ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

วางแผนล้มปาล์มปลูกใหม่ ลดปุ๋ยก่อนโค่น 3 ปี ผลผลิตไม่ลด ประหยัดต้นทุนปีละ 2,000 บาท : จิราพรรณ สุขชิต

ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี ศึกษาถึงผลกระทบของการลดปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของปาล์มน้ำมันก่อนการปลูกทดแทน เพื่อช่วยให้เกษตรกรทราบผลของการงดหรือลดการใส่ปุ๋ยเคมี ไม่กระทบต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันก่อนการโค่นล้ม ลดการใช้ปุ๋ยเคมีก่อนการโค่นล้มได้นาน ถึง 3 ปี โดยไม่มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน สามารถประหยัดต้นทุนการผลิตได้ปีละ 2,000 บาท

 

ปาล์มน้ำมันเป็นพืชเศรษฐกิจที่สคัญในภาคใต้ เป็นพืชที่ชอบสภาพแวดล้อมแบบร้อนชื้น สามารถ เจริญเติบโตและให้ผลผลิตสูงในเขตร้อนฝนตกชุกถ้ามีการจัดการที่ดี พื้นที่ปลูกส่วนใหญ่จึงอยู่ระหว่าง เส้นละติจูด 10 องศาเหนือ-ใต้ ถ้าเลยจากจุดนี้การกระจายของน้ฝนจะน้อยและมีช่วงแล้งยาวนานขึ้น

 

การใช้ปุ๋ยเคมีในปาล์มน้ำมัน

มีงานทดสอบการงดใส่ปุ๋ยเคมีให้กับต้นปาล์มน้มันเดิมก่อนที่จะทการโค่นล้ม เปรียบเทียบกับการให้ปุ๋ยเคมีตามปกติในมาเลเซีย พบว่า

 

ผลผลิตทะลายปาล์มน้มันจะไม่ลดลงในทันที แต่จะค่อยๆ ลดลงในปีที่ 2 หรือ 3 ขึ้นอยู่กับชนิดของดิน โดยต้นปาล์มน้มันจะใช้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารที่ต้นปาล์มน้มันได้เก็บสรองไว้ออกมาใช้ก่อน ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง หลังงดปุ๋ยโพแทสเซียมนานถึง 6 ปี ต้นปาล์มน้มันจะยังคงให้ผลผลิตอย่างสม่เสมอ แต่ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ต้นปาล์มน้มันอาจให้ผลผลิตที่สม่เสมอเพียง 2 ปี หลังงดโพแทสเซียม 

 

สำหรับประเทศไทยคาดว่าจะมีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันทดแทนสวนปาล์มน้ำมันเดิมปีละไม่ต่ำกว่า 1.5 แสนไร่ แต่ยังไม่มีข้อมูลการงด หรือลดการใส่ปุ๋ยเคมีก่อนการโค่นล้มปาล์มน้ำมัน เกษตรกรทั่วไปจึงมักโค่นล้มต้นปาล์มน้ำมันเดิม แล้วปลูกต้นปาล์มน้ำมันใหม่ทันทีโดยไม่มีการวางแผนมาก่อน

 

ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี กรมวิชาการเกษตร จึงได้ศึกษาถึงผลกระทบของการลดปุ๋ยเคมีต่อผลผลิตของปาล์มน้ำมันก่อนการปลูกทดแทน เพื่อช่วยให้เกษตรกรทราบผลของการงด หรือลดการใส่ปุ๋ยเคมี ที่ไม่กระทบต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันก่อนการโค่นล้ม และสามารถวางแผนการปลูกทดแทนล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี อันจะเป็นการลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้ำมันในทางหนึ่ง และเป็นการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ

 

ปลูกทดแทนต้นเดิม

ปาล์มน้ำมันเริ่มมีการปลูกใหม่แทน (replanting) เมื่อปาล์มน้ำมันมีอายุประมาณ 20-30 ปี ข้อพิจารณาในการปลูกแทนมีหลายปัจจัย ปัจจัยหลักคือ

 

ความสูงของต้นปาล์มน้ำมัน ซึ่งเกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานที่ลำบากมากขึ้น เช่น การเก็บเกี่ยวทะลายปาล์มน้ำมัน การตัดแต่งทางใบ ทั้งยังต้องใช้เครื่องมือพิเศษ เช่น เคียวที่มีด้ามยาวและน้ำหนักเบา คนที่เก็บเกี่ยวทะลายและตัดแต่งทางใบปาล์มน้ำมันต้องเป็นคนที่มีความชำนาญ ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวเพิ่มมากขึ้น

 

ปัจจัยที่รองลงมาคือเพื่อเป็นโอกาสเปลี่ยนพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมใหม่ๆ ที่เหมาะสมกับพื้นที่ หรือให้ผลผลิตมากขึ้นกว่าพันธุ์เดิม และเป็นโอกาสในการปรับเปลี่ยนระยะปลูกที่เหมาะสมกับพันธุ์ แก้ไขระบบการขนส่ง และระบบระบายน้ำภายในแปลง ประกอบกับผลผลิตของปาล์มน้ำมันเองที่ลดลง เมื่อปาล์มน้ำมันมีอายุมากจนไม่คุ้มการลงทุน

 

ผลการศึกษา

1. การเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมัน

เมื่อดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 3 ปี (ตุลาคม 2559 - กันยายน 2562) พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติในทุกลักษณะ ยกเว้นพื้นที่หน้าตัดแกนทาง โดยกรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ยกเว้น 0-3-0 มีพื้นที่หน้าตัดแกนทางมากที่สุด 59.28 ตารางเซนติเมตร และกรรมวิธีที่ 2 ใส่ปุ๋ยเคมีตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ยกเว้น 21-0-0 มีพื้นที่หน้าตัดแกนทางน้อยที่สุด คือ 48.62 ตารางเซนติเมตร

 

เมื่อเปรียบเทียบพื้นที่หน้าตัดแกนทางก่อนทดลองและหลังการทดลอง มีแนวโน้มพื้นที่หน้าตัดแกนทางลดลงจากเดิม และกรรมวิธีอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ ความยาวทางใบของต้นปาล์มน้ำมันมีแนวโน้มลดลงจาก 6.52 เมตร เหลือ 6.22 เมตร นอกจากนี้ พื้นที่ใบมีแนวโน้มลดลงเช่นกัน จาก 14.69 ตารางเมตร เหลือ 13.01 ตารางเมตร

 

ดังนั้น การลดการใช้ปุ๋ยเคมีก่อนการโค่นล้มเพื่อปลูกทดแทน โดยการลดการใช้ปุ๋ย 21-0-0, 0-3-0 และ 0-0-60 เป็นระยะเวลา 3 ปี ต้นปาล์มน้ำมันมีการเจริญเติบโตไม่แตกต่างกันทางสถิติในแต่ละกรรมวิธี แต่ความยาวทางใบและพื้นที่ใบมีแนวโน้มลดลง

 

วิธีดำเนินการ

  • บันทึกข้อมูลการเจริญเติบโตของต้นปาล์มน้ำมันปีละ 1 ครั้ง วัดการเจริญเติบโตจำนวน 16 ต้น จำนวน 4 ซ้ำในปาล์มน้ำมันอายุ 35 ปี โดยใช้ทางใบที่ 17 เป็นตัวแทนในการวัด
  • เก็บข้อมูลผลผลิตปาล์มน้ำมันทุก 15 วัน ต่อเนื่องตลอดทั้งปี เก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ผลผลิตทะลายสดต่อไร่ต่อปี จำนวนทะลายต่อไร่ต่อปี และน้ำหนักทะลายเฉลี่ยในแต่ละปี
  • ทำการเก็บตัวอย่างดินและใบปาล์มน้ำมันปีละ 1 ครั้ง ในแปลงทดลองปลูกปาล์มน้ำมันลูกผสมเทเนอราของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอายุ 35 ปี เนื้อที่ 30 ไร่
  • วิเคราะห์ผลผลิต ลักษณะทางกายภาพและเคมีของดินในแปลงเก็บตัวอย่างดิน และปริมาณธาตุอาหารในใบ ณ ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมันศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันสุราษฎร์ธานี เพื่อประเมินการใช้ปุ๋ยเคมีของปาล์มน้ำมันในแต่ละปี

 

2. ผลผลิตปาล์มน้ำมัน

จากการเก็บเกี่ยวผลผลิตทะลายสดปาล์มน้มันที่มีอายุ 35 ปี ในแต่ละกรรมวิธี ณ แปลงเกษตรกรจังหวัดกระบี่ เริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตปาล์มน้มัน ตั้งแต่ปี 2560 – 2562 พบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยผลผลิตทะลายสดในปี 2560 ซึ่งเป็นปีแรกของการทดลอง มีผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 4.02 ตัน/ไร่/ปี ในปี 2561 มีผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 4.82 ตัน/ไร่/ปี และผลผลิตปี 2562 พบว่า มีผลผลิตทะลายสดเฉลี่ย 5.21 ตัน/ไร่/ปี ซึ่งทุกกรรมวิธีมีผลผลิตเฉลี่ยมากกว่า 3.50 ตัน/ไร่/ปี ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี

 

ดังนั้นในปาล์มน้มันที่มีอายุมากกว่า 20 ปี สามารถลดต้นทุนการผลิตปาล์มน้มันได้โดยการลดการใช้ปุ๋ยเคมีได้นานอย่างน้อย 3 ปี

 

3. ปริมาณธาตุอาหารในดิน

  • จากผลการวิเคราะห์ธาตุอาหารในดินทั้ง 3 ปี พบว่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าการนไฟฟ้าของดิน ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยมีการเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อยในแต่ละปี
  • ปริมาณอินทรียวัตถุในดิน พบว่า มีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้นจากเดิม แต่ยังคงมีค่าน้อยกว่า 2.5 เปอร์เซ็นต์
  • ปริมาณฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ที่เหมาะสมอยู่ในช่วง 15–20 มิลลิกรัม/กิโลกรัม จากการทดลองพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทุกครั้งที่ทการวิเคราะห์ เมื่อสิ้นสุดการทดลองฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์เพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ โดยในปี 2562 มีปริมาณฟอสฟอรัสเพิ่มมากขึ้นจากเดิมและสูงกว่าช่วงที่เหมาะสมในทุกกรรมวิธี
  • ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ ผลวิเคราะห์ดิน ปี 2560–2561 ไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ แต่ในปี 2562 พบว่ามีความแตกต่างกันทางสถิติ กรรมวิธีที่ 3 ใส่ปุ๋ยเคมีตามคแนะนของกรมวิชาการเกษตร ยกเว้น 0-3-0 มีโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้มากที่สุด 121.75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม และไม่ใส่ปุ๋ยเคมีทุกชนิด มีโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้น้อยที่สุด 46.75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม โดยกรรมวิธีที่งดการใส่ 0-0-60 มีแนวโน้มปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ลดลงและมีค่าน้อยกว่าช่วงที่เหมาะสม (80–100 มิลลิกรัม/กิโลกรัมเมื่อพิจารณาปริมาณ
  • แมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ พบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน ทางสถิติในทุกครั้งที่ทการวิเคราะห์ แต่มีน้อยกว่าช่วงที่ เหมาะสม (50–75 มิลลิกรัม/กิโลกรัมในทุกกรรมวิธี ยกเว้นกรรมวิธีที่ 4 ใส่ปุ๋ยเคมีตามคแนะนของกรมวิชาการเกษตร ยกเว้น 0-0-60 มีปริมาณแมกนีเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ 52.25 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

 

สรุปผลการศึกษา

การลดปุ๋ยเคมีในสวนปาล์มน้มันลูกผสมเทเนอรา อายุ 35 ปี เป็นระยะเวลา 3 ปี ไม่มีผลกระทบต่อการ ให้ผลผลิตทะลายสด ปริมาณธาตุอาหารในดินและใบปาล์มน้ำมัน แต่ปริมาณโพแทสเซียมที่แลกเปลี่ยนได้ในดินมีแนวโน้ม ลดลงเมื่อใส่ปุ๋ยเคมีตามคแนะนของกรมวิชาการเกษตร ยกเว้น 0-0-60 และไม่ใส่ปุ๋ยเคมี การทดลองนี้ใช้ระยะเวลา ทการทดลองเพียง 3 ปี อาจยังไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลง ของปริมาณธาตุอาหารในดินและใบ และการตอบสนองต่อธาตุอาหารของปาล์มน้ำมัน แต่จากการทดลองนี้สามารถ สรุปได้ว่า 

 

สวนปาล์มน้มันลูกผสมเทเนอราที่มีอายุมาก และมีแผนการโค่นล้มเพื่อปลูกพืชอื่น หรือปลูกปาล์มน้มันทดแทน สามารถลดการใช้ปุ๋ยเคมีก่อนการโค่นล้มได้นานถึง 3 ปี โดยไม่มีผลกระทบต่อการให้ผลผลิตปาล์มน้มัน สามารถประหยัดต้นทุนการผลิตได้ปีละ 2,000 บาท

การนำไปใช้ประโยชน์

ข้อมูลการลดการใช้ปุ๋ยต่อผลผลิตปาล์มน้ำมัน ก่อนการโค่นล้มเพื่อปลูกทดแทน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ ในด้านการลดต้นทุนในการผลิตปาล์มน้ำมันก่อนการโค่นล้ม สามารถช่วยทำให้เกษตรกรทราบผลของการงดหรือลดการใส่ปุ๋ยเคมี ที่ไม่กระทบต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันก่อน การโค่นล้ม เกษตรกรสามารถวางแผนการปลูกทดแทน ล่วงหน้าได้เป็นอย่างดี อันจะเป็นการลดต้นทุนการผลิต ปาล์มน้ำมันในทางหนึ่ง และเป็นการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างมีประสิทธิภาพ

.

(ผู้ร่วมวิจัย : เกริกชัย ธนรักษ์ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร และ กาญจนา ทองนะ ศูนย์วิจัยปาล์มน้ำมันกระบี่ กรม วิชาการเกษตร)

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม