ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

โรคใบไหม้ ในต้นกล้าปาล์มน้ำมัน อันตรายหรือไม่

ในช่วงที่สภาพอากาศอากาศร้อน มีฝนตก และฝนตกหนักบางพื้นที่ เตือนผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ในระยะ ต้นกล้า รับมือโรคใบไหม้ (เชื้อรา Curvularia oryzae) 


โรคนี้พบมากในระยะต้นกล้า และช่วง 1 ปีแรกหลังลงแปลงปลูก มักพบอาการของโรคบนใบอ่อน ซึ่งส่วนมากจะเป็นช่วงที่ใบเริ่มคลี่ ลักษณะอาการเริ่มแรก เกิดจุดเล็ก ๆ สีเหลือง กระจายทั่วใบ ต่อมาแผลขยายใหญ่เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ลักษณะบุ๋ม ขอบแผลนูน และมีวงสีเหลืองล้อมรอบ หากโรคระบาดรุนแรงแผลจะขยายรวมกัน ทำให้ใบไหม้แห้ง ม้วนงอและเปราะ ฉีกขาดง่าย มีผลให้ต้นกล้าชะงักการเจริญเติบโต ถ้าอาการโรครุนแรงมากอาจทำให้ต้นกล้าตาย

 

👉แนวทางป้องกัน/แก้ไข

  • 1. ใส่ปุ๋ยบำรุงให้ต้นกล้าแข็งแรง
  • 2. สังเกตใบอ่อนของต้นกล้า ซึ่งเป็นส่วนที่ง่ายต่อการเข้าทำลายของเชื้อสาเหตุโรค หากพบใบเป็นโรคเล็กน้อย ให้ตัดส่วนที่เป็นโรคออกไปทำลายนอกแปลงปลูก
  • 3. ต้นที่เป็นโรครุนแรง ต้องนำออกจากแปลงเพาะ เพื่อกำจัดแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค
  • 4. หากโรคยังคงระบาด พ่นด้วยสาร แมนโคเซบ 80% WP อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะซอกซีสโตรบิน + ไดฟีโนโคนาโซล 20% + 12.5% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ไทแรม 80% WG อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ แคปแทน 50% WP อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน โดยไม่พ่นสารชนิดเดียวต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรสลับชนิดสาร เพื่อป้องกันการต้านทานของเชื้อสาเหตุโรค และงดการให้น้ำด้วยระบบพ่นฝอย

 

ที่มา : สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม