ด้วงแรด แมลงปีกแข็งขนาดใหญ่ สีดำ ด้านท้องสีน้ำตาลแดง เพศผู้มีเขาคล้ายนอแรดจะยาวโค้งมากกว่าเขาของเพศเมีย เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบ ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อนทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้ารุนแรงจะทำให้ต้นตายได้
👉การเข้าทำลายของด้วงแรด
ตัวเต็มวัยจะเจาะโคนทางใบและกัดทำลายยอดอ่อน
ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นรูปสามเหลี่ยมและยอดเน่าได้
👉การป้องกันและกำจัด
- ทำลายแหล่งวางไข่ เช่น บริเวณซากต้นปาล์ม กองปุ๋ยหมัก โดยใช้สารเคมีฆ่าแมลง Cabofuran (Furadan 3%G) อัตรา 200 กรัม/ต้น ใส่บริเวณยอดอ่อนหรือซอกทางใบใต้ยอดอ่อน
- ฉีดพ่นด้วย Chlorpyrifos (Lorsban 40% EC) อัตรา 80 มล./น้ำ 20 ลิตร ฉีดบริเวณยอดอ่อนหรือซอกทางใบถัดลงมา
- ใช้ Sevin 85% WP ผสมกับขี้เลื่อย (อัตรา 1:30) ใส่รอบยอดอ่อนหรือทางใบเดือนละ 1 ครั้ง
- ใช้ลูกเหม็น (Naphthalene ball) ใส่บริเวณซอกโคนทางใบเพื่อไล่ด้วงแรด
- ใช้ราเขียว (Metarrhizium anisopliae) และเชื้อไวรัส (Boculovirus) ทำลายด้วงแรดโดยโรยเชื้อในบริเวณที่มีการวางไข่ เช่น กองปุ๋ยหมัก หรือกองซากพืช
- ใช้กับดักล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย โดยใช้ฮอร์โมนเพศเป็นตัวล่อ ( ฮอร์โมนดังกล่าวเป็นสาร ethyI - 4 - methyloctanoate ) โดยแขวนกับดักทุกๆ 15 ไร่/ชุด
ด้วงแรดระยะตัวหนอน ใช้กับดักฟีโรโมน ล่อด้วงแรดตัวเต็มวัย
การป้องกันกำจัดด้วงแรดที่ดีที่สุด คือทำลายแหล่งขยายพันธุ์ เช่น กองปุ๋ยหมักควรกลับกองบ่อยๆ การใช้ทะลายปาล์มคลุมโคน ไม่ควรหนา 2 ชั้น
ที่มา : คู่มือเกษตรกร การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างมีประสิทธิภาพ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น