ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

กรีดยางอย่างไร ให้ได้ผลผลิตเพิ่ม...? เทคนิคกรีดยาง เพื่อเพิ่มผลผลิต

การเพิ่มผลผลิตยาง เป็นเทคนิคการจัดการสวนยางอย่างหนึ่งที่เกษตรกรควรให้ความสำคัญ นอกจากจะลดต้นทุุนและเพิ่มผลผลิตแล้ว ยังสามารถสร้างความยั่่งยืนให้กับเกษตรกรชาวสวนยางได้ โดยสามารถกรีดต้นยางได้นานขึ้นทำให้คุ้มค่าต่อการลงทุน

 

ดังนั้นจึงแนะนำให้เกษตรกรใช้หลัก ปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในการจัดการแปลงยางพารา ตามมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practices) เพื่อให้ชาวสวนยางมีวิธีจัดการสวนยางพาราได้อย่างถููกต้องตั้งแต่การปลููก การใส่ปุ๋ย วิธีการกรีด ระบบกรีด ใช้เทคนิคที่ง่ายไม่ต้องลงทุุนเพิ่มแต่อย่างใด เพียงปรับพฤติกรรมการกรีดด้วยการใช้ระบบ กรีดยางตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย 3 ระบบ ดังนี้

  • กรีดครึ่งลำต้น (กรีด 2 หน้า) โดยกรีด 1 วัน หยุุด 2 วัน (S/2 d3) เหมาะสมกับพันธุ์ยางทั่วไป โดยเฉพาะพันธุ์ที่อ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง เช่น พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง
  • กรีดครึ่งลำต้น โดยกรีด 1 วัน หยุุด 1 วัน (S/2 d2) ใช้ได้กับพันธุ์ยางทั่วไป
  • กรีดครึ่งลำต้นหรือกรีด 1 ใน 3 ของลำต้น (กรีด 3 หน้า) กรีดติดต่อกัน 2 วัน หยุุด 1 วัน (S/2 d1 2d3, S/3 d1 2d3) ใช้กับเปลือกงอกใหม่ ไม่ควรกรีด เกิน 160 วันต่อปี และไม่ควรใช้กับพันธุ์ยางที่อ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง 

👉เทคนิคการกรีดยางต่ำกว่าหัวเข่า

นอกจาก 3 ระบบ ตามที่กล่าวข้างต้น มีข้อแนะนำสำหรับต้นยางที่กรีดต่ำกว่าหัวเข่า ซึ่งชาวสวนยางมักประสบปัญหาเรื่องมุุมกรีดไม่ได้องศา กรีดบาด กรีดลึก และหน้ากรีดเสียหาย เนื่องจาก การกรีดที่ยากลำบาก ไม่มีความถนัด ไม่ทราบเทคนิค และไม่มีวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดังนั้นเทคนิคที่ง่ายเพื่อให้ยังคงรักษามาตรฐานการกรีดยางที่ถูกวิธี ใช้เปลือกยางอย่างคุ้มค่า ได้ผลผลิตตอบแทนสูงสุุด อีกทั้งยังลดการบาดเจ็บบริเวณหลังและหัวเข่าของ คนกรีดจากการก้มต่ำ  สามารถปฏิบัติได้ดังนี้

  • ให้หงายมีดกรีด แล้วจรดปลายมีดกรีด (ภาพที่1)
  • กระตุุกมีดกรีด โดยลากถอยหลังจาก ด้านล่างขึ้นด้านบน ในระหว่างการลากขึ้นให้เดินสลับ เท้าเพื่อให้สัมพันธ์กับการกรีด (ภาพที่2)
  • ลากมีดและกระตุกข้อมือเบาๆ ให้สุดเส้น แบ่งครึ่งด้านหลัง (ภาพที่3)

  1. ภาพ 1
    ภาพ 2
    ภาพ 3

👉 กรีดอย่างไรไม่ให้หน้ายางเสียหาย

ตามธรรมชาติเปลือกของต้นยางมีความลึก 6-10 มม. โดยก่อนถึงเยื่อเจริญจะมีท่อน้ำยางเรียงกันอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่่งการกรีดเข้าไปจะต้องไม่ให้โดนเยื่อเจริญหรือใกล้เยื่อเจริญมากนัก เพราะเยื่อเจริญมีหน้าที่สร้างเปลือกยางใหม่แทนเปลือกเก่าที่กรีดไป

 

การกรีดหน้ายางที่ดีจะเป็นการเพิ่มผลผลิตน้ำยางได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามจะต้องกรีดต้นยางไม่ บางจนเกินไปและไม่ลึกจนถึงเยื่อเจริญอาจจะดููเหมือน ง่ายแต่ในทางปฏิบัตินั้้นยาก จำเป็นต้องมีการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญจึงจะสามารถกรีดยางได้

 

แต่หากขาดการฝึกฝนและขาดความชำนาญแล้ว ความเสียหายที่เกิดขึ้น คือหน้ายางเสียหายเป็นแผลจนถึงแก่นไม้ (ภาพที่4) ทำให้ไม่สามารถกรีดยางบริเวณนั้นได้อีก เนื่องจากเยื่อเจริญที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกยางขึ้นมาใหม่จะถููกทำลายไปด้วย ทำให้ไม่สามารถสร้างเยื่อเจริญขึ้นมาใหม่ได้ จะส่งผลต่ออายุุของต้นยางที่กรีดได้จำนวนวันกรีดลดลงไปด้วย ยิ่งมีจำนวนต้นยางที่มีลักษณะเป็นแผลจนถึงแกนไม้ยางจำนวนมากเท่าไร พี่น้องเกษตรกรก็จะยิ่งสููญเสียรายได้หากจะตีราคาเป็นเม็ดเงินที่เสียหายไปนั้น นับหลักแสน หลักล้านบาทเลยที่เดียว นอกจากนี้ยัง ส่งผลให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับหน้ายาง รวมถึงไม้ยางก็ขายไม่ได้ราคาอีกด้วย

 

ดังนั้นการใช้หลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในแปลงยางพารา ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทยจะทำให้พี่น้องเกษตรกร สามารถเพิ่่มผลผลิต สร้างรายได้ และสร้างความยั่งยืนให้กับเกษตรกรและประเทศชาติได้

ภาพ 4

👉 ปักมีดให้ถึงเส้นแบ่งรอยกรีดหน้าหลัง

ตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร (เดิม) ได้แนะนำให้เปิดกรีดเมื่อต้นยางมีเส้นรอบวง 50 เซนติเมตร วัดจากระดับความสููง 150 เซนติเมตรจากพื้นดิน การเปิดหน้ากรีดแนะนำให้แบ่งหน้ากรีดแบบครึ่งต้น กรีดแบบ 2 วันเว้น 1 วัน โดยที่เกษตรกรส่วนใหญ่มักจะละเลยคำแนะนำหรือไม่มีความเข้าใจหลักการ แต่การแบ่งรอยกรีดมีวัตถุุประสงค์เพื่อให้สามารถเก็บเกี่ยวน้ำยางให้ได้มากที่สุด สอดคล้องกับหลักปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีที่ให้ความสำคัญของการปักมีดกรีดให้ถึงเส้นรอยแบ่งกรีด ดังนี้

  • ทำรอยแบ่งหน้ากรีดต้นยางออกเป็นสอง ส่วน คือ ส่วนหน้าและส่วนหลังที่ระดับความสูงจาก พื้นดิน 150 ซม. ให้มีความยาวลงมา 25-30 ซม. โดยให้มีร่องลึกไม่ให้บาดเนื้อไม้
  • จรดมีดกรีดยางหรือวางมีดกรีดโดยให้เดือย ของมีดกรีดอยู่กึ่งกลางรอยแบ่งครึ่งด้านหลัง
  • ตะแคงมีดออกจากลำต้นเล็กน้อยแล้วค่อยๆ ตั้งมีดให้ตรง แล้วกระตุกมีดเข้าหาตัว ให้กินเปลือกไม้ความหนาไม่เกิน 2 มม. โดยกระตุกมีดกรีดตามความยาวของหน้ากรีดทำมุม 30 องศา

การกรีดที่ห่างจากเส้นแบ่งรอยหน้าหลังระยะ ไม่ถึงเพียง 2 ซม. ถ้าต้นยาง 1,000 ต้น จะปักไม่ถึง ท่อน้ำยางถึง 2,000 ซม. หากเส้นแบ่งรอยกรีดหน้า-หลัง มีระยะห่างโดยเฉลี่ย 25 ซม. จะทำให้กรีดไม่ถึงท่อน้ำยาง 80 ต้น คิดเป็นผลผลิตเนื้อยางแห้งที่สูญเสีย 3 กิโลกรัม หากขายกิโลกรัมละ 50 บาท แสดงว่าใน 13 ไร่ จะสูญเสียรายได้ไปวันละ 150 บาท ปีหนึ่ง กรีดยางประมาณ 100 วัน แสดงว่าสููญเสียรายได้ปีละ 15,000 บาท หากสวนยาง 1 ล้านไร่จะสูญเสียรายได้ ปีละ 1,150 ล้านบาท

 

ในปัจจุบันพื้นที่ปลููกยางทางภาคอีสานประมาณ 5 ล้านไร่ ปีหนึ่งจะสูญเสียรายได้ถึง 5,770 ล้านบาท ยังไม่รวมความเสียหายที่เกิดจากมุมกรีดไม่ได้ 30 องศา ซึ่งจะสููญเสียมากกว่านี้นับหมื่นล้านบาทเลยทีเดียว ดังนั้นเพียงเพิ่มความปราณีตและความใส่ใจในรายละเอียดก็จะสามารถเพิ่มผลผลิตได้อย่างง่ายดาย

 

👉 ใส่ปุ๋ยยางพาราถููกสููตร ถููกวิธี และใส่ตามช่วงฤดููกาล

นอกจากการกรีดที่ถูกวิธีแล้วการดููแลรักษาต้นยางพารายิ่งดูแลดีก็จะทำให้ต้นยางโตและมีขนาดพร้อมกรีดได้ไม่ยาก ได้ผลผลิตดีและผลตอบแทนที่คุ้มค่า แต่หากดูแลผิดวิธีก็จะส่งผลเสียต่อต้นยางพาราได้เช่นกัน

 

การใส่ปุ๋ยให้ต้นยางอย่างถูกสูตรยังต้องมีการจัดการใส่ให้ถูกวิธีอีกด้วย หากใส่ผิดสููตรหรือผิดวิธี นอกจากจะเสียเงินเสียเวลาและไม่ได้ผลผลิตตามต้องการแล้ว ยังทำให้ต้นยางไม่สามารถดููดซึมธาตุอาหารได้อย่างเต็มที่

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดููแลและ ใส่ปุ๋ยให้ถูกสููตรตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย คือ สวนยางที่เปิดกรีดแล้ว สููตร 30-5-18 หรือสูตรใกล้เคียง 29-5-18 รวมถึงไม่ควรใส่ปุ๋ยตรงโคนต้นยาง เนื่องจากรากแขนงและรากฝอย ไม่ได้อยู่บริเวณนั้น จึงไม่สามารถดูดธาตุุอาหารได้อย่างเต็มที่ ควรใส่ตรงกลางระหว่างแถวยาง ซึ่งรากแขนงสามารถดูดซึมได้ดี หากโรยปุ๋ยลงระหว่าง ร่องแถวยาง แต่ไม่โกยใบยางออก ปุ๋ยจะซึมสู่ดินได้ช้า เป็นไปได้เพียงแค่รอฝนตกลงมาเพื่อให้ปุ๋ยละลายและซึมลงสู่ดิน ซึ่งใช้เวลานานเกินไป

 

การใส่ปุ๋ยที่ถููกวิธี คือ ต้องโกยใบยางบริเวณนั้นออกไปจนเห็นชั้นดินและโรยปุ๋ยลงไป หรือขุดดินฝังกลบที่่ระดับความลึกไม่เกิน 20 ซม. หลังจากนั้นให้เอาใบยางกลบ ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้การดูดซึมปุ๋ยได้เร็วขึ้น

 

นอกจากนี้การ ใส่ปุ๋ยถูกสูตรและถููกวิธียังทำให้ต้นยางเปลือกนิ่มได้น้ำยางดี เนื้อยางแห้ง ติดลูกน้อย ใบหนาดก ผลัดใบช้า และเพิ่่มวันกรีดในปีนั้นได้อีกด้วย รวมถึงควรใส่ปุ๋ยในช่วงต้นฝนและปลายฝน โดยใส่ในขณะที่่ดินมีความชื้้น เพียงเท่านี้ก็จะสามารถจัดการดูแลสวนยางก่อนเปิดกรีด และหลังปิดกรีดได้ตามมาตรฐาน GAP

 

ที่มา : วารสารยางพารา ประจำเดือน ก.พ.-พ.ค. 2565

สถิตย์ มณีสาร และ นิโรจน์ รอดสม

 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม