ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

เกษตรฯ หนุนยางไทย ประเดิมซื้อ-ขายยาง รับกฎ EUDR พร้อมก้าวสู่มาตรฐานสากล

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เดินหน้าสร้างเสถียรภาพยางพาราไทยแข็งแกร่งตลอดห่วงโซ่ จัดใหญ่ Ready for EUDR in Thailand ขานรับกฎ EUDR ประเดิม Kick Off ซื้อขายยางตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตได้เป็นครั้งแรก ผ่านแพลตฟอร์ม Thai Rubber Trade โดยมี ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดโครงการฯ ภายใต้แนวคิด “RAOT พร้อมก้าวสู่มาตรฐานสากล” ช่วยชาวสวนยางไทย เพิ่มรายได้ พร้อมคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม


ร้อยเอก ธรรมนัส เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ความสำคัญในการส่งเสริมเกษตรกรไทยก้าวสู่วิถีเกษตรยั่งยืน ด้วยการจัดการทรัพยากรการเกษตร ทำการเกษตรที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Go Green) ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายหลักของกระทรวงฯ จึงผลักดันให้เกษตรกรผู้ปลูกยางพาราและผู้ประกอบกิจการยางพาราไทยมีการจัดการข้อมูลยาง เพื่อให้เป็นไปตามกฎระเบียบ EU Deforestation-free Products Regulation (EUDR) ของสหภาพยุโรป (EU) และมาตรฐานระดับสากลต่างๆ โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้ผลักดันโฉนดเพื่อการเกษตรในพื้นที่ สปก. ที่เป็นพื้นที่สวนยาง กว่า 9.2 ล้านไร่ ให้พี่น้องชาวสวนยางมีสิทธ์ในพื้นที่ทำกินที่ถูกต้อง เป็นไปตามกฎหมายของไทย และกฎระเบียบ EUDR พร้อมกับการออกโฉนดต้นไม้ยาง เพื่อรับรองการมีอยู่ของต้นยางพาราในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นการขยายโอกาสแก่เกษตรกรให้เข้าถึงพื้นที่ทำกิน สามารถแปลงทรัพย์สินให้เป็นทุนสำหรับประกอบอาชีพการทำสวนยาง รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ อาทิ การทำคาร์บอนเครดิตในสวนยาง นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าผลผลิตยาง และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร บรรลุเป้าหมายทำเกษตรยั่งยืนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม

“การทำเกษตรโดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม จะเป็นโอกาสให้เกษตรกรผู้ปลูกยางและผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมอนุรักษ์ป่าไม้ของประเทศและแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก สร้างความยั่งยืนให้ห่วงโซ่อุปทานยางพาราตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ เกิดการยกระดับพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยางพาราของไทยให้มีความแข็งแกร่ง เป็นที่ยอมรับในระดับสากล โดยมุ่งเน้นการพัฒนาสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าสูง ควบคู่ไปกับการพัฒนาทรัพยากรเกษตรให้ยั่งยืน” ร้อยเอก ธรรมนัส กล่าว


นายณกรณ์  ตรรกวิรพัท  ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  การ Kick Off ซื้อขายยางตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตได้ โดยวิธีประมูลผ่านระบบดิจิทัล Thai Rubber Trade (TRT) ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มของ กยท. สำหรับใช้ซื้อขายประมูลยาง แสดงถึงความพร้อมของยางพาราไทยด้านการจัดการระบบข้อมูลที่รองรับกฎระเบียบ EDUR ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยระบบ TRT จะแสดงรายละเอียดยางที่ซื้อขายอย่างชัดเจน เนื่องจากมีการจัดเก็บและรวบรวมข้อมูลผลผลิตยางของสมาชิกแต่ละรายอย่างเป็นระบบ จึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับที่มาของยางได้ทุกล๊อต พร้อมนำเทคโนโลยี Block chain มาใช้ในการทำธุรกรรมเพื่อเพิ่มความโปร่งใส แม่นยำ มีความน่าเชื่อถือในการตรวจสอบ สำหรับการประเดิมซื้อขายยางที่ตรวจสอบย้อนกลับผลผลิตได้ในครั้งนี้ มีเอกชนให้ความสนใจเข้าเสนอราคาประมูล โดยราคาประมูลวันนี้พุ่งสูงถึง 94.01 บาท/กก.รวมมูลค่ากว่า 41.2 ล้านบาท โดยยางที่ผู้ประกอบการเอกชนซื้อจะถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ยางพาราจำหน่ายในตลาดโลกต่อไป ทั้งนี้ ที่ผ่านมา กยท. ได้เตรียมความพร้อมรองรับกฎระเบียบ EUDR ไว้แล้ว โดยการจัดเก็บข้อมูลทะเบียนเกษตรกรอย่างเป็นระบบ จึงสามารถระบุและแยกแยะพื้นที่สวนยาง รวมถึงทราบได้ว่าผลผลิตยางจากสถาบันเกษตรกรที่นำมาขายผ่านตลาดกลาง กยท. มาจากสวนยางของสมาชิกรายใด จึงสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ 100% 

นายณกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภายในงานยังมีการร่วมลงนามแสดงเจตจำนงความร่วมมือ (MOU) การขับเคลื่อนสินค้ายางพาราตามกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (EUDR) ของประเทศไทย ระหว่างภาครัฐ สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง แสดงให้เห็นว่าทุกภาคส่วนให้ความสำคัญและเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการ Ready for EUDR in Thailand : RAOT พร้อมก้าวสู่มาตรฐานสากล เพื่อให้เกิดการพัฒนาการจัดการระบบยางอย่างยั่งยืน เพิ่มมูลค่าและพัฒนาธุรกิจผลผลิตยาง ตลอดจนอุตสาหกรรมด้านยางพาราอย่างครบวงจร เป็นการปูรากฐานไทยก้าวสู่ความเป็นผู้นำด้านการผลิตและส่งออกยางพาราที่มีคุณภาพในระยะยาว


“เชื่อมั่นว่าการดำเนินมาตรการเชิงรุกที่มุ่งผลักดันระบบการจัดการข้อมูลยางพาราไทยภายใต้กฎระเบียบ EUDR และมาตรฐานสากลอื่นๆ ควบคู่ไปกับการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมของโลก จะเกิดผลดีทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม เกิดประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับวงการยางพาราทุกภาคส่วน โดยเฉพาะสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรชาวสวนยางไทย นำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดี ตามนโยบาย รมว.เกษตรฯ คือ เกษตรกรต้องอยู่ดี สินค้าเกษตรมูลค่าสูง ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน” 

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม