กยท. ผลักดันเครือข่ายสวนยาง พัฒนาเกษตรกรรมยั่งยืน มุ่งสร้างความเข้มแข็ง - ยกระดับคุณภาพชีวิต
การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) จัดงาน “เครือข่ายสวนยางยั่งยืนเสริมสร้างเศรษฐกิจไทย RAOT สู่มาตรฐานโลก” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.เพิก เลิศวังพง คณะทำงานเพื่อสนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการบริหารจัดการยางพารา เป็นประธานในพิธีเปิด ณ ศูนย์วิจัยยางบุรีรัมย์ มุ่งสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง พัฒนาเกษตรกรรมสู่ความยั่งยืน เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตชาวสวนยาง
ดร.เพิก เผยในฐานะประธานเปิดงานว่า จากนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในเรื่องการส่งเสริมให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกรเป็นเจ้าของเครื่องมือเครื่องจักรของตนเองรวมไปถึงบริหารภาคธุรกิจเกษตรควบคู่ไปกับการบริหาร จัดการทรัพยากรทางการเกษตรโดยใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green) ด้วย BCG / Carbon Credit ทำการเกษตรที่ลดภาระและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สร้างศักยภาพในการแข่งขันด้วยการสร้างนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน ด้วยวิธีการและกระบวนการผลิตที่ช่วยลดต้นทุน ลดการใช้ทรัพยากรและพลังงาน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มมูลค่าวัตถุดิบ และการผลิตสินค้ายางใหม่ๆ ออกสู่ตลาดโลกได้
เชื่อมั่นว่าการจัดงาน “เครือข่ายสวนยางยั่งยืนเสริมสร้างเศรษฐกิจไทย RAOT สู่มาตรฐานโลก” ของ กยท. ครั้งนี้จะสามารถการส่งเสริมให้สถาบันเกษตรกร และเกษตรกรรายย่อยมีการบริหารจัดการยางพาราแบบครบวงจรร่วมกัน นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยาง สร้างความเข้มแข็งและความมั่นคง ทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
นายณกรณ์
ตรรกวิรพัท
ผู้ว่าการ กยทกล่าวว่า
เพื่อตอบรับนโยบายของ รมว.เกษตรฯ
ที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรด้วยการปรับเปลี่ยนวิธีการทำเกษตรแบบยั่งยืน
และเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมยางพาราอย่างยั่งยืน โดยการจัดการสวนยาง
และแปรรูปยางตลอดจนสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมยางอย่างยั่งยืน
กยท. จึงจัดงาน“เครือข่ายสวนยางยั่งยืนเสริมสร้างเศรษฐกิจไทย RAOT สู่มาตรฐานโลก” โดยมีความตั้งใจสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย และเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ผ่านการให้ความรู้และแชร์ประสบการณ์ในการบริหารจัดการยางพาราอย่างครบวงจรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำสวนยาง จากวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งชาวสวนยางที่ประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ ผู้แทนนักวิชาการ ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร ซึ่งภายในงานมีเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และบุคคลทั่วไป ที่ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 1,500 คน เป็นโอกาสอันดีที่จะเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดในการประกอบอาชีพ รวมถึงประสานความร่วมมือ และช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างเครือข่ายสถาบันเกษตรกร เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้สู่การปฏิบัติจริง
นอกจากการส่งเสริมการทำสวนยางแบบยั่งยืนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตแล้ว การพัฒนามาตรฐานและการจัดการสวนยางที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อรองรับการกีดกันทางการค้าทั้งหมดนี้ จะส่งผลให้เกิดการเติบโตทางการค้า การลงทุน และการส่งออกยางพาราของประเทศ จะสามารถเพิ่มรายได้และพัฒนาคุณภาพชีวิตชาวสวนยางให้มีความยั่งยืนได้อย่างแท้จริง
นายณกรณ์ กล่าวทิ้งท้าย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น