ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

กรีดยาง 1 ใน 4 ของลำต้น ดีจริงหรือ..? พร้อมคำแนะนำจาก กรมวิชาการเกษตร

หลักปฏิบัติที่ดีในการจัดการแปลงยางพารามาตรฐาน GAP เพื่อให้ชาวสวนยางสามารถมีวิธีการจัดการสวนยางพาราได้อย่างถูกต้องมีข้อแนะนำตั้งแต่ การปลูก การใส่ปุ๋ย วิธีการกรีด ระบบกรีด โดยเฉพาะระบบกรีดตามคำแนะนำคือ 3 ระบบ ได้แก่

 

  • 1. กรีดครึ่งลำต้น (กรีด 2 หน้า) โดยกรีด 1 วัน หยุด 2 วัน (S/2 d3) เหมาะสมกับพันธุ์ยางทั่วไป โดยเฉพาะพันธุ์ที่อ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง เช่น พันธุ์ยางที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง 
  • 2. กรีดครึ่งลำต้น กรีด 1 วัน หยุด 1 วัน (S/2 d2) ใช้ได้กับพันธุ์ยางทั่วไป
  • 3. กรีดครึ่งลำต้น หรือ กรีด 1 ใน 3 ของลำต้น (กรีด 3 หน้า) กรีดติดต่อกัน 2 วัน หยุด 1 วัน (S/2 d1 2d3, S/3 d1 2d3) ใช้กับเปลือกงอกใหม่ ไม่ควรกรีดเกิน 160 วันต่อปี และไม่ควรใช้กับพันธุ์ยางที่อ่อนแอต่ออาการเปลือกแห้ง 

อย่างไรก็ตามยังพบว่าเกษตรกรมีการแบ่งหน้ากรีดมากถึง 4 - 6 หน้า และแต่ละหน้ากรีดยังเว้นเปลือกไว้ระหว่างหน้ากรีดกว้าง 1 - 2 นิ้ว ซึ่งสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร (เดิม) ไม่เคยแนะนำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับยางพาราและเกษตรกร กระทำในสิ่งที่ผิดไปจากหลักวิชาการ การกระทำดังกล่าวยิ่งทำให้รอยกรีดสั้นลงไปอีกและผลผลิตค่อนข้างต่ำ

 

โดยให้เหตุผลว่าช่วงให้ท่อน้ำยางส่งตรงมายังโคนต้น สามารถเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้นและทำให้เปลือกงอกขึ้นใหม่หนา และยังอ้างอีกว่าน้ำยางมีเฉพาะส่วนหัวและท้ายรอยกรีดเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องกรีดยาว และกรีดตื้น ไม่ถึงเยื่อเจริญ ป้องกันไม่ให้เกิดโรคเส้นดำ โรคเปลือกเน่า ยังแนะนำผิดๆ ให้กรีดถี่ คือ กรีด 3 - 5 วัน ติดต่อกันแล้วหยุดกรีด หรือกรีดทุกวันที่ในไม่ตก โดยให้เหตุผลว่ากรีดรอยกรีดสั้น กรีดง่าย กรีดไม่บาดหน้ายาง และรักษาเปลือกทำให้กรีดได้นาน โดย 1 หน้า กรีดได้ 3 ปี กรีดเปลือกเดิมทั้ง 4 หน้า กรีดได้ 12 ปี และกลับไปกรีดเปลือกงอกใหม่อีก 12 ปี รวมทั้งสิ้นสามารถกรีดได้นาน 24 ปี จึงโค่นขายไม้ยางโดยไม่มีการกรีดยางหน้าสูง การปฏิบัติดังกล่าวเป็นการเสียโอกาสต่อรายได้จากผลผลิตน้ำยางของเกษตรกรโดยตรง 


ในขณะที่คำแนะนำทางวิชาการ การกรีดยาง ให้แบ่งหน้ากรีด 2 - 3 หน้าเท่านั้น เพราะผลผลิตน้ำยางขึ้นอยู่กับความยาวของรอยกรีด มีผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศยืนยัน และท่อน้ำยางจะกระจายไปทั้งต้น และการกรีดทำให้ตัดท่อน้ำยางทำให้มีน้ำยางออกมาทั้งรอยกรีด ไม่ใช่ออกแค่ส่วนหัวกับท้ายรอยกรีดตามที่คิดเอาเอง 


อีกทั้งการกรีดลึกถึงเยื่อเจริญนอกจากจะให้ผลผลิตน้ำยางสูงเพราะตัดท่อน้ำยางมาก สำหรับโรคที่เกิดกับหน้ายาง สามารถใช้สารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น เมทาแลคซิล ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียมหรืออาลีเอท เป็นต้น ผสมกับน้ำสะอาดใช้ทาหน้ายางที่กรีดในปีกรีดนั้นๆ ให้ทาทุกสัปดาห์ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เมื่อมีอาการของโรคและจะต้องทาทุกเดือนในช่วงฤดูฝน

 

ส่วนความถี่ในการกรีดยาง ให้ความถี่สูงสุดไม่เกิน กรีด 2 วัน ติดต่อกัน หยุด 1 วัน หรือกรีดวันเว้นวัน เนื่องจากต้นยางจะสร้างน้ำยางชดเชยสูงสุดหลังจากกรีด ใช้เวลา 48 - 72 ชั่วโมง หรือ 2 - 3 วัน การกรีดดังกล่าวสามารถกรีดได้นานถึง 40 ปี เช่น แบ่งหน้ากรีด 3 หน้า กรีด 1 หน้า กรีดได้ 4 - 5 ปี กรีดเปลือกเดิมทั้ง 3 หน้า กรีดได้ 12 - 15 ปี และกลับไปกรีดเปลือกงอกใหม่อีก 12 - 15 ปี จากหน้ากรีดยางหน้าสูงได้อีก 10 ปี รวมทั้งสิ้นสามารถกรีดได้นาน 34 - 40 ปี

นับว่าเป็นเรื่องเร่งด่วนที่การยางแห่งประเทศไทยจะต้องทบทวน ตรวจสอบและให้ส่วนงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สถาบันวิจัยยาง ฝ่ายส่งเสริมและกองฝึกอบรม มีบทบาทในการทบทวนหลักสูตรการฝึกอบรมการกรีดยางให้ถูกหลักวิชาการตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย ต่อไป

.

ที่มา :  การยางแห่งประเทศไทย

เรื่อง : พิศมัย จันทุมา ศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา สถาบันวิจัยยาง

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม