ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ใส่โดโลไมท์ พร้อมกับปุ๋ยได้หรือไม่

มีแฟนเพจยางปาล์มออนไลน์ และผู้อ่านเว็บยางปาล์ม สอบถามเข้ามาเยอะมากเกี่ยวกับการใส่โดโลไมท์ ว่าสามารถใส่ผสมกับปุ๋ย หรือใส่พร้อมกับปุ๋ยได้หรือไม่...?

 

เว็บยางปาล์ม สืบค้นข้อมูล จนพบคำตอบจาก รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการธาตุอาหารและการใช้ปุ๋ย ซึ่งได้บรรยายเรื่องธาตุอาหารพืชไว้ในหลายๆ เวที  โดยมีข้อมูลเกี่ยวกับการใช้โดโลไมท์ที่สำคัญดังนี้

 

โดโลไมท์ คือปูนบดละเอียด มีลักษณะทางเคมีเป็นด่าง  จึงช่วยปรับสภาพดินที่เป็นกรดได้ดี ให้มีค่า pH มีความเป็นกลาง แต่ข้อควรระวังคือ อย่าใส่ปริมาณเยอะเกินไป เพราะโดโลไมท์ เป็นปูนจึงละลายน้ำได้ช้า เมื่อใส่ครั้งละมากๆ จะจับตัวในดิน และกดธาตุอาหารตัวอื่นไม่ให้ทำงาน และที่สำคัญห้ามใส่เมื่อดินมีสภาพเป็นด่าง จะทำให้ดินเป็นด่างสูงขึ้น ซึ่งแก้ได้ยากกว่าดินเป็นกรด ดังนั้นก่อนจะเลือกใส่โดโลไมท์จำเป็นต้องตรวจวัดค่า pH ดินก่อน

รศ.ดร.สุมิตรา ภู่วโรดม ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการธาตุอาหารและการใช้ปุ๋ย

แต่โดยทั่วไป สวนปาล์มที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีอย่างต่อเนื่องทุกปี และมีปริมาณฝนเยอะมีการชะล้างดินสูง มักจะเป็นกรด โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีที่มีแอมโมเนียมเป็นส่วนประกอบจะทำให้ดินมีผลตกค้างเป็นกรดต่อเนื่อง และฝนที่ตกชุกจะชะล้างอินทรียวัตถุ และสารที่เป็นปูน ทำให้ดินเป็นกรด

 

การปรับสภาพดินที่เป็นกรดต้องใช้เวลานาน อย่างน้อย 5 ปี การใส่โดโลไมท์ปริมาณเยอะๆ ในครั้งเดียว ไม่ได้ช่วยให้ดินมีสภาพเป็นกลางเร็ว แต่ต้องใส่อย่างเหมาะสมและต่อเนื่อง โดยใส่ 3-5 กก./ต้น ในปาล์มน้ำมัน หากใส่ปริมาณมากๆ ในครั้งเดียวจะทำให้พืชดูดใช้ธาตุอาหารอื่นๆ ได้ไม่ดี

 

โดโลไมท์ใส่ช่วงไหนดี รศ.ดร.สุมิตราบอกว่าใส่ได้ทั้งปี เพราะไม่มีการระเหิดหรือการสูญเสีย แต่ข้อพิจารณาคือ โดโลไมท์เป็นปูน ละลายน้ำช้า จำเป็นต้องมีฝนและความชื้นช่วยในการละลาย ซึ่งโดโลไมท์จะละลายได้ดีในฝนที่มีความเป็นกรด แต่ก็สามารถใส่ในช่วงหน้าแล้งได้เช่นกัน เพราะไม่มีการสูญเสีย แต่ถ้าไม่มีฝนก็จะไม่มีการทำงาน จึงแนะนำให้ใส่ก่อนฝนตก อย่างช่วงปลายฤดูแล้งก่อนฤดูฝน เป็นต้น

 

ข้อจำกัดของโดโลไมท์คือ ห้ามเอานำไปผสมกับปุ๋ยเด็ดขาด ทั้งปุ๋ยเคมี และปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ขี้วัว เป็นต้น เพราะจะทำให้ระเหิดเป็นแอมโมเนีย และมีการจับตัวเป็นก้อน และไม่จำเป็นอย่าใส่พร้อมกัน หรือระยะใกล้ๆ กัน เพราะจะทำให้ธาตุอาหารบางส่วนสูญเสียไป ควรใส่ห่างจากปุ๋ยอย่างน้อย 2 อาทิตย์ รศ.ดร.สุมิตราบอกว่า แม้โดโลไมท์ไม่มีการสูญเสีย แต่ก็ไม่แนะนำให้ใส่ทิ้งไว้นานๆ ในช่วงหน้าแล้ง เพราะไม่ละลาย
ข้อดีของโดโลไมท์ นอกจากปรับสภาพดินที่เป็นกรดแล้ว ยังมีธาตุอาหารสำคัญ คือแมกนีเซียม และแคลเซียม ในสวนปาล์มน้ำมันจึงนิยมใส่โดโลไมท์เพื่อต้องการธาตุแมกนีเซียม แต่โดโลไมท์มีข้อจำกัดในการใช้ คือ ดินต้องมีสภาพเป็นกรด ขณะเดียวกันโดโลไมท์ละลายน้ำช้า ธาตุอาหารที่พืชได้รับก็ช้าไปด้วย ดังนั้นสวนปาล์มที่ขาดแมกนีเซียมรุนแรง ควรใช้แมกนีเซียมชนิดอื่นแทน เช่น กีเซอร์ไรท์

 

👉เพิ่มเติม : การใช้ธาตุอาหาร จุลธาตุ เช่น โบรอน ทองแดง ไม่ควรผสมรวมกับปุ๋ยชนิดอื่น โดยเฉพาะปุ๋ย ธาตุหลัก ธาตุรอง เพราะจุลธาตุ ใส่ปริมาณน้อย หากรวมหรือผสมกับปุ๋ยหลัก สัดส่วนของการใส่อาจจะไม่เที่ยงตรงตามปริมาณที่ต้องการ

 

อ้างอิง : https://www.youtube.com/watch?v=oKokJnv5EoM&t=1466s

https://www.youtube.com/watch?v=7G65-PsvWUM

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม