ตาม 18-46-0 ก็มีข้อดีและเหมาะสมกับสวนปาล์มเช่นกัน สำหรับต้นปาล์มที่มีอาการขาดฟอสฟอรัสชัดเจน คุณสมบัติปลดปล่อยธาตุได้เร็วจะช่วยให้ต้นปาล์มได้ธาตุรวดเร็วกว่าใช้ 0-3-0 ขณะเดียวกันสภาพดินที่มีความเป็นด่าง pH สูงกว่า 6 เพราะปุ๋ย 0-3-0 จะละลายยาก และพื้นที่ที่มีฤดูน้ำท่วมขัง ก็ไม่เหมาะสำหรับการใช้ 0-3-0 เช่นกัน
ข้อพิจารณาหลักอีกประเด็นคือ 0-3-0 ราคาถูกกว่า 18-46-0 ซึ่งเหมาะกับสวนปาล์มที่ใช้ปุ๋ยมากๆ ดังนั้นแนวทางการใช้ฟอสฟอรัสให้มีประสิทธิภาพคือ ใช้ปุ๋ย 0-3-0 เป็นหลัก แต่ถ้าต้นปาล์มแสดงอาการขาดธาตุฟอสฟอรัสก็ใส่ปุ๋ย 18-46-0 ร่วมด้วย เพราะจะให้ฟอสฟอรัสได้เร็วกว่า แล้วค่อยใส่ 0-3-0 หรือในปีถัดไปใช้เฉพาะ 0-3-0 อย่างเดียว
👉การใส่ 0-3-0 ควรใส่ปริมาณเท่าไหร่และมีวิธีใส่อย่างไร
ปริมาณการใส่เพื่อรักษาระดับฟอสเฟตควรใส่
1.5-2.0 กก./ต้น/ปี
โดยใส่รอบแรกของการใส่ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยควรหว่านให้กระจายใต้ทรงพุ่ม ห้ามวางเป็นกอง
แต่กรณีที่ดินเป็นกรดให้หว่านเป็นแถบตามรัศมีทรงพุ่ม
ข้อควรจำ ต้องใช้ปุ๋ย 0-3-0 ที่มีคุณภาพและเชื่อถือได้
👉โทษของปุ๋ยฟอสฟอรัส หากมีในดินมากเกินไป
รศ.ดร.สุมิตร ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารพืช ให้ข้อมูลว่า ดินยึดฟอสฟอรัสไว้ได้มาก เมื่อใส่เข้าไปในดินแรกๆ ปุ๋ยฟอสฟอรัสจะละลายน้ำได้ดี พอละลายน้้ำออกมาเป็นไอออนก็จะทำปฏิกิริยาในดินอย่างรวดเร็ว ซึ่งการทำปฏิกิริยาในดินของฟอสฟอรัสก็จะมีทั้งทำปฏิกิริยากับอนุภาคดินเหนียว หรือที่เรียกว่าเป็นส่วนเล็กๆ ที่มีประจุบวกอยู่ ก็จะไปยึดอยู่กับอนุภาคดินเหนียว แล้วก็จะไปทำปฏิกิริยากับเหล็ก และอะลูมินัมในดินกรด ในดินที่เป็นกรดจัดฟอสฟอรัสก็จะตกตะกอนกับเหล็กและอะลูมินัมแล้วก็จะละลายออกมาได้น้อยหรือช้ามากๆ หรือบางครั้งอาจจะเกิดปฏิกิริยาที่ทำให้ฟอสฟอรัสตรงนี้แทบจะไม่ละลายออกมา เพราะฉะนั้นการจะใส่ฟอสฟอรัสให้มีประสิทธิภาพสูงก็จะเกิดได้ยาก เพราะว่ามันมีปัจจัยเกี่ยวกับดินมาเกี่ยวข้อง
แล้วอย่างนี้เราต้องทำอย่างไร..?
เราก็จะต้องปรับ pH ของดินให้เหมาะสม เพราะ pH เป็นตัวควบคุมการละลายของธาตุพวกเหล็กต่างๆ อะลูมินัม แล้วก็เป็นตัวที่ทำให้ดินมีประจุ บวก หรือ ลบ เพิ่มขึ้น เปลี่ยนแปลงไปตามค่า pH ฉะนั้นสิ่งที่ดีที่สุดในการทำให้ฟอสฟอรัสในดินละลายออกมาได้ดีก็คือปรับ pH ของดินให้อยู่ที่ระดับ 5.5-6.5 ในช่วงนี้ฟอสฟอรัสก็จะละลายออกมาจากดินได้ดีที่สุด แล้วจะทำให้ประสิทธิภาพของปุ๋ยฟอสเฟสที่เราใส่ลงไปมากขึ้น
ข้อมูลอ้างอิง :
👉สารพันปัญหาคาใจ ปาล์มน้ำมัน
สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.)
👉ข้อเขียนของ : วิชณีย์
ออมทรัพย์สิน กลุ่ม Facebook ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี
👉https://www.youtube.com/watch?v=nDxu_goAqrU
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น