ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

โรคโคนลำต้นเน่า จากเชื้อรากาโนเดอร์มา ในปาล์มน้ำมัน แนวทางป้องกันและรักษา

ในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่มีอายุมากกว่า 20 ปี มีการเข้าทำลายของโรคโคนลำต้นเน่า และเริ่มระบาดมากกับต้นปาล์มน้ำมันอายุ 10 – 15 ปี (พบว่ามีการระบาดในต้นที่อายุน้อยลงเรื่อยๆ) ซึ่งโรคโคนลำต้นเน่ามีสาเหตุมาจากเชื้อรากาโนเดอร์มา (Ganoderma  spp.) เป็นดอกเห็ดคล้ายเห็ดหลินจือ การพบดอกเห็ดบนต้นปาล์มนั้นแสดงว่าเส้นใยของเชื้อราได้เข้าไปทำลายเซลล์ในลำต้นปาล์มน้ำมันได้เป็นจำนวนมากแล้ว

 

เชื้อรากาโนเดอร์มาจะเข้าทำลายจากรากสู่ลำต้นผ่านทางท่อลำเลียงอาหารและน้ำ ทำให้เนื้อเยื่อภายในลำต้นเกิดแผลเน่าสีน้ำตาล อาการผิดปกติภายนอกที่พบ คือ ใบมีสีซีดจางกว่าปกติ ทางใบแก่ล่างจะหักพับทิ้งตัวห้อยลงรอบๆ ลำต้น ยอดที่ยังไม่คลี่มีสีเหลือง หรือมีจำนวนมากกว่าปกติ

 

ในระยะรุนแรงเชื้อราจะพัฒนาและเจริญเติบโตเป็นดอกเห็ดบริเวณโคนต้น รากและเนื้อเยื่อภายในลำต้นจะเปื่อยแห้งเป็นผง จนเกิดเป็นโพรงในที่สุด ทำให้ต้นปาล์มน้ำมันยืนต้นตายหรือหักล้มลง

 

การระบาดเกิดจากการแพร่กระจายทางลมของสปอร์ดอกเห็ดที่เกิดบริเวณโคนต้น ตอหรือซากปาล์มเก่า หรือจากการสัมผัสกันของรากต้นที่เป็นโรคและรากของต้นปกติในดินที่อยู่บริเวณใกล้เคียงกัน โดยการวินิจฉัยโรคในแปลงปลูกต้องอาศัยการสังเกตลักษณะอาการภายนอกของต้นปาล์มน้ำมันและต้นข้างเคียง  รวมถึงประวัติการเกิดโรคลำต้นเน่าในแปลง และเมื่อพบต้นเป็นโรคแล้วต้องรีบดำเนินการควบคุมโดยทันที


 
ข้อสันนิษฐานการเกิดโรคโคนลำต้นเน่า

  • ดินกรด หรือ ดินเปรี้ยว หมายถึง ดินที่มีระดับ pH ต่ำกว่า 7
  • การปลูกทดแทนพืช ในพื้นที่เดิม โดยไม่กำจัดตอเก่าออกให้หมด เช่น ล้มยางปลูกปาล์มน้ำมัน ล้มมะพร้าวปลูกปาล์มน้ำมัน ล้มปาล์มน้ำมันปลูกไม้ผล เป็นต้น
  • ต้นพืชอ่อนแอ ได้รับธาตุอาหารไม่เพียงพอ
  • สภาพของดินไม่เหมาะสม เป็นกรดหรือด่างมากเกินไป
  • อินทรียวัตถุในดินมีน้อย ทำให้ดูดซับธาตุอาหารไว้ได้น้อย ระบบรากจึงเติบโตได้ไม่ดี


คำขอแนะนำ ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงปาล์มน้ำมันและเฝ้าระวังการระบาดของโรคอาการภายนอกที่พบ คือ ใบมีสีซีดจางกว่าปกติ ทางแก่ล่างจะหักพับทิ้งตัวห้อยลงรอบๆ ลำต้น ซึ่งจะเร็วหรือช้าขึ้นกับฤดูกาล ทางยอดที่ยังไม่คลี่มีจำนวนมากกว่าปกติ

 

ในขณะเดียวกันภายในลำต้นปาล์มน้ำมันถูกทำลายไปถึงร้อยละ 50 ต้น จะตายภายใน 2–3 ปี โดยต้นจะหัก หรือล้มลง โรคนี้ทำให้เกิดการเน่าแห้งของเนื้อเยื่อที่ฐานของต้น เมื่อตัดต้นเป็นโรคตามขวางจะเห็นเนื้อเยื่อบริเวณที่เน่าเป็นสีน้ำตาลอ่อน มีแถบสีน้ำตาลเข้มรูปร่างไม่แน่นอนเกิดสลับกันอยู่ และที่ขอบแผลมีบริเวณสีเหลืองใสกั้นระหว่างส่วนที่เป็นโรคและส่วนที่ผิดปกติ รากมีลักษณะกรอบ เนื้อเยื่อภายในแห้งเป็นผง

ในการเตรียมพื้นที่ปลูกปาล์มใหม่ให้กำจัดซากต้นปาล์มเก่าและทำความสะอาดเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อเห็ดที่ติดอยู่กับซากพืช และพื้นที่ควรจัดการให้มีการระบายน้ำให้ดี ซึ่งวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

 

✔ 1.อย่าเคลื่อนย้ายต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรคผ่านไปในแปลงปาล์มน้ำมัน

✔ 2.ขุดร่อง หรือคู รอบบริเวณต้นปาล์มน้ำมันที่เป็นโรคเพื่อป้องกันการสัมผัสของราก

✔ 3.ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาเพื่อควบคุมโรคพืช โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ผสมกับรำละเอียด 4 - 10 กิโลกรัม และปุ๋ยอินทรีย์ 50 – 100 กิโลกรัม

  • รองก้นหลุมอัตรา 100 กรัม/หลุมตามขนาดของหลุมปลูก
  • หว่านในแปลงปลูก หรือรอบทรงพุ่มในอัตรา 3 – 6 กิโลกรัม/ต้น

✔ 4.ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม ผสมน้ำ 20 - 100 ลิตร กรองเอาเฉพาะน้ำนำไปฉีดพ่นอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันโรคในส่วนบนของต้นปาล์มน้ำมัน

✔ 5.ตรวจสอบต้นที่เป็นโรคโดยใช้ไม้เคาะลำต้นปาล์มน้ำมันเพื่อฟังเสียงในบริเวณที่ถูกทำลาย ถากส่วนที่เป็นโรคออก ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม น้ำ 2 ลิตร ดินฝุ่นแดง 1 กิโลกรัม ผสมเข้ากันทาบนรอยแผลที่ถาก

✔ 6.ถากส่วนที่เป็นโรคออก ใช้สารเคมี เช่น ไทแรม ทาบนรอยแผลที่ถาก เพื่อป้องกันการเข้าทำลายซ้ำจากเชื้ออื่น ๆ

✔ 7.กำจัดต้นที่เป็นโรคออกจากแปลงโดยการขุดเผาทำลาย

 

ที่มา : สำนักงานเกษตรจังหวัดกระบี่

https://www.cpi-th.com/th/product-detail/19/plam

https://secreta.doae.go.th/?p=6839

 

 

 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม