ปลูกปาล์มชิดเกินไป สวนปาล์มได้แสงน้อย จัดการอย่างไร เทคนิคจาก อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก
เนื่องจาก อ.พรพันธุ์ศักดิ์มีประสบการณ์ตรงเรื่องการปลูกปาล์มระยะชิด ทั้งยังอยู่ในขั้นตอนการแก้ปัญหานี้อยู่ด้วย เพราะปัจจุบันสวนปาล์มที่่ปลูกด้วยระยะ 7.5 เมตร และ 8 เมตร มีด้วยกัน 2 แปลง ได้แก่ แปลงทอร์นาโด มีอายุ 11 ปีเต็ม และแปลงคอมแพค อายุ 14 ปี ซึ่งแน่นอนว่าระยะปลูกนี้ชิดเกินไปสำหรับปาล์มน้ำมันและส่งผลให้ผลผลิตในสวนลดลงอย่างเห็นได้ชัด
แปลงพันธุ์ทอร์นาโด ระยะปลูก 7.5 เมตร |
อ.พรพันธุ์ศักดิ์ ยอมรับว่าช่วงที่ปาล์มน้ำมันอายุ
6-9 ปี แปลงทอร์นาโด
ที่ปลูกระยะ 7.5 เมตร (ไร่ละ 33 ต้น) ได้ผลผลิตสูงมากกว่า 8 ตัน/ไร่/ปี
- ปี 2560 ผลผลิตรวม 8.30 ตัน/ไร่/ปี (อายุ 6 ปี)
- ปี 2561 ผลผลิตรวม 8.02 ตัน/ไร่/ปี (อายุ 7 ปี)
- ปี 2562 ผลผลิตรวม 8.05 ตัน/ไร่/ปี (อายุ 8 ปี)
- ปี 2563 ผลผลิตรวม 8.17 ตัน/ไร่/ปี (อายุ 9 ปี)
- ปี 2564 ผลผลิตรวม 7.87 ตัน/ไร่/ปี (อายุ 10 ปี)
ปริมาณผลผลิตที่ได้ค่อนข้างสูงมาก
มาจากหลายปัจจัย แต่หลักๆ มาจาก วิธีการจัดการเรื่องธาตุอาหาร และ
ปริมาณต้น/ไร่มากถึง 33 ต้น ซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบเรื่องแสง ทุกต้นยังได้รับแสงอย่างเพียงพอ
แต่เมื่อปาล์มเข้าอายุ 10 ปีขึ้นไป เห็นชัดว่าผลผลิตลดลงเหลือเพียง 7 ตันกว่า และมีแนวโน้มว่าตัวเลขปีนี้ (2565) จะลดลงจากปี 2564 ส่วนแปลงอื่นที่อายุ 14 ปี ผลผลิตลดลงวูบจนน่าตกใจ แต่ปัญหามันก็ไม่ได้มีไว้เครียด มันมีไว้ให้แก้
อ.พรพันธุ์ศักดิ์ บอก
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะว่าอาจารย์ยังให้ปุ๋ยปาล์มปริมาณเท่าเดิม
แม้ว่าต้นปาล์มจะอายุมากขึ้น แต่ลึกๆ แล้วก็เชื่อว่าน่าจะมีอีกหลายๆ ปัจจัย หนึ่งในนั้นก็มองว่าต้นปาล์มได้รับแสงน้อยลงด้วย
เพราะเท่าที่เห็นคือทางใบปาล์มของต้นหนึ่งกางไปจนถึงยอดของอีกต้นหนึ่งแล้ว
ซึ่งก็ทราบกันดีอยู่แล้วว่าแสงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างอาหาร เสริมสร้างการเจริญเติบโต ซึ่งเกี่ยวข้องกับการให้ผลผลิตของปาล์มน้ำมันโดยตรง จึงคิดว่าน่าจะเกิดจากต้นปาล์มได้รับแสงไม่พออย่างแน่นอน
ปลูกชิดจนปลายทางใบชนยอดของอีกต้น (7.5 เมตร) |
ผังโค่นปาล์มแบบต้นเว้นต้น แถวเว้นแถว |
จากการเริ่มต้นโค่นปาล์มบางส่วนออก
โดยเลือกต้นที่ผิดปกติ หรือให้ผลผลิตน้อย สังเกตว่าต้นรอบๆ
ที่เหลือจะได้รับแสงมากขึ้น ทะลายใหญ่ และดกขึ้นอย่างชัดเจน
ตอนนี้ก็ยังล้มไม่หมดตามแผน แต่พยายามเลือกต้นที่ผลผลิตไม่ดีออกก่อนเป็นการเปิดให้แสงเข้ามา ต่อไปก็จะทยอยเอาออกเรื่อยๆ ต้นไหนยังมีผลผลิตอยู่ก็เอาไว้ก่อน ไม่จำเป็นต้องล้มทั้งหมดทีเดียว ยังมีความเสียดาย เพราะยังให้ผลผลิตดีอยู่
อ.พรพันธุ์ศักดิ์ให้ข้อมูลว่า เรื่องการล้มปาล์มเพื่อเพิ่มพื้นที่แสงนี้มีข้อมูลทางวิชาการอยู่ว่า
ผลผลิตในภาพรวมอาจจะเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้น แต่ไม่มีคำว่าลดลง
เนื่องจากต้นปาล์มต้นข้างๆ ที่ได้รับแสงเพิ่มจะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น มีจำนวนทะลายมากขึ้น
ขนาดทะลายและผลใหญ่ขึ้น ในขณะที่ต้นทุนปุ๋ยก็ลดลงจากเดิม จึงไม่มีคำว่าเสีย
มีข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ว่าเราจะได้ผลผลิตเท่าเดิมหรือเพิ่มขึ้นนี่คือกำไรที่เราเห็น แต่ต้นทุนปุ๋ยลดลง ไม่มีอะไรเสีย อาจจะมีหญ้าขึ้นบ้าง แต่ผมใช้พื้นที่ปลูกพืชผักสวนครัวเล็กๆ น้อยๆ ไว้ทานในครอบครัวก็ไม่มีหญ้าขึ้นแล้วจึงไม่ใช่ปัญหา
หลายๆ ท่านอาจจะสงสัยว่าหากเรามีการวางตำแหน่งต้นปาล์มแล้วต้นที่อยู่ในจุดที่ต้องเอาออกเป็นปาล์มที่ดกและให้ผลผิตสูงมาอย่างต่อเนื่องนั้นจะทำอย่างไร
จำเป็นต้องทำตามแผนเป๊ะหรือไม่นั้น อาจารย์แนะนำว่าไม่จำเป็นต้องทำตามแผน ให้เอาต้นที่มีแนวโน้มว่าผลิตลดลงเรื่อยๆ
ต้นที่ผลผลิตไม่ค่อยสมบูรณ์ ต้นอาจจะไม่สมบูรณ์ 100% ก็ตัดออก
ส่วนต้นที่เขาให้ผลผลิตสูงมาต่อเนื่องเราอาจจะขยับมาเอาต้นข้างๆ
ออกแทน หรือในโซนนั้นอาจจะต้องดูไปเรื่อยๆ ไม่จำเป็นต้องเอาออกทันที
จำเป็นต้องมีการดูหน้างานด้วย
ขอขอบคุณ
อ.พรพันธุ์ศักดิ์ พาหะมาก ต.ท่าฉาง อ.ท่าฉาง จ.สุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ 086-832-6397
👉ดูคลิปวิดีโอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น