ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

เยี่ยมสวนปาล์มน้ำมัน อ.สังคม​ จ.หนองคาย ให้ผลผลิตดี แม้ถูกทิ้งร้างมานับสิบปี

ปาล์มน้ำมันไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับภาคอีสาน เริ่มปลูกในเชิงเศรษฐกิจมานานไม่ต่ำกว่า 15 ปี แล้ว โดยเฉพาะจังหวัดพื้นที่ลุ่มฝั่งแม่น้ำโขง รวมถึงพื้นที่ลุ่มน้ำอื่นๆ ที่เหมาะสม ขณะเดียวกันก็มีโรงงานหีบปาล์ม 2 โรง ใน จ.สกลนคร และมีเครือข่ายลานปาล์มรับซื้อผลผลิตทั่วภาคอีสาน

 

เว็บยางปาล์ม เดินทางไป อ.สังคม จ.หนองคาย เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคม 2565 เยี่ยมสวนปาล์มเล็กๆ แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่ริมน้ำโขง ของ คุณโสภิดา​ ดุลยคง​ หรือ​ คุณจูน เธอเล่าให้เราฟังว่า ครอบครัวของเธอซื้อที่ดินตรงนี้กว่า 28 ไร่ พร้อมสวนปาล์มทิ้งร้าง ​จนกลายสภาพเป็นป่าที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้และเถาวัลย์ คาดว่าต้นปาล์มน่าจะอายุประมาณ 10 ปี 

คุณโสภิดา​ ดุลยคง

หลังจากค​รอบครัวของคุณจูนเข้ามาซื้อพื้นที่แห่งนี้ก็ได้เริ่มเคลียร์ต้นไม้​ใหญ่-น้อย วัชพืช​ เถาวัลย์ต่างๆ​ ออกจนหมด​ และได้เริ่มดูแลต้นปาล์มใหม่อีกครั้ง

 

เรามาถึงเมื่อ​ 2​ ปีที่แล้วสวนปาล์มตรงนี้รกทึบกลายเป็นป่า​เถาวัลย์เต็มไปหมด​ก็ต้องมารื้อออก​เอารถไถมาไถพวกต้นไม้ออก​ แล้วค่อยมาเริ่มบำรุงต้นปาล์มที่มีอยู่​135 ต้น

 

แต่สำหรับคุณจูนแล้วเธอยืนยันว่า​การทำสวนปาล์มน้ำมันเป็นอาชีพที่มั่นคง​มีรายได้ต่อเนื่อง​ และผู้หญิงตัวเล็กๆ​ อย่างเธอก็สามารถบริหารจัดการได้

 

กิจกรรมในสวนบางอย่าง​ เช่น​ตัดแต่งทางใบ​ ทำความสะอาดสวน​ เราทำเอง​ แต่งานใส่ปุ๋ย​ตัดทะลายเราให้พี่ชายคอยดูแลจัดการให้แล้วคิดเป็นค่าใช้จ่ายไป

เมื่อมองในภาพรวมแล้วอาชีพชาวสวนปาล์มมือใหม่ก็ไม่ได้โหดร้ายกับคุณจูนอย่างที่จินตนาการเอาไว้​หากแต่ว่าสามารถสร้างรายได้ทุก 14​ วัน​ และได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีล้อมรอบด้วยภูเขาและแม่น้ำ

ในส่วนของผลิตปาล์มน้ำมัน​ หลังจากได้รับการฟื้นฟูเป็นเวลาเกือบ​ 2​ ปี​ ถือว่าเป็นที่น่าพอใจ​ แต่ลึกๆ​ แล้วคุณจูนยังมองว่าต้นปาล์มในสวนน่าจะมีศักยภาพในการให้ผลผลิตมากกว่านี้  หากได้รับการบำรุงดูแลอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง

 

คุณเวช​ ปวงปะชัง​ ผู้ที่คอยดูแลเรื่องการใส่ปุ๋ยให้คุณจูนบอกกับ​เว็บยางปาล์ม​ ว่า​ ตอนนี้ให้ปุ๋ยอินทรีย์ปรับสภาพดิน​ 5​ กก./ต้น/ปี​ แบ่งใส่​ 2​ครั้ง​ๆ​ ละ​ 2.5​ กก.​ แต่ต่อไปต้องเริ่มใส่ปุ๋ยเคมี​ตามความต้องการของต้นปาล์ม​อย่าง​ 21-0-00-0-60แมกนีเซียมและโบรอน

 

นอกจากนี้ก็มีการเตรียมวางท่อสำหรับทำระบบน้ำให้ต้นปาล์มช่วงแล้งด้วย โดยปกติที่อีสานจะใส่ปุ๋ยได้ปี​ละ​ 3​ ครั้ง​ ครั้งที่​ 4​ จะอยู่ในช่วงฤดูแล้ง​(จากฤดูหนาวเข้าสู่ฤดูร้อน)​ ควรมีระบบน้ำ​

 

หากมีระบบน้ำมาช่วยจะทำให้ใส่ปุ๋ยต้นปาล์มได้ต่อเนื่อง ถ้าปล่อยให้เทวดาเลี้ยงปีหน้าจะไม่มีผลผลิต ผมมองว่าปาล์มอีสานเราน่าจะทำได้ประมาณ ​5 ​ตัน/ไร่/ปี​ ถ้ามีการให้ธาตุอาหารอย่างเพียงพอต่อเนื่อง​ และมีน้ำให้ในช่วงหน้าแล้ง

ด้านผลผลิตต่อการตัดแต่ละรอบอยู่ในระดับที่คุ้มค่า ( มากกว่า​ 2​ ตัน)​ ​ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ​ โดยผลผลิตจะนำไปขายลานรับซื้อปาล์มใน​ อ.สังคม​ ราคาประมาณ​ 5​ บาทกว่าๆ/กก.​(สิงหาคม​ 2565) 

คุณเวช​ ปวงปะชัง
จุดแข็งการทำสวนปาล์มน้ำมัน​ ใน อ.สังคม​ จ.หนองคาย​ คือ​ พื้นที่เหมาะสม​ เหมาะสมทั้งในเรื่องของความชื้น​คุณภาพของดิน​-น้ำ​​ แต่ต้องยอมรับว่าไม่เหมาะสมในเรื่องของชัยภูมิเพราะเป็นพื้นที่ภูเขา​เพราะฉายาของ​ อ.สังคม​ ก็คือ​ “ทะเลภูเขา” นั่นเอง​ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ไม่ใช่อุปสรรคใหญ่ในการทำสวนปาล์มน้ำมัน

 

แต่หลักๆ ​แล้วคนทำสวนปาล์มในพื้นที่มองว่าปัจจัยเรื่องสภาพแวดล้อมมีความพร้อมพอสมควร​ แต่ปาล์มน้ำมันจะน่าปลูกหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับ​ “แรงจูงใจ” ในเรื่องของราคา​ และ​ “แรงใจ” ในการต่อสู้อดทน​ เพราะปาล์มบางช่วงราคาสูง บางช่วงราคาต่ำ ​หากเกษตรกรยังสามารถบริหารจัดการเรื่องต้นทุน/กำไร​ ได้​ หรือ​ถ้าปาล์มไม่ต่ำกว่า​ 5​ บาท​และราคาปุ๋ยลดต่ำลงกว่านี้เชื่อมั่นว่าเกษตรกรจะมีแรงจูงใจในการปลูกปาล์มน้ำมันมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตามเมื่อเทียบกับพืชไร่อย่างมันสำปะหลัง​หรืออ้อย​ ที่ราคาผลผลิตต่ำและเก็บเกี่ยวผลผลิตได้เพียงปีละครั้งแล้ว จึงถือว่าปาล์มน้ำมันเป็นพืชที่น่าปลูกอย่างยิ่ง

คลิกดูภาพเพิ่มเติม 

ขอขอบคุณ 

คุณโสภิดา​ ดุลยคง​

คุณเวช​ ปวงปะชัง โทร. 098-653-9964

- Advertisement -


 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม