เกษตรกรสุราษฎร์ธานี ปลูกปาล์มแปลงใหญ่ 100 ไร่ ทำผลผลิตกว่า 4.5 ตัน/ไร่/ปี
พี่ตัดสินใจเลือกใช้พันธุ์ปาล์มยูนิวานิช เพราะว่าศึกษาจากหลายๆ คนเขาบอกว่าพันธุ์นี้ออกทะลายสม่ำเสมอทั้งปี จะไม่มีคำว่าขาดคอนาน ก็เลยมั่นใจพอมาปลูกเองก็เป็นอย่างที่ว่า คือ จะมีทะลายตลอดปี เดือนมีนาคม เมษายน ปกติจะเป็นช่วงที่ปาล์มมีน้อย แต่เราก็จะมีปาล์มขายตลอด ก็เพราะว่าเขาให้ผลผลิตตลอดปี ข้อดีมันอยู่ที่ว่าราคาปาล์มน้ำมันนี่มันไม่ค่อยสม่ำเสมอ บางช่วงมันถูก บางช่วงมันแพง ถ้ามันออกเยอะครั้งเดียวแล้วถ้าไปออกในช่วงที่ราคาถูกเราก็ต้องขายถูกๆ ฉะนั้นเราหาพันธุ์ที่ออกตลอดต่อเนื่องดีว่าอย่างน้อยก็กระจายความเสี่ยง มีปาล์มขายทุกช่วงเวลาไม่ว่าจะราคาไหน
คุณธีระบอกกกับเว็บยางปาล์ม
อีกสิ่งหนึ่งที่คุณธีระให้ความสำคัญมากๆ ก็คือการเตรียมพื้นที่สำหรับทำสวนปาล์มน้ำมัน ตั้งแต่การศึกษาพื้นที่ของตัวเองว่าเป็นพื้นที่กว้าง บางจุดมีความลาดชัน ซึ่งจะมีผลกับการวางแนวปลูกปาล์มด้วย
ถัดมาคือเรื่องของถนนที่ต้องสร้างตั้งแต่ก่อนลงปลูกปาล์มน้ำมัน ถ้าถนนไม่สะดวกการจัดการสวนก็จะยากตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการเก็บผลผลิตที่คนตัดต้องเข้าไปทุก 15 วัน หรือแม้แต่งานที่ทำ 3 เดือน/ครั้ง อย่างการใส่ปุ๋ยก็ต้องมีการขนย้ายปุ๋ยซึ่งก็ต้องการความสะดวกในการทำงานเช่นกัน
มาถึงเรื่องการจัดการสวน เนื่องจากสวนปาล์มของคุณธีระเข้าโครงการปาล์มแปลงใหญ่ RSPO ด้วยจึงต้องทำตามมาตรฐานของโครงการ นั่นคือการปลูกปาล์มอย่างถูกวิธี เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเป็นมิตรกับชุมชน ซึ่งโดยรวมแล้วก็คือการจัดการสวนที่ถูกต้อง
อันดับแรกที่จัดการให้ถูกต้องก็ คือ เรื่องปุ๋ย ที่ต้องใส่ให้ถูกที่ ถูกเวลา และถูกวิธี โดยปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้วคุณธีระจะเน้นเป็นปุ๋ยตัวหลังสูง แบ่งใส่ปีละ 3 ครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 ช่วงต้นฝน ใช้ปุ๋ยสูตร 14-7-35 : 2 กก./ต้น
- ครั้งที่ 2 ช่วงกลางฝน ใช้ปุ๋ยสูตร 19-19-19 : 2 กก./ต้น
- ครั้งที่ 3 ช่วงปลายฝน ใช้ปุ๋ยสูตร 14-7-35 : 2 กก./ต้น
นอกจากนั้นก็มีการเพิ่ม แมกนีเซียม 1 กก./ต้น/ปี และ โบรอน 300 กรัม/ต้น/ปี เพื่อเป็นอาหารเสริม รวมทั้งสิ้นคุณธีระใส่ปุ๋ยตัวหลักให้ปาล์มน้ำมันอยู่ที่ 6 กก./ต้น/ปี โดยทางสวนใส่ปุ๋ยแบบหว่านกระจายรอบต้น แต่ก็มีการทำกองทางไว้ป้องกันการชะล้างของหน้าดินด้วย
จากข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในรอบปี 2564 ที่ผ่านมาพบว่าได้ผลผลิต 4.5 ตัน/ไร่/ปี สำหรับปาล์มอายุ 7 ปี ส่วนปี 2565 นี้คาดว่าจะได้ผลผลิตมากขึ้น คุณธีระจึงวางแผนใส่ปุ๋ยเพิ่มเป็น 8 กก./ไร่/ปี ด้วย
ปัญหาของเกษตรกรส่วนใหญ่ก็คือเรื่องการการจัดการ การใส่ปุ๋ย ทางบริษัทยูนิวานิชก็ให้คำปรึกษากับเราตลอด มีการดูแลติดตาม ส่วนมากก็จะเป็นปัญหาเรื่องการใส่ปุ๋ยเป็นปัญหาหลักเลย ใส่อย่างไรให้ถูกที่ ถูกเวลา ถูกวิธี ตรงนี้คนจะไม่ค่อยเข้าใจกัน
คุณธีระสะท้อนปัญหาของเกษตรกรและความช่วยเหลือจากทีมงานบริษัทยูนิวานิช
อันดับถัดมาเป็นเรื่องการกำจัดวัชพืช ทางสวนจะเน้นการใช้เครื่องตัดหญ้าเป็นหลัก แต่ก็ยังมีการใช้สารเคมีร่วมด้วยราวๆ 1-2 ปี/ครั้ง เพราะการตัดหญ้านั้นไม่ได้กำจัดหญ้าไปถึงต้นตอจึงสามารถแตกไหลออกไปได้อีก นานไปหญ้าก็จะแน่นขึ้น จึงต้องมีการใช้สารเคมีประเภทไกลโฟเซสเพราะไม่เป็นอันตรายกับรากปาล์ม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จะไม่มีการใช้พาราควอตเพราะทำลายสิ่งแวดล้อมและทำให้รากปาล์มแห้งนั่นเอง
ตอนท้ายคุณธีระบอกกับเว็บยางปาล์มว่าพื้นที่ตรงนี้ฝนตกชุกทั้งปี ปลูกพืชอื่นๆ ได้ผลผลิตไม่ดีเท่ากับทำสวนปาล์มน้ำมัน เมื่อเราตัดสินใจทำสวนปาล์มน้ำมันแล้วก็ต้องพยายามบริหารจัดการสวนให้ได้ผลผลิตสูงๆ เพราะมองว่าการทำสวนปาล์มมากจะขาดทุนกำไร ฉะนั้นต้องทำอย่างไรก็ได้ให้ได้ผลผลิตมากขึ้น เมื่อผลผลิตมากขึ้้นส่วนต่างของกำไรก็จะมากขึ้นด้วย จึงวางแผนไว้ว่าจะเพิ่มปุ๋ยจาก 6 กก./ต้น/ปี เป็น 8 กก./ต้น/ปี
แม้ว่าตอนนี้ปุ๋ยราคาสูงกว่าเดิมมากกว่าเท่าตัว แต่หนทางที่จะทำให้เกษตรกรมีรายได้มากขึ้น มีช่วงห่างระหว่างต้นทุนและกำไรมากขึ้นก็คือการทำให้ต้นปาล์มมีผลผลิตเพิ่มขึ้นนั่นเอง
ขอขอบคุณ
คุณธีระ รอดเจริญ ต.ต้นยวน อ.พนม จ.สุราษธานี
บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน
1 ความคิดเห็น:
มีที่ 100 ไร่ ปลูกมะพร้าวน้ำหอม จะได้ประมาณ 2,500 ต้น หนึ่งเดือนเก็บสองรอบ รอบละ 10 ลูก ลูกละ 5 บาท = เก็บขายเดือนละ 100 บาท/ต้น/เดือน มะพร้าว 2,50×100
= 250,000บาท/เดือน
250×000×12 เดือน = (3,000,000 บาท/ปี)
เดือนละ 50,000 ลูก
ปีละ 600,000 ลูก
รายได้ เดือนละ 250,000 บาท
ปีละ 3,000,000 บาท
เมียปลุกพอดี เดี๋ยวค่อยฝันต่อ เฮ้อ ! มีที่อยู่แค่ครึ่งงานเอง
แสดงความคิดเห็น