ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ยางหน้าตาย (เปลือกแห้ง) แนวทางป้องกันและรักษา

อาการเปลือกแห้งของต้นยาง คือ การที่ต้นยางแสดงอาการผิดปกติ โดยหลังจากกรีด อาจมีน้ำยางไหลออกมาเพียงเล็กน้อยหรือไม่ไหลเลย อาการแบบนี้ยังสามารถเกิดขึ้นกับต้นยางที่ยังไม่ได้เปิดกรีด

 

การเกิดอาการเปลือกแห้งนี้ไม่ได้เกิดจากสาเหตุของเชื้อโรค จึงไม่ถ่ายทอดจากต้นสู่ต้น แต่เป็นอาการปกติทางสรีรวิทยา โดยมีสาเหตุหลักมาจากพันธุ์ยาง ระบบกรีด การใช้สารเคมีเร่งน้ำยาง สภาพแวดล้อม รวมทั้งดินที่ปลูก ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยใดปัจจัยหนึ่ง หรือหลายปัจจัยร่วมกัน

 

ในปัจจุบันได้มีการสำรวจข้อมูลเบื้องต้น พบว่าในทุกเขตปลูกยางมีอัตราการแสดงอาการเปลือกแห้ง เฉลี่ยร้อยละ 2-27 และมีแนวโน้มว่าจะสูงขึ้นนเรื่อย ๆ

 

👉 การเกิดอาการเปลือกแห้ง

1. อาการเปลือกแห้งแบบชั่วคราว เป็นอาการที่ต้นยางให้ผลผลิตน้ำยางลดลงมาก จะ เกิดขึ้นกับต้นยางจำนวนมากในแปลงเดียวกัน ซึ่งอาจจะเกิดจากการกรีดถี่การใช้สารเคมีเร่งน้ำยางไม่เหมาะสม หรือสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้งเกินไป เมื่อพักการกรีดระยะหนึ่ง มีการบำรุงรักษา ต้นยางและมีฝนตกตามฤดูกาลอาการผิดปกตินี้ก็จะหายไป

2. อาการเปลือกแห้งแบบถาวร เป็นอาการที่ต้นยางให้ผลผลิตน้ำยางน้อยมากหรือไม่ ให้ผลผลิตเลย พบในบางต้นเท่านั้น อาจเป็นต้นเดียวหรือหลายต้นติดต่อกัน ซึ่งพบได้ใน 2 ลักษณะ คือ

  • เกิดขึ้นบริเวณใต้รอยกรีดลุกลามลงไปถึงบริเวณเท้าช้าง ลักษณะนี้พบมากในเขตปลูกยางเดิม
  • เกิดจากบริเวณเท้าช้างลุกลามขึ้นไปด้านบน ลักษณะนี้พบมากในเขตแห้งแล้ง

 👉 การรักษาต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้ง

มีการพยายามศึกษาวิธีรักษาต้นยางที่แสดงอาการเปลือกแห้งแบบถาวร ในหลาย ๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทยวิธีดำเนินการค่อนข้างยุ่งยากง ค่าใช้จ่ายสูงแต่ให้ผลระยะหนึ่งเท่านั้น อาการเปลือกแห้งก็เกิดขึ้นอีก จึงเน้นที่การป้องกันจะได้ผลกว่า

 

👉 การป้องกันการเกิดอาการเปลือกแห้ง

  • 1. เมื่อสังเกตพบความผิดปกติในการให้น้ำยางของต้นยาง เช่น น้ำยางหยุดไหลเป็น ระยะบนหน้ากรีด ควรหยุดกรีดสักระยะหนึ่ง หรือปรับระบบกรีดใหม่ เพื่อให้ต้นยางมีระยะเวลาเพียงพอสำหรับการสร้างน้ำยางขึ้นมาทดแทน
  • 2. ดินปลูกยางพาราที่มีอินทรียวัตถุต่ำ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)  ควรปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่ว หรือใช้ปุ๋ยอินทรียทรีย์ทั้งในรูปปุ๋ยหมักร่วมกับปุ๋ยเคมีเพื่อช่วยในการปรับปรุงโครงสร้างของดินให้ดีขึ้น
  • 3. ไม่ควรเปิดกรีดต้นยางที่ขนาดเล็ก หรือใช้ระบบกรีดถี่กับสวนยางที่อยู่ในเขตที่มี ปริมาณน้ำฝนจำกัด และควรหยุดกรีดยางในระยะที่ต้นยางมีการผลิใบใหม่
  • 4. สวนยางที่ใช้สารเคมีเร่งน้ำยางควรเป็นต้นยางที่เจริญเติบโตดี ต้นโต เปลือกหนา และระบบกรีดที่มีวันหยุด ไม่ควรใช้สารเคมีเร่งน้ำยางกับพันธุ์ยางที่มีการตอบสนอง ต่อสารเคมีเร่งน้ำยางน้อย ได้แก่ พันธุ์ BPM 24, พันธุ์ PB 235, พันธุ์ PB 255, พันธุ์PB 260, พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 250 และพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 

ควรเปิดกรีดยางต้นที่ได้ขนาดและเหมาะสม

นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีเร่งน้ำยางในช่วงแล้งช่วงที่ต้นยางผลัดใบ และผลิใบใหม่ ช่วงอากาศหนาว ซึ่งน้ำยางจะไหลนานกว่าปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ที่มา : การปลูกสร้างสวนยางที่มาประสิทธิภาพ การยางแห่งประเทศไทย 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม