เทคนิค ตัดแต่งทางใบปาล์มและสร้างกองทาง สวนปาล์มขนาดใหญ่ (สวนไทยอุตสาหกรรม)
การตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งของสวนปาล์มน้ำมันที่มีความจำเป็นเพราะมีผลกับการได้รับแสงเพื่อสร้างผลผลิตของต้นปาล์มน้ำมัน
คุณปิยะพงษ์ อมรพันธ์ ผู้จัดการสวนไทยอุตสาหกรรม บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) อ.ปลายพระยา จ.กระบี่ ให้ข้อมูลว่า
การตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมัน รวมถึงการตัดทางใบที่แห้งตาย เป็นส่วนเกินออกจากต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาทรงพุ่ม รักษาทางใบให้อยู่ในทรงพุ่มที่เหมาะสม ให้ทางใบอื่นๆ ได้รับแสงเพื่อสังเคราะห์แสงได้อย่างเต็มที่ อีกทั้งยังทำให้ง่ายต่อการมองเห็นทะลายที่อยู่บนต้น และยังสะดวกในการเข้าไปเก็บเกี่ยวด้วย
วิธีการตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันของสวนไทยอุตสาหกรรมนั้นแนะนำให้เหลือทางใบรองทะลายไว้ล่างสุด
1-2 ชั้น
หากทางใบที่รองรับทะลายที่มีมากกว่า 2 ชั้น ให้ตัดทางใบล่างสุดออก
ทุกครั้งที่มีการตัดแต่งทางใบจะต้องเอาต้นกาฝากหรือต้นวัชพืชที่เลื้อยขึ้นต้นปาล์มเอาออกด้วย
เพื่อทำความสะอาดต้นปาล์มไปในตัว และหลังจากตัดแต่งเสร็จจะใช้คราดทำความสะอาดวงโคนในรัศมีประมาณ
2 เมตร
เพื่อให้สะดวกในการเข้าไปเก็บผลปาล์มร่วง และสะดวกในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานด้วย
สำหรับปาล์มที่มีอายุน้อยกว่า 10 ปี ควรตัดแต่งทางใบจะทำทุกๆ 9 เดือน ส่วนปาล์มที่มีอายุมากกว่า 10 ปี
แนะนำให้ตัดแต่งทุก 6 เดือน
เพื่อให้เห็นทะลายที่สุกชัดเจนเนื่องจากว่าปาล์มอายุมากขึ้นต้นจะยิ่งสูง
การตัดแต่งทางใบให้เรียบร้อยจะช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานมองเห็นทะลายได้ชัดและเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มได้ง่าย
👉อุปกรณ์สำหรับแต่งทางปาล์มในแต่ละช่วงอายุ
สำหรับต้นปาล์มที่มีความสูงน้อยกว่า
4 เมตร
จะใช้เสียมในการตัดแต่ง แต่ถ้าต้นปาล์มมีความสูงกว่า 4 เมตร จะใช้เคียวในการตัดแต่ง
เพราะเคียวจะมีใบมีดยาว มีความโค้ง
แล้วใช้ส่วนโค้งแหลมสอดเข้าไปตัดทางใบให้ถึงโคนทางใบ
ส่วนต้นปาล์มที่มีอายุ 3-4 ปี ไม่แนะนำให้ตัดทางใบออก ควรรักษาใบไว้เพื่อการสังเคราะห์แสง เพื่อดึงอาหารสำหรับบำรุงต้นก่อน แต่ถ้าต้องการจะตัดแนะนำให้ตัดเฉพาะทางใบแห้งที่อยู่ข้างล่างสุดออกได้เท่านั้น
ปาล์มที่ให้ผลผลิตแล้วไว้ทางใบใต้ทะลายประมาณ 2 ทาง |
👉สวนไทยอุตสาหกรรมมีการวางทางใบ 2 แบบ
ทางใบปาล์มที่ตัดลงมานั้นจะมีธาตุอาหารหลงเหลืออยู่ประมาณ 30% ก็คือปุ๋ยที่ใส่ให้กับต้นปาล์มน้ำมัน ดังนั้นเพื่อให้เราได้ประโยชน์จากปุ๋ยอย่างสูงสุดจึงนำมาวางเป็นกองทางเพื่อให้ย่อยสลายกลายเป็นอินทรียวัตถุลงสู่ดินให้ต้นปาล์มนำไปใช้ได้อีกครั้งล และแน่นอนว่ากองทางเหล่านี้ยังมีประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะหน้าดินภายในสวนปาล์มไม่ให้ไหลไปกับน้ำอย่างง่ายดายด้วย
แผนผังวิธีวางกองทางแบบรูปตัว T |
พื้นที่รอบวงโคนโล่ง เพื่อให้ทำงานได้สะดวก |
วิธีจัดวางกองทางในโซนที่เป็นพื้นราบจะวางทางใบรูปตัวที (T) โดยนำโคนทางหรือด้านที่มีหนามวางชนกันไม่ให้กระจัดกระจาย และจัดให้ปลายทางใบไปอยู่ฝั่งทางเดินหรือวางทางรถเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน สำหรับโซนที่เป็นที่ลาดชัน หรือมีการวางระบบน้ำในสวนจะจัดเรียงทางใบขวางทางลาดชั้นนั้น เพื่อป้องการการชะล้างพังทลายของดิน
จะเห็นได้ว่าการตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันและการสร้างกองทางในสวนปาล์มน้ำมันนั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมาก
และปัจจุบันเกษตรกรหลายท่านเริ่มหันมาสร้างกองทางในสวนปาล์มมากขึ้น
สำหรับท่านใดที่เริ่มสนใจเรื่องการวางกองทางก็สามารถนำวิธีของสวนไทยอุตสาหกรรมไปปรับใช้กันได้
.
ขอขอบคุณ
บริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม จำกัด
(มหาชน)
โทรศัพท์ : 075-681-126
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น