ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ผลเสีย จากการใส่เกลือแกง ให้กับต้นปาล์มน้ำมัน

เกลือแกง (Salt หรือ Halite หรือ Sodium chloride ) มีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นตัวควบคุมระดับของของเหลวภายในเซลล์ร่วมกับอิออนของโลหะชนิดอื่น เช่น โปแตสเซียมอิออน (K+) แต่ธรรมชาติเซลล์ของรากพืชมีกลไกการดูดโปแตสเชียม (K+) และเคลื่อนย้ายไปยังส่วนที่อยู่เหนือดินได้ดีกว่าโซเดียม (Na+) (ยกเว้นกลุ่มพืชที่ทนเค็ม หรือกลุ่มพืชที่ชอบโซเดียม ; natrophillic plants)


สำหรับบทบาทของโซเดียมต่อพืชทั่วๆ ไป คือสามารถทำหน้าที่แทนโปแตสเซียมได้ในบางเรื่อง เช่น การรักษาสมดุลของน้ำในเนื้อเยื่อของพืช หรือการขยายตัวของเซลล์ และการเพิ่มน้ำหนักของเซลล์ในปาล์มน้ำมัน ก็คือการที่มีน้ำหนักทะลาย และขนาดทะลายเพิ่มขึ้น


อย่างไรก็ตามพืชแต่ละชนิดสามารถเจริญเติบโตและให้ผลผลิตในดินที่มีระดับความเค็มแตกต่างกัน ซึ่งต้นปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่สามารถทนความเค็มได้ในระดับปานกลางเท่านั้น การใส่เกลือแกงให้กับต้นปาล์มน้ำมัน เพื่อหวังว่าจะไปทดแทนปุ๋ย หรือธาตุอาหารบางตัว เช่น โปแตสเซียม (K) นั้น อาจให้ผลในทางตรงกันข้าม คือทำให้ดินที่ปลูกปาล์มน้ำมันเค็มขึ้น ซึ่งขึ้นกับปริมาณและระยะเวลาการใส่เกลือแกงว่ามีปริมาณมากและยาวนานเพียงไร


ประกอบกับเกลือแกงมีองค์ประกอบทางเคมีคือ โซเดียม (Na) และคลอรีน (Clซึ่งคลอรีนเป็นธาตุอาหารที่ปาล์มน้ำมันต้องการเพียงเล็กน้อย โดยปกติในดินทั่วๆ ไปมีเพียงพอ เมื่อได้รับคลอรีนในปริมาณมากๆ กลับทำให้เกิดความเป็นพิษต่อต้นปาล์มน้ำมันได้


ในขณะที่โซเดียมไม่จัดเป็นธาตุอาหารจำเป็นสำหรับปาล์มน้ำมัน ถ้าต้นปาล์มน้ำมันไม่ได้รับโซเดียมก็ไม่ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันลดการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตลด แต่การได้รับโซเดียมจากเกลือแกงในปริมาณมากๆ และต่อเนื่องยาวนานกลับมีผลกระทบโดยตรงต่อการเจริญเติบโต และการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมัน

👉ทำไมเกษตรกรบางรายใส่เกลือแกงแล้ว ต้นปาล์มเจริญเติบโตดีในระยะแรก...?

ในกรณีที่ไม่ได้ใส่เกลือแกงมาก่อน ระยะแรกโซเดียมในเกลือแกงอาจไปทดแทนโปแตสเซียมในดิน โดยต้นปาล์มน้ำมันสามารถดูดโซเดียมไปใช้ได้ในบางส่วน นอกจากนี้โซเดียมในเกลือแกงอาจไปทดแทนธาตุอาหารที่มีลักษณะคล้ายกันในดินได้บ้าง เช่น แมกนีเซียม แคลซียม ซึ่งทั้งโปแตสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ในดินมีสถานะทางไฟฟ้าเป็นอิออนบวก คล้ายกับโซเดียม ทำให้ธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชในดิน ถูกปลดปล่อยออกมาเป็นประโยชน์กับพืชมากขึ้นในระยะสั้นๆ


ในขณะเดียวกันโซดียมจากเกลือแกงที่ใส่ลงไปในดินจะไปจับกับอนุภาคของดินอย่างเหนียวแน่นไม่ค่อยปล่อยให้อิออนบวกชนิดอื่นที่เป็นประโยชน์กับปาล์มน้ำมันเข้าไปจับกับอนุภาคดินได้ง่ายๆ ดังนั้นในระยะยาว ต้นปาล์มน้ำมันจะแสดงอาการขาดธาตุอาหารต่างๆ เช่น โปแตสเซียม และแมกนีเซียม เป็นต้น


👉 ผลกระทบต่อการใส่เกลือแกงในระยะยาว

ถ้ายังมีการใส่เกลือแกงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความเค็มของดินก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณเกลือแกงที่ใส่ลงไปในดินและการเก็บสะสมโซเดียมของดินจนถึงระดับที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันจากความเค็มของดินที่เพิ่มขึ้น คือ

 

❌ต้นปาล์มน้ำมันแสดงอาการขาดน้ำ เนื่องจากความเค็มของดินที่สูงขึ้นจะไปดูดหรือดึงน้ำที่มีอยู่ในดินเอาไว้ ทำให้รากของต้นปาล์มน้ำมันดูดน้ำจากดินได้น้อยลง ต้นปาล์มน้ำมันแสดงอาการทางใบอ่อนคลี่ช้ามาก ใบย่อยของปาล์มน้ำมันจะห่อตัว ขอบใบไหม้

❌ ธาตุอาหารไม่สมดุล ธาตุอาหารบางตัวที่มีมากเกินอาจเป็นพิษต่อต้นปาล์มน้ำมันได้ ในดินเค็ม ต้นปาล์มน้ำมันมักแสดงอาการขาดแมกนีเซียม โปแตสเซียม สังกะสี และก่อให้เกิดความเป็นพิษจากโซเดียม โบรอน และคลอรีน

 

❌ ความเค็มของดินที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้การสังเคราะห์แสงของต้นปาล์มน้ำมันลดลงตามลำดับการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตก็ลดลงด้วย 

👉 ผลกระทบของการใส่เกลือแกงที่มีต่อดิน

 

❌ เกลือแกงที่ใส่ลงในดินมีผลทำให้โครงสร้างของดินเลวลง ผิวหน้าดินแน่นแข็งเนื้อดินแน่นทึบน้ำซึมผ่านยาก การถ่ายเทของอากาศในดินไม่ดี ถ้าดินเค็มขาดน้ำจะมีโอกาสแตกระแหงได้ง่าย ทำความเสียหายให้กับรากของปาล์มน้ำมัน

 

❌ ความเค็มของดินที่เพิ่มขึ้นจากการใส่เกลือแกงทำให้ปริมาณจุลินทรีย์ในดินลดลง วัฏจักรต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินก็ลดลงด้วย เช่น การย่อยสลายซากพืชในดินก็ลดลง เป็นผลกระทบทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นกับต้นปาล์มน้ำมัน

 

 ความเค็มของดินที่เพิ่มขึ้น มีผลทำให้ดินมีสภาพเป็นด่างมากขึ้น ในดินที่ความเป็นกรด – ด่าง มากกว่า 7 ความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารหลายชนิดลดลง เช่น ธาตุอาหารพวกเหล็ก (Fe), แมงกานีส (Mn), สังกะสี (Z) และทองแดง (C) ดินจะขาดธาตุอาหารสังกะสี ไนโตรเจน และอินทรียวัตถุ ผลกระทบต่อต้นปาล์มน้ำมันคือ แม้จะมีการใส่ปุ๋ย แต่ต้นปาล์มน้ำมันกลับได้ประโยชน์จากธาตุอาหารจากปุ๋ยที่ใส่ให้กับตันปาล์มน้ำมันได้น้อยลง


อ้างอิง 

✔ การจัดการสวนปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันปาล์ม สถาบันวิจัยพืชไร กรมวิชาการเกษตร

✔ เอกสารการใช้ปุ๋ยในสวนปาล์มน้ำมัน

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม