ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ปลูกไผ่แซมยาง ตัดหน่อไม้ขายสร้างรายได้ทั้งปี

เกษตรกรชาวสวนยาง จ.ตรัง ปลูกไผ่แซมยาง แต่ไม่เปิดกรีดยาง ปล่อยให้เป็นพืชพึ่งพา แต่ตัดหน่อไม้ขายสร้างรายได้หลักทั้งในและนอกฤดูกล พร้อมให้ข้อคิดเกษตรกรคิดใหม่ ทำใหม่ ด้วยการลงมือทำด้วยตนเองลองผิดลองถูก จะพบวิธีการทำเกษตรแนวใหม่ด้วยตนเอง โดยพืชหลักเดิมไม่จำเป็นต้องพืชหลัก แต่พืชรองกลายเป็นพืชหลักได้

 

สำหรับหน่อไม้ในพื้นที่เพียง 3 ไร่ ขายได้เดือนละประมาณ 10,000 – 20,000 บาท หรือปีละกว่า 1 แสนบาท ดีกว่าราคายางพาราที่ไม่แน่นอน และไม่ได้กรีดทุกวัน เพราะฝนตกบ่อย และในการแปรรูปหน่อไม้มีการปั้นเตาดินใช้เศษขยะ ไม้ฟืน แทนแก๊ส ซึ่งมีราคาแพง ลดต้นทุนการผลิต

 

นายเปลื้อง ช่วยรุย อายุ 52 ปี เกษตรกรชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันในพื้นที่หมู่ 6 ต.หนองช้างแล่น อ.ห้วยยอด จ.ตรัง มีพื้นที่สวนยางพารา เนื้อที่ประมาณ 8 ไร่ ที่รับทุนสงเคราะห์จาก กยท.ประเภทที่ 5 ซึ่งสามารถปลูกพืชแซมยางได้ ขณะนี้ยางพาราทั้ง 8 ไร่ ได้ปิดสมุดสงเคราะห์สามารถเปิดกรีดได้มานานนับปีแล้ว แต่เจ้าของสวนไม่ได้เปิดกรีด โดยบอกว่าเก็บเอาไว้ให้สำหรับพืชแซมใช้เป็นที่พึ่งพา

 

โดยได้ปลูกพืชร่วมหลากหลายชนิดลงไปในสวนยาง ทั้ง เนียง ทุเรียน หมาก พริกไทย (ให้พริกเลื้อยกับต้นยาง โดยบั่นท่อนยางทิ้ง) กระวาน พืชสมุนไพรอื่นๆ โดยเฉพาะได้ปลูกไผ่ไว้กระจายเต็มพื้นที่ทั้ง 8 ไร่ กว่า 10 สายพันธุ์ ประกอบด้วย หม่าจู กิมซุง ซางหม่อน ไผ่สีสุก หน่อไผ่เลี้ยง ไผ่ลวก ไผ่ปักกิ่ง ไผ่มันหมู ไผ่เลี้ยง ไผ่เลี้ยงสีทอง ไผ่สร้างไพร (ไผ่เลี้ยงลำ เอาไว้สำหรับการทำโรงเรือนไว้ปลูกพืช แทนการใช้เหล็กซึ่งแพง ) ไผ่เค้าดาวน์จักรพรรดิ ,ไผ่ข้าวหลามหนองมน, ไผ่ข้าวหลามปากแดง,ไผ่ดำติมอร์ สำหรับทำเฟอร์นิเจอร์ แต่ในจำนวนนี้ประมาณ 3 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่น้ำท่วมซ้ำซาก ลึกประมาณ 1 เมตร เจ้าของสวนยางจึงได้ปลูกไผ่ร่วมยางเอาไว้หนาแน่นมากกว่าจุดอื่นๆ เพื่อหวังให้ไผ่ช่วยดูดซับน้ำที่เข้าท่วมพื้นที่ และได้ตัดหน่อไผ่ขายมีรายได้ทุกสัปดาห์ๆละ 2 ครั้ง คือ วันเสาร์และวันอังคาร แต่ละครั้งได้นับร้อยกิโลกรัม ทั้งใน และนอกฤดู แต่ดูแลจนสามารถออกหน่อนอกฤดูได้มากกว่าออกในฤดู โดยในช่วงฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงฤดูหน่อไม้จะมีหน่อไม้ออกจำนวนมาก แต่ของเกษตรกรรายนี้หน่อจะออกน้อย เพราะดูแลบำรุงรักษาให้ออกนอกฤดูจำนวนมากกว่า ทำให้ในช่วงหน้าแล้ง สามารถตัดหน่อไผ่ขายทำให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำ

 

ราคาหน่อไม้ในฤดูขณะนี้ กก.ละ 15 บาท แต่ในช่วงหน้าแล้ง ซึ่งเป็นหน่อไม้นอกฤดูตัดสดขายได้ กก.ละ 25 บาท เมื่อนำไปแปรรูปเป็นหน่อไม้ต้มสามาถขายได้ในราคากิโลกรัม 50 บาท โดยตัดส่งให้เพื่อนซึ่งรวมกลุ่มกันปลูกและแปรรูปนำไปแปรรูปขายทั้งหน่อไม้สด และหน่อไม้ดอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำหน่อไม้ดองเก็บไว้ขายนอกฤดูจะได้ราคาดีมาก

 

นายเปลื้อง กล่าวว่า สวนยางของตนเปิดกรีดได้นานนับปีแล้ว แต่ตนไม่เปิดกรีด เอาไว้ให้พืชร่วมพึ่งพา จะเห็นว่าต้นไผ่ที่ตนปลูกไว้สามารถสะสมอินทรียวัตถุได้มากมาย เป็นอาหารของไผ่ ทำให้ไผ่สมบูรณ์มีหน่อให้ตลอดเวลา โดยตนดูแลให้สามารถออกหน่อนอกฤดู เพียงแต่เสริมด้วยปุ๋ยมูลสัตว์ ทั้งมูลไก่ มูลวัว มูลหมู นำมาใส่เติมให้ และให้น้ำในหน้าแล้ง สร้างความชุ่มชื่นให้กับดิน จึงทำให้หน่อไม้ของตนออกนอกฤดูมากกว่าในฤดู จะทำให้หน่อไม้ที่ได้อวบใหญ่ น้ำหนักดีหน่อละ 1-2 กก. ซึ่งในช่วงหน้าแล้งที่ออกนอกฤดู บางหน่อขายได้ราคาประมาณหน่อละ 70 - 100 บาท ราคาขายฤดูหน่อไม้กก.ละ 15 บาท แต่นอกฤดู กก.ละ 25 บาท โดยเฉพาะนอกฤดูสามารถตัดได้ครั้งละประมาณ 70-100 กก. มีรายได้เดือนละ 10,000 - 20,000 บาท เฉพาะประมาณ 3 ไร่ ซึ่งในอนาคตจะให้สามารถตัดเก็บหน่อได้ทุกวัน และขยายพื้นที่ปลูกไผ่เชิงเดี่ยวเพิ่มอีก 1 แปลง

 

การปลูกไผ่ถ้าต้องการขายลำโดยรวมประมาณ 5 ปี จึงจะตัดลำขายได้ แต่ระหว่างที่ยังขายลำไม่ได้ระหว่างทางสามารถตัดหน่อขายเป็นอาหารรายได้ดีกว่ามาก และตนไม่เปิดกรีดยาง ทิ้งไว้ให้ไผ่พึ่งพา เพราะจะได้ช่วยกันสร้างธาตุอาหารให้ความสมบูรณ์กับพื้นที่ นอกจากนั้นยังบั่นต้นยางทิ้ง เพื่อปลูกพริกไทยพันธุ์ปะเหลียน และยังทดลองปลูกพืชอื่นๆรวมทั้งสมุนไพรลงไปอีกมากมาย นอกจากนั้น พื้นที่ปลูกไผ่เป็นแนวยางสองข้างทางในสวนยาง ยังสวยงามมองเป็นอุโมงค์ สามารถมาท่องเที่ยว และเที่ยวชมสวนได้ ล่าสุด คณะกรรมการลูกโลกสีเขียวเดินทางเข้ามาประเมินพื้นที่ด้วย หลังมีชื่อเข้าชิงรางวัลลูกโลกสีเขียว

 

นอกจากนั้นยังทำหน่อไม้ต้มสดขาย และแปรรูปทำหน่อไม้ดองไว้ขายนอกฤดูของกลุ่ม โดยหน่อไม้ที่ได้มาจากแปลงสวนยางของนายเปลื้อง และของนางพะยอม วารินสะอาด อายุ 56 ปี ซึ่งรวมกลุ่มกันปลูก และแปรรูปหน่อไม้สดและหน่อไม้ดองไว้ขายทั้งในและนอกฤดู โดยเกษตรกรมีการลดต้นทุนการผลิต โดยนายเปลื้องได้ปั้นเตาดินขนาดใหญ่ขึ้นมา เพื่อสามารถใช้ได้กับกระทะใบบัวสำหรับต้มหน่อไม้สด ไม่ต้องใช้แก๊ส ซึ่งสิ้นเปลือง แต่ใช้วัสดุ เศษขยะจากบริเวณบ้าน และในสวน เช่น เปลือกมะพร้าว กะลามะพร้าว ไม้ฟืนจากสวน นำมาเป็นเชื้อเพลิงต้มหน่อไม้สด ลดต้นทุนการผลิต และคิดค้นเครื่องมือตัดหน่อไม้เป็นแว่นๆด้วยตัวเอง เพื่อลดเวลาทำงาน และเป็นเครื่องทุ่นแรง สามารถทำหน่อไม้ดองได้อย่างสะดวก รวดเร็ว

 

นางพะยอม บอกว่า หน่อไม้จากสวนของตนเอง และสวนของนายเปลื้องซึ่งจับมือกันทำ ในปีที่ผ่านมาสามารถผลิตหน่อไม้ทั้งแบบต้มสด และหน่อไม้ดองไว้ขายทั้งในฤดูและนอกฤดูได้มากถึง 4 ตัน สร้างรายได้ให้หลายแสนบาท และในปีนี้เชื่อว่าน่าจะได้มากถึง 5 ตัน ซึ่งนอกฤดูขายได้ราคาดีกว่า แต่ต้องการรักษาลูกค้า จึงต้องผลิตขายทั้งในและนอกฤดู หน่อไม้ดองนอกฤดูขายราคากิโลกรัมละ 50 บาท หน่อไม้ดองในฤดูคือ หน้านี้ขาย กก.ละ 35 บาท ส่วนหน่อไม้สดต้มในฤดูราคา กก.ละ 40 บาท ส่วนหน่อไม้สดต้มถ้านอกฤดูขายได้กก.ละ 60 บาท จึงมีรายได้ดีมาก เป็นรายได้หลักแทนรายได้จากสวนยางพารา ซึ่งราคาไม่ดีขึ้นๆ ลงๆ และฝนตกบ่อย ไม่สามารถกรีดได้ทุกวัน

ที่มา : สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

- Advertisement -

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม