ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

วิธีป้องกันและกำจัด "ด้วงกุหลาบ" ในสวนปาล์มน้ำมัน

ด้วงกุหลาบ เป็นด้วงขนาดเล็กปีกแข็ง  มักระบาดในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่เพิ่งบุกเบิกใหม่ๆ  และจะเกิดกับปาล์มน้ำมันในระยะแรกปลูกเท่านั้น  ซึ่งจะถูกกัดกินจนใบพรุน หรือเว้าแหว่งหมด ทำให้ต้นโทรม และการเจริญเติบโตชะงักเพราะต้นไม่มีใบปรุงอาหาร


ชื่อสามัญ : Rose Beetle
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Adoretus compressus Weber
ชื่อวงศ์ : Rutelidae
ชื่อลำดับ : Coleoptera


ด้วงกุหลาบ จะมีทั้งหมด 2 ชนิด คือ  ชนิด สีน้ำตาล (Garden beetle) และชนิด #สีดำ (Blister beetle)  แต่ส่วนใหญ่จะพบเป็นชนิดสีน้ำตาล  โดยทั่วไปมีขนาดลำตัวประมาณ 0.5-1 เซนติเมตร  ขยายพันธุ์โดยการวางไข่ตามสนามหญ้า  ตัวอ่อนจะกินรากหญ้าเป็นอาหาร  จนกระทั่งตัวโตเต็มวัย จึงจะออกมากัดกินใบปาล์มน้ำมันอ่อนเป็นอาหารในเวลากลางคืน  โดยจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจนที่ตาของแมลงชนิดนี้ว่า จะมีสีแดงเข้ม เวลากลางวันจะอาศัยอยู่ในดินหรือหลบอยู่บริเวณโคนต้น

ต้นปาล์มปลูกใหม่ถูกด้วงกุหลาบกัดกินใบ
👉 วงจรด้วงกุหลาบ

  • ระยะไข่ ด้วงวางไข่ในดินเป็นฟองเดี่ยวๆ ไข่ที่ออกใหม่ๆ มีลักษณะกลมรี เปลือกเรียบสีขาวขุ่นมีขนาดกว้าง 0.8 มม. ยาว 1.3 มม. ต่อมาประมาณ 3-5 วัน ไข่จะกลมขึ้นและเป็นสีเหลือง ระยะไข่ขึ้นกับอุณหภูมิของอากาศ ที่อุณหภูมิ 25 0C ระยะไข่เฉลี่ย 6.5 วันส่วนที่อุณหภูมิ 22 0C ระยะไข่เฉลี่ย 8.9 วัน และจะเปลี่ยนเป็นสีเข้มภายใน 1-2 วัน จึงฟักออกเป็นตัวหนอน

  • ระยะตัวหนอน อาศัยอยู่ในดิน ไม่ปรากฏว่าทำความเสียหายให้แก่ต้นพืช ตัวหนอนที่ฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีขาว และตัวโค้งงอหัวสีน้ำตาลอ่อนมีเขี้ยวเห็นได้เด่นชัด หนอนที่โตเต็มที่หัวกะโหลกกว้าง 3 มม. และลำตัวยาว 13 – 20 มม. ลำตัวสีขาวมีขนสั้นๆ กระจายทั่วไป ตามลำตัวมีรอยพับย่น ซึ่งจะเป็นปล้อง มีขา 3 คู่ ที่ส่วนอกมีรูหายใจตามข้างลำตัว ข้างละ 8 รูปลายท้องใหญ่ทำให้เคลื่อนไหวไปมาไม่สะดวก หนอนจะมุดดินอยู่ลึกลงไป 3 – 6 นิ้ว และทำเป็นโพรงรอบๆ ตัวเพื่อเป็นที่อาศัย หนอนมีการลอกคราบ 3 ครั้ง

  • ระยะดักแด้ ตัวหนอนจะหยุดกินอาหารไม่เคลื่อนที่ และหดตัวเล็กลงก่อนเข้าดักแด้ ลักษณะของดักแด้เป็นแบบ exarate pupaสีเหลืองอ่อน มีขนละเอียดสีน้ำตาลอ่อนปกคลุม ที่ปลายท้องที่ขนสีน้ำตาลแดง 2 กระจุก ขนาดของดักแด้ 5.6 x 11.3 มม.

  • ระยะตัวเต็มวัย เป็นด้วงปีกแข็งลำตัวป้อมค่อนข้างแบน สีน้ำตาลอ่อน ตาสีดำ มีขนสั้นละเอียดปกคลุมทั่วตัว เพศผู้มีขนาด 4.8×10.3 มม. เพศเมียมีขนาด 5.6×11.2 มม. เพศเมียจะวางไข่เดี่ยว ๆ ในเวลากลางวัน วางไข่ประมาณ 3 – 12 ครั้ง เฉลี่ย 6 ครั้ง ๆ ละ 2 – 5 ฟอง ช่วงการวางไข่ 6 – 20 วัน จำนวนไข่ 10 – 70 ฟอง หรือโดยเฉลี่ย 30 ฟอง

👉 การแพร่ระบาด

พบด้วงกุหลาบมากในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน พบในที่ดินมีการบุกเบิกใหม่เพื่อทำการปลูกปาล์มน้ำมันและเกิดกับปาล์มน้ำมันในระยะแรกปลูกเท่านั้น 


👉วิธีการกำจัดด้วงกุหลาบ  

หากเป็นพื้นที่บุกเบิกและปลูกใหม่ โดยที่รากของต้นปาล์มน้ำมันยังไม่สามารถดูดซึมกินอาหารทางรากได้  เกษตรกรจะต้องใช้วิธีฉีดพ่นยาฆ่าแมลง ประเภท CarbaryI (Sevin 85%) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ Carbosulfan (Posse 20%) อัตรา 40 มล.ต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7-10 วัน ตามปริมาณการระบาด ในตอนเย็น ทั้งใบและบริเวณโคนต้น


หากรากของต้นปาล์มน้ำมันสามารถดูดซึมกินอาหารทางรากได้แล้ว  ให้ใช้ยาฆ่าแมลง ชนิด ฟูราดาน 3 % หรือ 5 % โรยรอบโคนประมาณต้นละ 1 ช้อนแกง รากปาล์มน้ำมันจะใช้เวลาในการดูดซึมอยู่ได้นานประมาณ 30 วัน  และการโรยด้วยยาฆ่าแมลง ชนิดฟูราดาน  ถือเป็นวิธีการกำจัดด้วงกุหลาบ ที่ได้ผลดีที่สุด 


ข้อควรจำ ข้อควรจำ ต้องฉีดพ่นช่วงตอนเย็น หรือตอนค่ำ โดยฉีดบริเวณกาบใบ กาบใบล่าง และบริเวณโคนต้น ทุก 4-7 วัน เมื่อมีการระบาด เกษตรกรก็ต้องหมั่นตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ

 

อ้างอิง : ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม