การใช้ปูนปรับปฏิกิริยาของดินเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับดิน โดยเฉพาะในดินที่มีปฏิกิริยาเป็นกรดรุนแรงมาก เพราะโดยทั่วไปแล้วดินเมื่อได้ปลูกพืชติดต่อกันเป็นเวลานาน ดินจะมีฤทธิ์เป็นกรดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
1.
มีการชะล้างในเวลานาน
เนื่องจากไฮโดรเจนไอออน (H+) ที่ได้จากกรดคาร์บอนิกที่เกิดจากน้ำฝนทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
ไปไล่ที่ธาตุประจุบวกหรือไอออนบวกที่มีฤทธิ์เบส (basic cation) ได้แก่ แคลเซียม (Ca2+) แมกนีเซียม (Mg2+)โพแทสเซียม (K+) และโซเดียม (Na+)
ที่มีอยู่แต่เดิมในดิน ถูกชะล้างออกไป แล้ว (K+) นั้นเข้าไปเกาะแทนที่ไอออนบวกที่ถูกชะล้างออกมา
ไอออนบวกเหล่านี้จะอยู่ในสารละลายดินและถูกชะล้างลงสู่ดินชั้นล่างหรือเกิดการแลกเปลี่ยนกับไอออนบวกอื่น
ๆ ต่อไป
ดินที่มีสภาพเป็นกรดจึงมีธาตุเหล่านี้อยู่น้อย
และมี (H+)
อยู่มากกว่าจึงแสดงความเป็นกรด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดินร่วนทรายและดินร่วนเหนียวสีแดงซึ่งเป็นดินที่ระบายน้ำดี
ถ้ามีอินทรียวัตถุในดินน้อยก็ยิ่งมีแรงดูดชับไอออนบวกได้น้อยลง
น้ำที่ซึมผ่านผิวดินชั้นบนลงสู่ดินชั้นล่างด้วยแรงดึงดูดของโลกจะชะล้างไอออนบวกดังกล่าวลงไปด้วย
ทำให้ดินชั้นบนเริ่มมีฤทธิ์เป็นกรด
2.
ชั้นดินบนถูกชะล้างพังทลาย
ในสภาพแปลงปลูกที่เป็นพื้นที่ลาดชัน
ลุ่มๆ ดอนๆ ซึ่งง่ายต่อการพัดพาหน้าดินเมื่อมีฝนตกดินในแหล่งปลูกพืชของประเทศไทยซึ่งได้เปิดป่าเพื่อเพาะปลูกพืชมานานกว่า
40 ปี ส่วนใหญ่มักไม่มีหน้าดินเหลืออยู่เลย เมื่อหน้าดินซึ่งมีธาตุไอออนบวกถูกพัดพาออกไปจากพื้นที่
ดินล่างที่เหลืออยู่นั้นจึงมีสภาพเป็นกรด
3
การใส่ปุ๋ยเคมีติดต่อกันเป็นเวลานาน
การใส่ปุ๋ยในรูปแอมโมเนียมจะเกิดกระบวนการไนตริฟิเคชัน
(H+)
จะถูกปลดปล่อยออกมาจากกระบวนการแปรเปลี่ยนรูปของธาตุไนโตรเจนในปุ๋ยเคมี
และกระบวนการสลายตัวของอินทรียวัตถุเกิดกรดอินทรีย์หลายชนิดที่มีส่วนก่อให้เกิดดินกรดได้
โดยทั่วไปดินปลูกยางของภาคใต้มักมีสภาพเป็นกรดจัดมาก
เนื่องจากภาคใต้เป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุก ปริมาณน้ำฝนในภาคใต้เฉลี่ยรายปี
1,500มิลลิเมตร/ปี ประกอบกับดินผ่านการสลายตัวผุพังมานาน
ทำให้แคตไอออนที่ไม่เป็นกรด เช่น Na+, K+ , Ca2+และ Mg2+ที่ละลายออกมาสู่สารละลายดินถูกชะละลายไปได้ง่าย เมื่อเปรียบเทียบกับแคตไอออนที่เป็นกรด
เช่น H+, Al3+
และ Fe3+ เป็นต้น เนื่องจาก Na+,
K+, Ca2+และ Mg2+เป็นแคตไอออนที่มีประจุน้อยแต่มีขนาดใหญ่ (ศักย์ไอโอนิกต่ำ) จึงละลายน้ำได้ดีมาก
การเคลื่อนย้ายและถูกชะล้างจึงเป็นไปในอัตราที่สูง ส่วน Al3+ และ Fe3+ เป็นแคตไอออนที่มีขนาดค่อนข้างเล็กแต่มีประจุบวกสูง
(ศักย์ไอโอนิกปานกลาง) จึงพยายามที่จะดูดยึดกับอนุมูล OH- ในโมเลกุลของน้ำและผลักดัน H+ ออกจากโมเลกุล
ดังนั้นในเขตชุ่มชื้นที่มีปริมาณน้ำฝนมาก จึงมีร้อยละการอิ่มตัวด้วยกรดสูง
สภาพความเป็นกรดของดินจึงสูงขึ้น (pH ลดลง) (ไพบูลย์ วิวัฒน์วงศ์วนา, 2546)
ปฏิกิริยาดิน (Soil reaction) คือ ระดับความเป็นกรดเป็นด่างของดินซึ่งบอกเป็นค่าพีเอ(pH) สารละลายที่เป็นกรดหรือเป็นด่างนั้น
สามารถทราบได้จากการวัดค่า pH
ของสารละลายนั้นโดยมีสูตรในการคำนวณหาค่าของ
pH ดังนี้ (มุกดาสุขสวัสดิ์, 2544)
- pH = - log [H+]
- โดย pH คือ หน่วยวัดความเป็นกรดเป็นด่างมีค่าอยู่ระหว่าง 0-14
- H+ คือ ค่าความเข้มข้นของไฮโดรเจนไอออนในสารละลายนั้น
อิทธิพลของ pH
ต่อการเจริญเติบโตของพืช
ความเป็นกรดเป็นด่างของดินซึ่งบอกเป็นค่าพีเอช
(pH) นั้น
มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชทั้งทางตรงและทางอ้อม
โดยทั่วไปพืชส่วนใหญ่จะเจริญเติบโตได้เป็นปกติในดินที่ PH 6.0 - 7.0
ซึ่งธาตุอาหารพืชสามารถละลายมาเป็นประโยชน์กับพืชได้อย่างเหมาะสม
ดินที่มีปฏิกิริยาไม่เหมาะสม คือระดับ pH สูงหรือต่ำเกินไป
จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช เป็นผลให้ผลผลิตได้น้อยกว่าปกติ สำหรับพืชยางพารา
pH ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตพบว่าอยู่ที่ระดับ
4.5 - 5.5
1 ปัญหาความเป็นพิษของไฮโดรเจนไอออน (H+) ต่อพืช
ปริมาณ H+ที่มีความเข้มข้นสูงเป็นพิษกับพืชโดยตรง
โดยที่อาจจะมีผลต่อเนื้อเยื่อพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ pH ของดินอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 3.5 เนื่องจากความเป็นกรดเข้าทำลายเนื้อเยื่อที่บริเวณรากพืช
(จำเป็น อ่อนทอง, 2551)
2 ปัญหาการขาดแคลเซียม (Ca)แมกนีเซียม (Mg)
และโพแทสเซียม
(K) ในดินกรด
ในดินที่มี pH ต่ำ H+ ในสารละลายดินจะยับยั้งการดูดธาตุประจุบวกอื่น ๆ
ของรากพืช โดยเฉพาะ Ca, Mg
และ K ส่งผลให้พืชดูดใช้ธาตุเหล่านี้ได้น้อยลงจนแสดงอาการขาดธาตุอาหารเกิดขึ้น
นอกจากนี้ความเป็นกรดมีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของธาตุ
อาหารพืชในดิน ทำให้ธาตุบางชนิดละลายเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะเหล็กและอะลูมินัม
ซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับ กับธาตุ Ca, Mg และ K ส่งผลให้พืชดูดกินธาตุเหล่านี้ได้ยากธาตุ
(จำเป็น อ่อนทอง, 2551; วิเชียร
จาฎพจน์, 2550)
3
ปัญหาความเป็นพิษของอะลูมินัม
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าในดินกรดที่มี
pH ต่ำกว่า 5
ผลเสียของความเป็นกรดเกิดจากอะลูมินัมไอออน (Al3+)
ซึ่งเป็นไอออนหลัก ไมใช่ผลของ H+ ซึ่งไม่มีผลกระทบต่อพืชโดยตรง
ความเป็นกรดหรือ H+ จะช่วยส่งเสริมให้มีการสลายตัวของแร่ในดินทำให้มีการปลดปล่อย
Al3+ออกมาในสารละลายดินได้มากขึ้น
ทั้งนี้ ไพบูลย์ วิวัฒน์วงศ์วนา
(2546) ได้อธิบายว่า Al3+ โมล
เมื่อทำปฏิกิริยาไฮโดรไลซิสกับน้ำสามารถปลดปล่อย H+ ได้มากที่สุด 3 โมล ซึ่ง H+
สามารถแลกเปลี่ยนไล่ที่ K+, Ca2+ และ Mg2+ ที่ดูดซับบนผิวอนุภาคดิน
ทำให้ไอออนเหล่านี้ถูกปลดปล่อยออกสู่สารละลายดินได้ง่าย
และถูกชะละลายไปในที่สุดและ Al3+ หากมีอยู่มากในดินกรดจัดอาจเป็นพิษกับพืชได้
โดยจะทำอันตรายต่อรากขนอ่อนของพืชจนไม่สามารถดูดน้ำและธาตุอาหารซึ่งอยู่ในรูปสารละลายขึ้นไปใช้ได้
4
ปัญหาความเป็นพิษของแมงกานีส
แมงกานีส (Mn) เป็นธาตุอาหารจุลภาค
ซึ่งพืชต้องการในปริมาณน้อย ระดับ Mn ที่เหมาะสมในสารละลายดิน
คือ 1-4 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ถ้าสูงกว่านี้จะเป็นพิษต่อพืชได้ ในกรณีของดินที่มี pH
น้อยกว่า 4.8 อาจเกิดความเป็นพิษของทั้ง Mn และ
Al
อาการเป็นพิษของ Mn โดยทั่วไปจะพบจุดสีน้ำตาลที่ใบแก่ การกระจายของคลอโรฟิลล์ ไม่สม่ำเสมอ ระดับ Mn ในพืชที่สูงอาจซักนำให้เกิดการขาด Fe นอกจากนี้การดูดกิน Mn ของพืชมีสภาวะปฏิปักษ์กับ Ca และ Mg กล่าวคือ ถ้าดินมีระดับ Ca และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง Mg สูงจะทำให้พืชดูดดกิน Mn ได้ยาก ระดับ Mn ในพืชปกติอยู่ในช่วง 40-120 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม พืชแสดงอาการขาดธาตุ Mn ในช่วง 15 - 25 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมและเป็นพิษต่อพืชในระดับสูงกว่า 180 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม (วิเชียร จาฎพจน์, 2550)
5
ปัญหาการขาดฟอสฟอรัสในดินกรด
เมื่อ pH ของดินลดลง หรือเป็นกรดมากขึ้น Fe, Mn และ Al ไอออนจะละลายออกมามากขึ้น
และทำปฏิกิริยากับฟอสเฟตไอออนเป็นสารประกอบที่ละลายได้น้อย พืชไม่สามารถดูดกินได้
นอกจากนี้ในสภาพที่เป็นกรดฟอสเฟตไอออนยังสามารถรวมตัวกับอะลูมินัมที่แลกเปลี่ยนได้
(Exchangeable Al) ในการลดปริมาณหรือความเป็นพิษของ Al
ในดินได้ถูกดูดซับที่ผิวของแร่ดินเหนียว ฉะนั้นฟอสเฟตมีส่วนหรือเรียกว่า
“การปรับความเป็นกรดด้วยฟอสเฟต (iming with phosphate)” ซึ่งถ้ามีการใส่ฟอสเฟตในปริมาณไม่มากพอ
ฟอสเฟตอาจจะใช้ไปในการทำปฏิกิริยากับ Al จนหมด
และไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช
6
ปัญหาต่อกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดิน
ความเป็นกรดเป็นด่างของดินเป็นปัจจัยสำคัญที่ควบคุมปริมาณจุลินทรีย์ในดิน
เมื่อค่า pHของดินต่ำลง
จำนวนของราจะเพิ่มขึ้น ในขณะที่จำนวนของแบคทีเรียจะลดลง เพราะราเป็นกลุ่มของจุลินทรีย์ที่ทนต่อสภาวะกรดได้ดี
การเติมหินปูนลงในดินเพื่อเพิ่มค่า pH จะลดจำนวนประชากรของราลงและเพิ่มประชากรของแบคทีเรีย
(Shah et al, 1990อ้างถึงใน วราภรณ์ ฉุยฉาย, 2561)
Chris and Gaus (2018) อธิบายว่า กระบวนการของจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ รวมถึงการสลายตัวของอินทรียวัตถุและการหมุนเวียนของธาตุอาหารจะลดลงในดินที่เป็นกรด เนื่องจากการเจริญเติบโตและการสืบพันธุ์ของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรียและเชื้อราลดลง กระบวนการย่อยสลายอินทรียสารไปเป็นสารอนินทรีย์ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืชโดยจุลินทรีย์ดินจะช้าลงในดินที่เป็นกรด ซึ่งอาจจำกัดการดูดกินของพืช ดินที่เป็นกรดจำกัดทั้งการเจริญเติบโตของรากและการอยู่รอดของไรโซเบียม โดยลดโอกาสที่รากจะสัมผัสกับแบคทีเรียที่จะสร้างปม ทำให้การสร้างปมในพืชตระกูลถั่วล้มเหลว และยับยั้งการทำงานของปมในการตรึงไนโตรเจนในอากาศส่งผลให้เกิดการขาดไนโตรเจนในพืชได้
ชนิดของวัสดุปูนทางการเกษตร
จำเป็น อ่อนทอง (2551)
ให้รายละเอียดว่าปูนที่ใช้ในทางการเกษตร เป็นสารประกอบที่มีฤทธิ์เป็นด่าง
และใช้ใส่ลงไปในดินเพื่อลดความเป็นกรด ปูนที่ใช้ในการเกษตรเป็นสารประกอบคาร์บอเนตออกไซด์ของแคลเซียมหรือแมกนีเซียม
1 สารประกอบคาร์บอเนต
องค์ประกอบหลักเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต
อาจเป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3
) ที่ได้จากภูเขาหินปูนและนำมาบดเรียกว่า หินฝุ่น หรือเป็นหินโดโลไมต์
(CaMg(Co3)2 )ที่นำมาบดให้ละเอียด
เรียกว่า ปูนโดโลไมต์ แต่ในประเทศไทยส่วนใหญ่ใช้หินมาร์ล หรือ ปูนมาร์ล
ซึ่งเป็นสารประกอบที่เกิดจากหินปูนที่สลายตัวแล้วถูกน้ำพัดพาไปตกตะกอนในที่ลุ่ม
ทำให้มีอนุภาคดินเหนียวผสมอยู่ด้วย นอกจากนั้น อาจเป็นคาร์บอเนตจากเปลือกหอย
ฝุ่นจากโรงงานผลิตซีเมนต์ ตะกอนจากโรงงานกระดาษ
2 สารประกอบออกไซด์
ได้จากการนำหินปูนไปเผา
แล้วนำไปบดให้มีขนาดอนุภาคที่เหมาะสมได้แก่ แคลเซียมออกไซด์ (CaO) และแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO)
เรียกปูนประเภทนี้ว่า ปูนเผา หรือปนสุก (quick lime หรือ burned lime)
3 สารประกอบไฮดรอกไซด์
ได้จากการนำหินปูนไปเผา จนได้แคลเซียมออกไซด์หรือแมกนีเซียมออกไซด์ แล้วให้ทำปฎิกิริยากับน้ำ ก็จะได้สารประกอบไฮดรอกไซด์ของแคลเซียม ซึ่งเรียกว่า ปูนขาว (slakedlime หรือ hydrated lime : Ca(OH)2) นอกจากนั้น ผลพลอยได้จากการถลุงเหล็ก (blast furnace slag : CasiO3 และ CaSiO4) ก็มีสมบัติเป็นด่าง สามารถนำมาใช้ปรับปรุงดินกรดได้
การใช้ปูนปรับ
pH ของดิน
วิเชียร จาฎพจน์ (2550)ให้รายละเอียดว่า
แนวทางปฏิบัติการใช้ปูน เพื่อแก้ไขความเป็นกรดของดินที่ได้ผลดีในเขตอบอุ่น
พบว่ามักจะไม่เหมาะกับดินที่เป็นกรดในเขตร้อนขึ้น
ซึ่งมีสมบัติด้านประจุของแร่ดินปูนที่ใช้ในการเกษตรเป็นสารประกอบคาร์บอเนต
เหนียวที่แตกต่างกัน การใช้ปูนในเขตอบอุ่นส่วนมากออกไซด์ หรือไฮดรอกไซด์
ของแคลเซียมหรือแมกนีเซียม จะมีเป้าหมายเพื่อปรับ pH ของดินให้อยู่ในช่วงที่เป็นกลาง 6.5 หรือ 7
แต่ในดินกรดเขตร้อนเป็นที่ยอมรับกันว่าไม่จำเป็น
หรือไม่ควรปรับ pH ของดินให้มากกว่า
5.5 ปริมาณปูนที่แนะนำเพื่อให้ได้ pHที่เป็นกลาง
อาจทำให้ผลผลิตลดลงได้ ถ้าดินมีปริมาณโพแทสเซียม (K) โบรอน (B)
หรือสังกะสี (Zn) ต่ำ และไม่มีการใส่เพิ่มเติมให้กับพืช
หรือปูนที่ใส่ไม่มีการคลุกเคล้ากับดินให้ดี ฉะนั้นการพิจารณาความต้องการปูน (lime
requirement) จึงต้องคำนึงถึงผลกระทบของปูนต่อความเป็นประโยชน์ของธาตุอาหารอื่น
ๆ ด้วยการใช้ปูนในอัตราต่ำ (ในปริมาณ 16 - 24 กิโลกรัม-Ca ต่อไร่)
จะช่วยเพิ่มผลผลิตและการดูดกินของธาตุฟอสฟอรัส (P) โพแทสเซียม
(K) สังกะสี (Zn) และทองแดง (Cu)
กระสินธุ์ สุทธิธรรมโม (2525)
อธิบายว่า การใช้ปูนเพื่อปรับ pH
ของดิน ประการแรกที่ควรทำ คือทดสอบ pH ของดินว่ามี
pH เท่าไร และต้องการใช้ปูนเป็นจำนวนเท่าใดที่ pH ที่เราต้องการ การใช้ปูนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง
เพราะดินที่เป็นกรดจัดมากไม่เป็นที่พึงประสงค์ของการเจริญเติบโตของพืช
ดังนั้น ทางการเกษตรจึงหาวิธีการปรับปรุงดินให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืชตามหลักเศรษฐศาสตร์
(คือไม่แพงเกินไปนัก) ดังนั้น ในทางปฏิบัติเราจึงนิยมใช้ปูนขาวหรือหินปูน
อันหมายถึง สารประกอบออกไซด์หรือไฮดรอกไซด์หรือคาร์บอเนตของธาตุ Ca หรือ M3
เช่น CaO, CaCO3 หรือ Ca(OH)2
ซึ่งหาได้ง่ายและราคาถูก ไฮดรอกไซด์ของ K หรือ
Na ไม่นิยมใช้เพราะว่าราคาแพง หายาก
หรือสารประกอบเกลือของอนุมูล SO4-2 , CI-
ของ Ca, Mg ก็เช่นกัน
นอกจากจะราคาแพงแล้วยังเป็นการเพิ่มอนุมูลกรดให้กับดินด้วย
จำเป็น อ่อนทอง (2551) กล่าวว่า
จำนวนปูนที่ต้องการ (lime requirement) ของดินแต่ละชนิดจะแตกต่างกันออกไป
โดยทั่วไปแล้วดินเนื้อละเอียดและมีอินทรียวัตถุสูง
มีความสามารถในการต้านทานการเปลี่ยนแปลง pH ได้ดี
จึงทำให้ต้องใช้ปูนจำนวนมากเพื่อปรับ pH ให้ได้ตามที่ต้องการ
ในขณะที่ดินเนื้อหยาบ pH จะเปลี่ยนแปลงได้ง่าย จึงต้องระมัดระวังเรื่องการใส่ปูน
เพราะหากใส่ปูนมากเกินไป (over liming) จะ
ส่งผลเสียต่อพืช คือ ทำให้ปริมาณ Fe, Mn และ Zn ที่เป็นประโยชน์กับพืชในดินลดต่ำลง
ทำให้ฟอสฟอรัสที่เป็นประโยชน์ในดินลดลงเพราะจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแคลเซียมฟอสเฟต [Ca3
(PO4)2 ] ซึ่งละลายน้ำได้ยากและแคลเซียมที่สูงเกินไปจะขัดขวางการดูดดึง
B ของพืช ดังนั้น จึงต้องมีการวิเคราะห์หาความต้องการปูน
เมื่อจำเป็นจะต้องใช้ปูนเพื่อแก้ไขความเป็นกรดของดิน มีข้อควรปฏิบัติดังนี้
1
เก็บตัวอย่างดินส่งมาวิเคราะห์
เพื่อหาค่า pH และปริมาณปูนที่ต้องการใช้ โปรดอย่าใส่ปูนเองโดยไม่มีข้อมูลจากทางราชการหรือจากหน่วยงานที่ได้รับอนุญาตจากรัฐ การใส่ปูนเองอาจใช้ปริมาณที่ผิดพลาดมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช โดยทางปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ เรามักทำเส้นโค้ง ไตเตรชัน (titration curve)ของดินเป็นกรดด้วย Ca(OH)2 หรือน้ำปูนขาวเพื่อหาจำนวนปูนที่ต้องการ (ดูภาพ)
2 หว่านปูนขาวและผสมคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
ธาตุแคลเซียมที่มีอยู่ในปูนจะเข้าไปทดแทนธาตุไฮโดรเจนที่อนุภาคดินยึดไว้
จึงทำให้สารละลายดินมี pH สูงขึ้น และ pH
ในดินก็จะลดลงไปเรื่อยๆ โดยขบวนการชะล้างภายในตามธรรมชาติ จึงต้องทำการวิเคราะห์ดินใหม่เพื่อจะได้ใส่ปูนซ้ำ
แต่ช่วงเวลาช้านานขึ้นอยู่กับเนื้อดินและการจัดการดิน
การหว่านปูน ควรหว่านเมื่อลมสงบ
และใส่ถุงมือป้องกันปูนกัด หาผ้าปิดจมูกเพื่อกันละอองปูนมีให้สูดเข้าไป
เพื่อให้ง่ายต่อการปฏิบัติ ควรหว่านปูนหลังไถดะครั้งแรก
แล้วปล่อยให้โดนแดดโดนฝนประมาณ 7 วัน ก่อนจะไถแปร ดินทรายจะปรับปฏิกิริยาได้เร็วกว่าดินเหนียว
ในกรณีที่แนะนำให้ใช้ปูนมาร์ล จะต้องใช้อัตราสูงกว่าปูนขาวตามที่แนะนำ ปูนมาร์ลต้องเป็นผงแห้งจึงจะสะดวกในการหว่าน ปูนมาร์ลมักมีปัญหาในการใช้ เพราะเมื่อนำปูนมาร์ลมาเทลงในพื้นที่กองปูนจะกลายเป็นก้อน ยากที่จะทุบให้แตกเป็นผงจึงคลุกเคล้าให้เข้ากับดินได้ไม่ทั่ว
ปูนอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันคือ หินปูนบด(หินฝุ่น) โดยนำก้อนหินปูนบดใช้โดยตรง หรือไม่ก็นำเศษหินฝุ่นจากโรงงานโม่หิน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินปูนมาใช้ และปริมาณที่ใช้นั้นต้องสูงกว่าปูนขาว หินปูนบดที่มีคุณภาพดีควรมีเนื้อปูนมากกว่าร้อยละ 90 และมีขนาดละเอียด 100 เมช ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 (ประสาน พรมสูงวงศ์, 2540)สภาพการเกินปูน (over liming)
สภาพการเกินปูน
เกิดจากการใส่ปูนในปริมาณที่มากเกินไปโดยเฉพาะในดินเนื้อหยาบ
และมี buffer capacity ต่ำ
อาจจะเกิดผลเสียหายแก่พืชที่ปลูกได้ เนื่องจากขาดได้
- 1. ปริมาณ Fe, Mn ลดลง พืชอาจเกิดการ
- 2. ความเป็นประโยชน์ของฟอสฟอรัสลดลง
- 3. การดูดกิน การใช้ฟอสเฟตในพืชและเมตาบอลิซึมไม่สะดวก
- 4. การดูดกิน และความเป็นประโยชน์ของ Zn, B ลดลง
- 5. เกิดการเปลี่ยนแปลงของ pHในดินอย่างรวดเร็ว อาจเป็นอันตรายแก่พืชได้
โดยสรุป
พืชแต่ละชนิดจะเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มีช่วง
pH ต่างกัน
จึงไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ปูนปรับปฏิกิริยาของดินให้มาอยู่ในช่วง pH ที่เป็นกลางยางพาราเจริญเติบโตได้ดีในดินที่มี pH 4.5 - 5.5 จึงไม่จำเป็นต้องใส่ปูนเพื่อยกระดับ pH ของดิน หากดินมี
pH อยู่ในช่วงนี้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใส่ปูนเพื่อแก้ไขความเป็นกรดของดินในแปลงยางที่เป็นโรคราก
จะยิ่งส่งเสริมให้เชื้อราที่เป็นสาเหตุโรครากเจริญเติบโตได้ดีขึ้น
การแพร่กระจายของโรคมากขึ้น
ที่มา : ภรภัทร สุชาติกูล ศูนย์วิจัยยางสงขลา
สถาบันวิจัยยาง การยางแห่งประเทศไทย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น