ชุบชีวิตดินในสวนปาล์ม ด้วยวิธีสร้างกองทาง ตามแบบฉบับ ของ ณัฐดนัย สุขรัตน์
คุณณัฐดนัย สุขรัตน์ ชาวสวนปาล์มน้ำมัน จ.ชุมพร ก็เป็นคนหนึ่งที่ให้ความสำคัญเรื่องการฟื้นฟูสภาพดิน เพราะโดยทั่วไปแล้วพื้นที่ปลูกปาล์มของทางภาคใต้ ที่มีการปลูกพืชอายุยืน อย่าง ยางพารา เป็นต้น และมีฝนตกค่อนข้างชุก เกิดการชะล้างหน้าดินมาเป็นเวลานาน ส่งผลให้ธาตุอาหารและอินทรียวัตถุต่างๆ แทบไม่หลงเหลือ การจะทำสวนปาล์มให้ได้ผลผลิตดี จึงต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก ซึ่งส่งผลโดยตรงกับต้นทุนการผลิต แต่เรื่องใหญ่กว่านั้นคือ ดิน มีสภาพเป็นกรด หรือ มีค่า pH ต่ำ ทำให้ต้นปาล์มนำธาตุอาหารไปใช้ไม่ได้
คุณณัฐดนัย ให้ข้อมูลว่า สวนปาล์มใน อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี และ อ.สวี จ.ชุมพร ทั้ง 2 แปลง ดินมีสภาพเป็นกรดเหมือนกัน ซึ่งเดิมทีเป็นสวนยางเก่าล้มแล้วปลูกปาล์ม วัดสภาพดินได้ค่า pH 4.5 และ 5.5 ตามลำดับ แต่ที่ย่ำแย่กว่านั้นคือ สภาพดินในแปลง อ.สวี เป็นดินปนทราย ขาดทั้งอินทรียวัตถุและคุณภาพในการเก็บความชื้น
วิธีฟื้นฟูสภาพดินในสวนปาล์มน้ำมันเบื้องต้นจะใช้โดโลไมท์
ที่มีคุณสมบัติในการปรับสภาพดินช่วยลดความเป็นกรดในดิน ควบคู่กับการเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน
และรักษาความชื้นภายในสวน ซึ่งสองอย่างหลังนี้ ทำได้ง่ายๆ โดยใช้แค่ “ทางใบปาล์ม”
ที่ตัดทิ้งเท่านั้นเอง
ความรู้เก่าทางใบปาล์มที่ตัดทิ้งตอนเก็บเกี่ยวทะลายกลายเป็นภาระของชาวสวนปาล์ม บ้างก็ลากไปโยนทิ้งไว้ในร่องในคูน้ำ บางสวนที่เจ้าระเบียบหน่อยก็เอามากองไว้ระหว่างต้นปาล์มไม่ให้เกะกะการทำงาน นานเข้าก็เป็นกองสูง ไม่ได้ใช้ประโยชน์
แต่ความรู้ใหม่
ซึ่งได้รับการเผยแพร่ในยุคหลักๆ นี่เองว่า ทางใบปาล์ม มีประโยชน์มากมายหลายด้าน
ถ้าจัดการให้ถูกวิธี
คุณณัฐดนัย บอกว่า ได้เริ่มสร้างกองทางใบเมื่อปาล์มอายุ
4-5 ปี ซึ่งเป็นระยะที่เริ่มมีการตัดแต่งทางใบออก แล้วใช้วิธีกองทางแบบกระจายเป็นรูปตัว T บริเวณกลางร่องแถวปาล์ม และวางคั่นกลางระหว่างต้น
โดยกองทางจะห่างจากต้นปาล์มประมาณ 1 เมตรกว่าๆ เพื่อเว้นไว้สำหรับทำกิจกรรมในสวนได้สะดวก
เช่น ตัดปาล์ม เก็บลูกร่วง และตัดหญ้ารอบวงโคน เป็นต้น
การกองทางใบแบบกระจายช่วยให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น
กลายเป็นอินทรียวัตถุสู่ดิน ขณะเดียวกัน ก็ช่วยเก็บรักษาความชื้นได้เป็นอย่างดี
รวมถึงช่วยชะลอการไหลของน้ำ และลดการชะล้างหน้าดินได้อีกด้วย
บริเวณกองทางจะมีอินทรียวัตถุและมีความชื้นสูง รากปาล์มก็จะมาอาศัยอยู่บริเวณนี้มาก ซึ่งเป็นบริเวณที่เหมาะสมสำหรับใส่ปุ๋ย ผมจึงใส่บริเวณกองทาง ซึ่งใส่ได้บริเวณกว้าง และต้นปาล์มก็กินปุ๋ยได้ดีกว่า
นอกจากนั้น คุณณัฐดนัยยังวางระบบน้ำทั้งสวนสำหรับช่วงแล้ง โดยวางหัวมินิสปริงเกลอร์สองข้างของต้นปาล์ม ซึ่งรัศมีของน้ำน้ำจะตกกระจายบนกองทางพอดี กองทางจึงเป็นเหมือน “ฟองน้ำ” ดูดซับและเก็บกักความชื้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการให้น้ำดียิ่งขึ้นด้วย
สร้างกองทางในสวนแทบไม่ต้องลงทุนอะไรมาก แต่ประโยชน์มากมาย ช่วยเพิ่มอินทรียวัตถุให้ดิน ช่วยในการแลกเปลี่ยนประจุระหว่างดินกับปุ๋ย ช่วยรักษาความชื้นเวลาฝนตกหรือให้น้ำ จุดที่มีกองทางปู หรือมีอินทรียวัตถุหนาๆ จะแห้งช้า และเก็บความชื้นได้ดี จุดที่เป็นกองทางเป็นจุดใส่ปุ๋ยที่ดี เพราะจะมีรากฝอยอยู่หนาแน่น เพราะตรงนั้นมีความชื้นมีธาตุอาหาร และช่วยป้องกันการสูญเสียปุ๋ย เพราะจะช่วยลดการชะล้างจากน้ำฝน
คุณณัฐดนัย สรุปรวมประโยชน์ของการสร้างกองทางในสวนปาล์ม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น