ปาล์มน้ำมัน

[ปาล์มน้ำมัน][bsummary]

ยางพารา

[ยางพารา][bsummary]

เทคนิคจากสวน

[เทคนิคจากสวน][twocolumns]

NEWS

[News][bleft]

ปาล์มพันธุ์ซีหราดกาโน ต้านทานโรคกาโนเดอร์มา ผลผลิตสูงมากกว่า 6 ตัน/ไร่/ปี

แม้ “กาโนเดอร์มา” หรือโรคโคนเน่า จะไม่ใช่โรคใหม่ในปาล์มน้ำมัน แต่กำลังถูกพูดถึงในวงกว้างของคนปลูกปาล์ม เพราะเดิมทีเข้าใจกันว่าโรคนี้มักจะเกิดกับสวนปาล์มแก่ใกล้โค่น แต่ปัจจุบันพบการระบาดในสวนปาล์มหนุ่มกำลังให้ผลผลิต โดยเฉพาะสวนปาล์มที่ปลูกซ้ำแปลงเดิม เรื่องร้ายก็คือยังไม่มีวิธีป้องกันและรักษาโรคนี้ที่ได้ผลชัดเจน


แต่จากการปรับปรุงและพัฒนาสายพันธุ์ปาล์มน้ำมันมาอย่างยาวนานกว่า 50 ปี ของ “ซีหราด” ซึ่งเป็นผู้พัฒนาพันธุ์ปาล์มชั้นนำของโลก พบว่า สายพันธุ์ปาล์ม “ซีหราดกาโน” สามารถต้านทานโรคกาโนเดอร์มา ได้ผล ลดการระบาดของโรคได้ ขณะเดียวกันยังคงคุณสมบัติพื้นฐานของซีหราด คือ ให้ผลผลิตสูง สูงช้า ทางใบสั้น ทนต่อสภาพแวดล้อมได้ดี

พาชมสวนปาล์มน้ำมัน พันธุ์ซีหราดกาโน ของ คุณณฐนนท์ หนูศักดิ์ อ.เขาพนม จ.กระบี่ ที่ในอดีตพบปัญหาโรคกาโนเดอร์มา (Ganoderma) หรือ โรคโคนเน่า ซึ่งระบาดรุนแรงในพื้นที่ จ.กระบี่ ส่งผลให้ผลผลิตตกต่ำไม่คุ้มค่ากับการลงทุนจัดการสวน แม้ว่าจะมีการพยายามหาความความรู้เรื่องการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มามากำจัดแต่ก็ไม่เป็นผล


จนได้รู้จักซีหราด (CIRAD) บริษัทผู้พัฒนาพันธุ์ปาล์มน้ำมันชั้นนำของโลก ที่มีปาล์มน้ำมันพันธุ์ซีหราด “กาโน”  ที่มีความสามารถในการต้านทานเชื้อรากาโนเดอร์มาได้ จึงตอบโจทย์นี้ได้เป็นอย่างดี 


เมื่อมีโอกาสได้ล้มปลูกใหม่คุณณฐนนท์เลือกปลูกปาล์มน้ำมันพันธุ์ซีหราด “กาโน” ทันที จำนวน 600 ต้น ในระยะ 9x9x9 ม. ปัจจุบันต้นปาล์มมีอายุเข้าปีที่ 7 แล้ว นอกจากจะไม่พบปัญหาเรื่องเห็ดกาโนฯ แล้ว สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ ต้นสูงช้า ทางใบสั้นกว่าพันธุ์อื่นๆ และขนาดทะลายไม่ใหญ่จนเกินไป แต่ปริมาณผลผลิตที่น่าพึงพอใจ ซึ่งปีที่ผ่านผาได้ผลผลิต 6.12 ตัน/ไร่/ปี และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปีนี้

นอกจากความเก่งของสายพันธุ์แล้ว คุณณฐนนท์ก็มีความสามารถในเรื่องการจัดการสวนเช่นกัน เพราะเริ่มเข้ามาทำความรู้จักและหัดทำสวนปาล์มตั้งแต่อายุ 13 ปี อาศัยขอความรู้จากรุ่นพี่และหาความรู้จากกลุ่มคนปลูกปาล์มน้ำมันซีหราดและนำมาประยุกต์ใช้กับสวนของตัวเองจนประสบความสำเร็จในการทำสวนตั้งแต่อายุยังน้อย


เทคนิคการจัดการธาตุอาหารอย่างไรให้ได้ผลผลิตมากกว่า 6 ตัน/ไร่/ปี

🚩ดูคลิปวิดีโอ


คุณณฐนนท์มีความคิดเห็นว่านอกจากปาล์มน้ำมันที่เลือกต้องเป็นสายพันธุ์ที่ดี ต้านทานโรคกาโนเดอร์มาอย่าง “ซีหราดกาโน” แล้ว การจัดการเรื่องปุ๋ยก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะปริมาณปุ๋ยที่เพียงพอจะส่งผลกับปริมาณผลผลิต ในขณะที่เราไม่สามารถกำหนดราคาปาล์มน้ำมันได้ แต่ถ้าเราทำผลผลิตให้มากไว้เราก็ยังมีโอกาสในช่วงที่ปาล์มราคาสูงขึ้นมานั่นเอง



🚩ดูคลิปวิดีโอฉบับเต็ม

ไม่มีความคิดเห็น:

บทความที่ได้รับความนิยม