การดูแลรักษาต้นยางพารา ยิ่งดูแลดีก็จะทำให้ต้นยางโตและมีขนาดพร้อมกรีดได้ไม่ยาก ได้ผลผลิตดี ผลตอบแทนคุ้มค่า แต่หากดูแลผิดวิธีก็จะทำให้เกิดผลเสียหายกับต้นยางพาราได้เช่นกัน
จากที่คณะ GAP ศูนย์บริการทดสอบรับรองภาคใต้
ศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์ และศูนย์วิจัยยางฉะเชิงเทรา
ได้เข้าไปสำรวจเพื่อแนะนำให้เกษตรกรชาวสวนยางผลิตยางก้อนถ้วยตามมาตรฐาน GAP
พบว่า เกษตรกรบางรายยังไม่มีความเข้าใจการจัดการสวนยางอย่างถูกวิธี
ที่เห็นได้ชัด คือ การใส่ปุ๋ยยางพาราไม่ถูกสูตร ไม่ถูกวิธี
และไม่ใส่ตามช่วงฤดูกาล
วิธีการใส่ปุ๋ยให้ต้นยางอย่างถูกสูตร
ยังต้องมีการจัดการใส่ให้ถูกวิธีอีกด้วย หากวิธีการใส่ที่ผิดสูตร ผิดวิธี
นอกจากจะเสียเงิน เสียเวลา ไม่ได้ผลผลิตตามต้องการแล้ว
ยังทำให้ต้นยางไม่สามารถดูดซึมแร่ธาตุสารอาหารได้เต็มที่เช่นกัน
ดังนั้นจำเป็นต้องดูแลและใส่ปุ๋ยให้ถูกสูตรตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง
การยางแห่งประเทศไทยคือสวนยางที่เปิดกรีดแล้ว สูตร 30 – 5 – 18 หรือสูตรใกล้เคียง 29 – 5 – 18 ไม่ควรใส่ปุ๋ยตรงโคนต้นยาง เนื่องจากรากแขนงและรากฝอยไม่ได้อยู่บริเวณนั้น
จึงไม่สามารถดูดสารอาหารได้เต็มที่ ดังนั้นควรใส่ตรงกลางระหว่างแถวยาง
ซึ่งรากแขนงสามารถดูดซึมได้ดี หากโรยปุ๋ยลงระหว่างร่องแถวยาง แต่ไม่โกยใบยางออก
แร่ธาตุสารอาหารจะซึมสู่ดินได้ช้า
เป็นไปได้เพียงแค่รอฝนตกลงมาเพื่อให้ปุ๋ยละลายและซึมลงสู่ดิน ซึ่งใช้เวลานานเกินไป
แต่การใส่ปุ๋ยที่ถูกวิธี คือ
ต้องโกยใบยางบริเวณนั้นออกไปจนเห็นชั้นดินและโรยปุ๋ยลงไป
หรือขุดดินฝังกลบที่ระดับความลึกไม่เกิน 20 ซม. หลังจากนั้นให้เอาใบยางกลบ
ซึ่งการทำแบบนี้จะทำให้การดูดซึมปุ๋ยได้เร็วขึ้น
หากโรยปุ๋ยลงระหว่างร่องแถวยาง แต่ไม่โกยใบยางออก แร่ธาตุสารอาหารจะซึมสู่ดินได้ช้า
นอกจากนี้การใส่ปุ๋ยถูกสูตร สูตรวิธีทำให้ต้นยางเปลือกนิ่ม ได้น้ำยางดี เนื้อยางแห้ง (DRC) สูง ติดลูกน้อย ใบหนาดก ผลัดใบช้า เพิ่มวันกรีดในปีนั้นได้อีกด้วย และควรใส่ปุ๋ยในช่วงต้นฝนและปลายฝน โดยใส่ในขณะที่ดินมีความชื้น เพียงเท่านี้ก็จะสามารถจัดการดูแลสวนยางก่อนเปิดกรีดและหลังปิดกรีดได้ตามมาตรฐาน GAP
.
ข้อมูลจาก : การยางแห่งประเทศไทย
เรื่อง : วินัย วารี ภาพ : คมกริช กังรัตน์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น